Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ส้มเสี้ยว

ชื่อท้องถิ่น: คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสึมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia malabarica roxb.

ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE-CAESALPINIODIDEAE

สกุล:  Bauhinia 

สปีชีส์: malabarica 

ชื่อพ้อง:

-Bauhinia acida Korth.

-Bauhinia castrata Hassk.

-Bauhinia hawkesiana F.M.Bailey

-Bauhinia malabarica var. reniformis Baker

-Bauhinia platyphylla Miq.

-Bauhinia rugulosa Miq.

-Casparea castrata (Hassk.)Hassk.

-Pauletia acida (Korth.)Hassk.

-Piliostigma acidum (Korth.)Benth.

-Piliostigma malabaricum (Roxb.)Benth.

-Piliostigma malabaricum var. acidum (Korth.)de Wit

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นส้มเสี้ยว เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น เปลือกหนา 10-15 มิลลิเมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยว ทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ 2 พู มีขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา ก้านใบยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ เป็นช่อเล็กๆ ดอกเป็นรูปหลอด มีกลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 15-18 มม. มีขนหนาแน่น กลีบดอกยาวประมาณ 1.2-2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ยาวและสั้นเรียงสลับกัน 

ผล ลักษณะเป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ข้างในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะแบน ผิวเรียบมัน  มี 20-30 เมล็ด 

สภาพนิเวศวิทยา: พบในป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, หิมาลัยตะวันออก, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดาน้อย, เมียนมาร์, เนปาล, นิโคบาร์อิส, ดินแดนทางตอนเหนือ, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, ไทย, เวียดนาม, หิมาลายาตะวันตก, ออสเตรเลียตะวันตก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ ฟอกโลหิตประจำเดือน ขับปัสสาวะ ถ่ายเสมหะ แก้ไอ

*เปลือกต้น  รสฝาด สรรพคุณ แก้แผลเปื่อยพัง ห้ามโลหิต แก้ท้องเสีย แก้บิด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับริมทางทั่วไป ข้างถนนหนทาง เนื่องจากต้นส้มเสี้ยวออกดอกดกดีมาก ดอกจะมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ สามารถตัดแต่งรูปทรงได้หรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง