Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะเขือขื่น

ชื่อท้องถิ่น: มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (เชียงใหม่)/ มังคิเก่ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)/ เขือเพา (นครศรีธรรมราช)/ มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง (ภาคเหนือ)/ เขือหิน (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Cock roach berry, Dutch eggplant, Indian Nightshade

ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum aculeatissimum Jacq.

ชื่อวงศ์: SOLANACEAE

สกุล: Solanum  

สปีชีส์: aculeatissimum

ชื่อพ้อง:

-Solanum aculeatissimum var. dolichoplum Bitter

-Solanum aculeatissimum var. hispidissimum Dunal

-Solanum aculeatissimum var. purpureum A.Chev.

-Solanum angustispinosum De Wild.

-Solanum campechiense Banks ex Aiton

-Solanum cavaleriei H.Lév. & Vaniot

-Solanum horridissimum Sendtn.

-Solanum horridum Salisb.

-Solanum macinae A.Chev.

-Solanum martiusianum Steud.

-Solanum molle Schrank

-Solanum reflexum Schrank

-Solanum viridiflorum Schltdl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:มะเขือขื่น thai-herbs.thdata.co | มะเขือขื่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะเขือขื่น เป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง 


มะเขือขื่น thai-herbs.thdata.co | มะเขือขื่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของแผ่นใบมีหลายรูปร่าง แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ฐานใบทั้งสองด้านจะเยื้องกันเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้น ๆ ประมาณ 5-7 พู มีขนาดกว้างประมาณ 4-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน มีหนามแหลมตามเส้นกลางใบ ก้านใบอ้วนสั้น ยาวได้ประมาณ 3-7 เซนติเมตร และอาจพบหนามตามก้านใบ


มะเขือขื่น thai-herbs.thdata.co | มะเขือขื่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยประมาณ 4-6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านช่อยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีขนห่างยาว ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเป็นสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอก ขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 14 มิลลิเมตร มีขนนุ่มเหมือนวงกลีบเลี้ยง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ติดอยู่จนติดผล แต่ละแฉกเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาดประกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาประมาณ 15 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูประฆังขนาดประมาณ 5.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรสีเหลือง 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร อับเรณูเป็นรูปหอก เรียวแหลม ขนาดประมาณ 6-7 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร 


มะเขือขื่น thai-herbs.thdata.co | มะเขือขื่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน เปลือกเหนียว ผลอ่อนผิวจะเรียบลื่นเป็นสีเขียวเข้ม มีลายขาวแทรก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองสด ชั้นเนื้อผลบางมีสีเขียวอ่อนอมสีเหลืองใส มะเขือขื่นจะมีกลิ่นเฉพาะ โดยจะมีรสขื่น ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.8 มิลลิเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ป่าเปิด ป่าละเมิด ทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร

ถิ่นกำเนิด: บราซิลใต้-ตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงปารากวัยกลาง-ใต้

การกระจายพันธุ์: บราซิลตอนใต้,บราซิลตะวันออกเฉียงใต้, ปารากวัย, แอละแบมา, แองโกลา, อัสสัม, บูร์กินา, บุรุนดี, แคเมอรูน, จังหวัดเคป, เคปเวิร์ด, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, คองโก, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, อิเควทอเรียลกินี, เอธิโอเปีย, ฟลอริดา, รัฐอิสระ, จอร์เจีย, กานา, อ่าวกินี, อินเดีย, ไอวอรี่โคสต์, จาวา, เคนยา, ควาซูลู, นาตาล, ลาว, เลโซโท, ไลบีเรีย, ลุยเซียนา, มาลาวี, มาลี, มอริเตเนีย, มิสซิสซิปปี, โมซัมบิก, พม่า, เนปาล, เกาะนิโคบาร์, ไนจีเรีย, นอร์ทแคโรไลนา, เพนซิลเวเนียร, วันดา, เซียร์ราลีโอน, เซาท์แคโรไลนา, ไต้หวัน, ไทย, แทนซาเนีย, เทนเนสซี, ทิเบต, โตโก, เวียดนาม, ยูกันดา, แซมเบีย, สาธารณรัฐซาอีร์,ซิมบับเว

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสขื่นเอียนเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว ขับเสมหะ ทำให้น้ำลายน้อย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-มะเขือขื่น อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่น ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย วิตามินซี 63 มิลลิกรัม, แคลเซียม 55 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ฯลฯ

-ผลแก่ สามารถปรุงเป็นอาหาร ใช้เฉพาะส่วนเปลือกและเนื้อเท่านั้น (แยกเมล็ดทิ้ง) โดยอาจนำมาใช้กินเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกหรือปลาร้า 

-ภาคอีสานใช้เนื้อผล ใในการปรุงเครื่องจิ้ม เช่น เยื่อเคยทรงเครื่อง ฯลฯ ปรุงอาหารกับส้มผัก เช่น ส้มผักบั่ว ส้มผักกาด หรือจะนำมาใช้ปรุงรสอาหารบางชนิด ฝานเปลือกใส่ในส้มตำอีสาน ส้มตำลาว โดยรสขื่นจะช่วยลดความเค็มของปลาร้าได้ ทำให้ส้มตำมีรสกลมกล่อม หรือนำมาใช้ยำกับสาหร่าย ใช้ตำกับผลตะโกและมะขามที่เรียกว่าเมี่ยง 

-ภาคกลางใช้เนื้อนำมาทำแกง เช่น แกงส้มมะเขือขื่น แกงป่าต่าง ๆ เป็นต้น

-ชาวล้านนาใช้ผลอ่อนนำมารับประทานทั้งผล ใช้เป็นผักจิ้มและผักแกง นำมายำ (ส้าบ่าเขือแจ้) ใช้ใส่ในน้ำพริก (น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกบ่าเขือแจ้) บ้างนำผลแก่ไปเผาให้สุกตำจนละเอียดแล้วผสมลงในเนื้อสับที่จะทำลาบเนื้อหมูหรือลาบเนื้อ โดยจะช่วยทำให้ลาบนั้นนุ่มเหนียวยิ่งขึ้น 

-ชาวขมุใช้ผลใส่แกงหรือเป็นผักจิ้ม

-ในลาวนำมาเจาะเอาแกนและไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แช่น้ำปูนใส นำไปยำกับหมูสับ ใส่ใบขิงซอย

-ชาวเผ่านิลกิริสใช้ผลรักษาฝีที่นิ้ว

-ในเนปาลใช้รากเป็นยาต้ม รักษาอาการไอ หอบหืด เจ็บหน้าอก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง