Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าฝรั่น

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Saffron, True saffron, Spanish saffron, Crocus

ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocus sativus L.

ชื่อวงศ์: IRIDACEAE

สกุล: Crocus 

สปีชีส์: sativus

ชื่อพ้อง: 

-Crocus autumnalis Sm.

-Crocus officinalis (L.) Honck.

-Crocus orsinii Parl.

-Crocus pendulus Stokes

-Crocus sativus var. officinalis L.

-Crocus setifolius Stokes

-Geanthus autumnalis Raf.

-Safran officinarum Medik.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าฝรั่น thai-herbs.thdata.co | หญ้าฝรั่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าฝรั่น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนาเซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม 


หญ้าฝรั่น thai-herbs.thdata.co | หญ้าฝรั่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียวมัน แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร


 หญ้าฝรั่น thai-herbs.thdata.co | หญ้าฝรั่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยว ก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะของดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว ดอกมีสีม่วง มีกลีบดอก 5-6 กลีบ กลีบดอกลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปไข่ มีเกสรขนาดยาวโผล่พ้นเหนือดอก ยอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นยาวออกมาโผล่พ้นเหนือดอก มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม แต่ละง่ามมีความประมาณ 25-30 มิลลิเมตร


หญ้าฝรั่น thai-herbs.thdata.co | หญ้าฝรั่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

*เกสรหญ้าฝรั่น หรือที่เรียกว่า หญ้าฝรั่น คือยอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นยาวออกมาโผล่พ้นเหนือดอก มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม แต่ละง่ามมีความประมาณ 25-30 มิลลิเมตร มักเก็บดอกเมื่อตอนดอกเริ่มบาน ส่วนที่เก็บคือเกสรตัวเมีย โดย 1 ดอกจะมีเกสรอยู่เพียง 3 เส้นเท่านั้น ส่วนวิธีการเก็บก็คือเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งด้วยการคั่ว นอกจากนี้การเก็บเกสรต้องรีบเก็บในวันเดียวเพราะว่าดอกจะโรยหมด แล้วยังต้องรีบนำมาคั่วให้แห้งในทันที ส่วนการเก็บก็ต้องใช้แต่แรงงานคนเท่านั้นประกอบกับว่าพืชชนิดนี้มักขึ้นในที่ลาดเขาซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก โดยดอกหญ้าฝรั่นประมาณ 100,000 ดอก จะให้เกสรตัวเมียที่แห้งแล้วประมาณ 1 กิโลกรัม หรือที่เราเรียกว่า “หญ้าฝรั่น”  ซึ่งมีราคาแพงมาก และมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน ประเทศไทยยังไม่มีการปลูกหญ้าฝรั่น ประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกคือ สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศล อิหร่าน อินเดีย

ผล -

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: กรีซ

การกระจายพันธุ์: กรีซ, เชโกสโลวาเกีย, อิหร่าน, อิตาลี, โมร็อกโก, ปากีสถาน, สเปน, ตุรกี, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก

หญ้าฝรั่น thai-herbs.thdata.co | หญ้าฝรั่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้เกสร รสขมหวานเล็กน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ชูกำลัง แก้สวิงสวาย แก้ไข้ แก้ตับ ไต แก้โรคเส้นประสาท แก้ซางเด็ก

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เกสร พบสารกลุ่ม  monoterpene aldehyde เช่น  picrocrocin,safranal สารกลุ่ม carotenoid เช่น  Crocin,crocetin ,β-carotene ,lycopene ,zeaxanthin และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น kaempherol เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต  มีการศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากหญ้าฝรั่น และสารสำคัญสองชนิดในหญ้าฝรั่น ได้แก่ crocin และ safranal ต่อความดันโลหิต โดยทำการทดลองในหนูแรทสองกลุ่ม หนูกลุ่มแรกมีความดันโลหิตเป็นปกติ และหนูกลุ่มที่สองเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วยการฉีด desoxycorticosterone acetate ให้สารสกัดหญ้าฝรั่นแก่หนูแรททั้งสองกลุ่มโดยการสอดท่อเข้าเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอด้านขวา (right jugular vein) แล้วทำการวัดความดันโลหิตโดยสอดท่อเข้าเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอด้านซ้าย (left carotid artery) วัและดค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดแดง วัดค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของหลอดเลือดแดง (mean arterial blood pressure, MABP) และอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate, HR) ก่อนให้สารสกัดหญ้าฝรั่นเพื่อเป็นค่าควบคุม ให้สาร crocin 50, 100 และ 200 มก./กก. safranal 0.25, 0.5 และ 1 มก./กก. สารสกัดน้ำจากหญ้าฝรั่น 2.5, 5 และ 10 มก./กก. การให้สารสกัดแต่ละครั้งให้ห่างกันครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อรอให้ค่า MABP หลังจากให้สารสกัดแต่ละครั้งกลับมาสู่ภาวะปกติ ผลจากการทดลองพบว่าสารสกัดหญ้าฝรั่นทั้งสามชนิดมีผลลดค่า MABP ในหนูทั้งสองกลุ่มขึ้นกับปริมาณที่ให้ (dose-dependent manner) โดยสารสกัดน้ำจากหญ้าฝรั่น 10 มก./กก. ทำให้ค่า MABP ลดลง 60±8.7 มม.ปรอท, safranal 1 มก./กก. ลดลง 50±5.2 มม.ปรอท และ crocin 200 มก./กก. ลดลง 51±3.8 มม.ปรอท จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดหญ้าฝรั่นมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต (hypotensive) โดยสารสกัด safranal มีบทบาทในการลดความดันโลหิตมากกว่า Crocin

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับไขมันในเลือด มีการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือดของสาร crocin ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง (ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน) ด้วย streptozotocin (STZ) โดยในการทดลองจะแบ่งหนูทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม เหนี่ยวนำให้หนูเป็นเบาหวานโดยการฉีด STZ (90 mg/kg) 3 กลุ่ม และเป็นหนูปกติที่ไม่ถูกฉีดด้วย STZ 2 กลุ่ม และฉีดสาร crocin เข้าทางช่องท้องแก่หนูกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 2 กลุ่ม ความเข้มข้น 50 และ 100 mg/kg ตามลำดับ และหนูกลุ่มปกติ 1 กลุ่ม ส่วนหนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวานที่เหลือไม่ได้รับสาร croton หลังจากนั้น 5 เดือน ประเมินความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาล (โดยวัดระดับน้ำตาลในเลือด สารพิษที่เกิดจากขบวนการไกลเคชั่น (advanced glycation end products [AGEs]) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (Hemoglobin A1C [HbA1c]) ประเมินภาวะดื้ออินซูลิน (โดยวัดค่า fasting serum insulin และ homeostasis model assessment for insulin resistance [HOMA-IR] index) และภาวะของไต (โดยวัดระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ) พบว่าหนูกลุ่มเบาหวานกลุ่มที่ได้รับสาร croton มีค่าระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด, AGEs, HbA1c, fasting insulin, HOMA-IR และระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะลดลง เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับ crocin นอกจากนี้ หนูกลุ่มที่ได้รับ crocin ยังมีระดับ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ลดลง ส่วน HDL เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าสาร crocin มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความไว

-ฤทธิ์ปกป้องสมอง  มีการศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมองของสาร safranal จากหญ้าฝรั่น (Crocus sativas ) ในหนูแรท โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 ตัว) กลุ่มที่ 1 ฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มล./กก. จากนั้น 30 นาที ฉีดน้ำเกลือขนาด 1 มคก. เข้าทางสมองส่วน hippocampus (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ฉีดน้ำเกลือเข้าทางช่องท้องขนาด 10 มล./กก. จากนั้น 30 นาที ฉีดสาร quinolinic acid (QA) ขนาด 300 นาโนโมล/ลิตร เข้าทางสมองส่วน hippocampus เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมอง กลุ่มที่ 3 - 5 ฉีดสาร safranal เข้าทางช่องท้องขนาด 72.75, 145.5 และ 291 มก./กก ตามลำดับ จากนั้น 30 นาที ฉีดสาร quinolinic acid ขนาด 300 นาโนโมล/ลิตร เข้าทางสมองส่วน hippocampus จากนั้น 24 ชั่วโมง ทำการชำแหละซากและแยกเก็บสมองส่วน hippocampus เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงการเกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และความเสียหายของดีเอ็นเอ ด้วยวิธี ferric reducing/antioxidant power (FRAP) assay และ comet assay วิเคราะห์หาค่า total sulfhydryl (thiol) groups ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงการเกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ellman method และวิเคราะห์ตัวชี้วัดถึงการเกิดอนุมูลอิสระได้แก่ thiobarbituric acid reactive substance (TBARS) โดยการวัดค่าการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation (วัดระดับ malondialdehyde; MDA) ผลจากการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับการฉีดสาร safranal จากหญ้าฝรั่นก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมองด้วย QA ทุกขนาดมีผลกระตุ้นให้เกิดกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีผลเพิ่มค่า FRAP value, total thiol concentration และลดค่าความเสียหายของดีเอ็นเอ และระดับของ MDA ลง เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ฉีดน้ำเกลือก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมองด้วย QA

-ฤทธิ์ต้านความวิตกกังวล และทำให้นอนหลับ มีการศึกษาฤทธิ์ต้านความวิตกกังวล และทำให้นอนหลับของสารสกัดน้ำ สาร crocin และ safranal ที่แยกได้จากหญ้าฝรั่นในหนูเม้าส์ โดยฉีดสารสกัดน้ำ ขนาด 56, 80, 320 และ 560 มก./กก. สาร crocin ขนาด 50, 200 และ 600 มก./กก. และสาร safranal ขนาด 0.05, 0.15 และ 0.35 มล./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู เปรียบเทียบกับยา diazepam ขนาด 3 มก./กก. เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านความวิตกกังวลด้วยวิธี Elevated plus maze พบว่าสารสกัดน้ำ ขนาด 56 และ 80 มก./กก. สาร safranal ขนาด 0.15 และ 0.35 มล./กก. และยา diazepam จะให้ผลในการต้านวิตกกังวลในหนู โดย diazepam จะให้ผลดีที่สุด ขณะที่ crocin ไม่มีผล ในการทดสอบการนอนหลับ พบว่าสารสกัดน้ำที่ขนาดสูง 560 มก./กก. สาร safranal ทุกขนาด และ diazepam จะทำให้ระยะเวลาในการนอนหลับของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้นอนหลับด้วย sodium pentobarbital เพิ่มขึ้น ขณะที่ crocin ไม่มีผล นอกจากนี้สารสกัดน้ำ และ diazepam ยังมีผลลดการทรงตัว (motor coordination) และการเคลื่อนไหว (locomotor) ของหนู เมื่อทดสอบด้วยวิธี Rotarod และ Open field และสาร safranal ที่ขนาด 0.05 และ 1.5 มล./กก. มีผลลดบางการเคลื่อนไหวของหนูได้เช่นกัน แต่ไม่มีผลต่อการทรงตัว ขณะที่ crocin ไม่มีผลทั้งต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหว แสดงว่าสารสกัดน้ำ และ safranal จากหญ้าฝรั่นมีผลต้านความวิตกกังวล และทำให้นอนหลับได้

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหญ้าฝรั่นอื่นๆ พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวจากการได้รับอาหารที่มีไขมัน มีฤทธิ์ต้านภาวะซึมเศร้า มีฤทธิ์ปกป้องตับ มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและกระตุ้นการย่อย มีฤทธิ์บรรเทาปวดและต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์กระตุ้นกำหนัด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาความเป็นพิษในหญ้าฝรั่นพบว่ามีความเป็นพิษต่ำ แต่บางรายงานระบุว่าการใช้หญ้าฝรั่นขนาด >10 ก. อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการแห้งได้ โดยมีการศึกษาในหนูเม้าส์เพศเมียที่กำลังตั้งครรภ์ในระยะสามเดือนสุดท้ายพบว่า มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและส่งผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

การใช้ประโยชน์:

-การรับประทานหญ้าฝรั่นทุกวันจะช่วยถนอมสายตาไม่ให้มืดมนเมื่ออายุมาก ถนอมเซลล์อันซับซ้อนในดวงตาให้สามารถใช้งานนานและทนทานกับโรคได้ดี ป้องกันเซลล์ไม่ให้ตายเพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้มแข็งอยู่ ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงแดด และช่วยขัดขวางไม่ให้เป็นโรคจอตาเสื่อม มีสารสีขึ้นหรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ (ศาสตราจารย์ซิลเวีย พิสติ มหาวิทยาลัยอกิลาในอิตาลี) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดที่จอตานอกเหนือจากจุดรับภาพเสื่อม และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้

-ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย บำรุงหัวใจ เป็นยาชูกำลัง ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น รักษาภาวะซึมเศร้า 

-ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด ขับเสมหะ แก้ไข้ ขับเหงื่อ 

-ช่วยแก้อาการสวิงสวายหรืออาการรู้สึกใจหวิว มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว คล้ายจะเป็นลม

-ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาการบิด

-ช่วยแก้อาการปวดท้องหลังการคลอดบุตรของสตรี ขับระดูของสตรี

-ช่วยระงับความเจ็บปวด อาการเกร็ง เส้นกระตุก ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก

-ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีอายุยืนยาว

-หญ้าฝรั่น มีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอมแบบโบราณ นำมาใช้ทำเป็นยาหอมได้

-เกสร นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยจะช่วยทำให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง อย่างเช่น ลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก พุดดิง คัสตาร์ด รวมไปถึงเหล้าและเครื่องดื่ม

-เกสร เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นติดทนนาน เมื่อนำมาใช้ทำอาหารจึงไม่ต้องใช้มาก และนิยมนำมาใส่ในขั้นตอนสุดท้ายของการปรุงอาหาร เนื่องจากเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมากจึงมักนิยมใส่ในอาหารในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลอง

-เกสร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและน้ำหอมหรือน้ำอบ เป็นต้น

-เกสร สามารถใช้ในการย้อมสีผ้า โดยให้สีเหลือง

-ในตำรายาสมุนไพร “Farmakuya” ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรโบราณระบุว่า หญ้าฝรั่นมีสรรพคุณนำมาใช้ทำเป็นทิงเจอร์ที่มีชื่อว่า “Tinctura Opiicrocata”

-ในต่างประเทศนิยมใช้เกสรกับข้าวปรุงรสต้นตำรับ เช่น ข้าวบุหรี่, ข้าวหมาก ข้าวปิลาฟ (Pilaf Rice), ข้าว Pilaus ของอินเดีย, ข้าวปาเอญ่า (Paella) ของสเปน, ข้าว Risotto Milanese ของอิตาเลียน, ซุปทะเลรวมมิตรแบบฝรั่งเศส หรือบุยยาเบส (Bouillabaisse) ด้วยการใช้หญ้าฝรั่นนำมาชงด้วยน้ำร้อนแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในอาหารหรือใส่ทั้งเส้น

-ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง อาการปวดในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อประสาท ช่วยผ่อนคลายความเครียดของระบบประสาท



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง