Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โคคลาน

ชื่อท้องถิ่น: มะปอบเครือ (เหนือ)/ กุระเปี้ยะ (ปัตตานี)/ โพคาน (ชัยนาท)/ แนวน้ำ (ประจวบคีรีขันธ์)/ เยี่ยวแมว (ใต้)2 เยี่ยวแมวเถา (นราธิวาส)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mallotus repandus (Willd.) Mull. Arg.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล:  Mallotus 

สปีชีส์: repandus

ชื่อพ้อง: 

-Adisca timoriana Span.

-Croton repandus Willd.

-Croton rhombifolius Willd.

-Croton volubilis Llanos

-Helwingia populifolia Spreng.

-Mallotus chrysocarpus Pamp.

-Mallotus contubernalis Hance

-Mallotus scabrifolius (A.Juss.) Müll.Arg.

-Mallotus scandens (Span.) Müll.Arg.

-Mappa scandens (Span.) Pancher ex Baill.

-Rottlera cordifolia Benth.

-Rottlera dicocca Roxb.

-Rottlera dioica Baill.

-Rottlera laccifera Voigt

-Rottlera repanda (Willd.) Scheff.

-Rottlera rhombifolia (Willd.) Thwaites

-Rottlera scabrifolia A.Juss.

-Rottlera scandens Span.

-Rottlera trinervis Zipp. ex Span.

-Rottlera viscida Blume

-Trewia nudifolia

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โคคลาน thai-herbs.thdata.co | โคคลาน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโคคลาน เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือเป็นไม้เถาเลื้อย พาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น มีความสูงหรือยาวประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเนื้อในเป็นสีน้ำตาลอ่อน บริเวณกิ่งก้านและช่อดอกมีขนนุ่มเป็นรูปดาว ลำต้นแก่มีหนามยาว 3-5 นิ้ว


โคคลาน thai-herbs.thdata.co | โคคลาน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม หรือเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่กว้าง ใบมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ฐานใบเปิดกว้างกลมปิด ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางมีลักษณะคล้ายกระดาษ ส่วนหลังใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสั้นนุ่มสีเหลืองเป็นรูปดาวขึ้นอยู่หนาแน่น ส่วนหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร และก้านใบยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน 3 เส้นที่ฐานใบ


โคคลาน thai-herbs.thdata.co | โคคลาน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยหลายดอกสีขาวแกมเหลือง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันดอกละต้น โดยช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร มักแตกแขนง ดอกตัวผู้จะออกรวมกันเป็นกระจุกประมาณ 2-5 ดอก มีใบประดับเป็นรูปลิ่มแคบ ขนาดประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ก้านชูดอกย่อยมีขนาดประมาณ 2-4 มิลลิเมตร วงกลีบเลี้ยงแยกเป็นพู 3-4 พู ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม และมีเกสรตัวผู้ประมาณ 40-75 อัน ส่วนช่อดอกตัวเมียจะยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ใบประดับเป็นรูปหอก มีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร มีก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเป็นรูปหอกมีประมาณ 4-5 อัน ขนาด 2-3 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม มีรังไข่อยู่ 2 ห้อง เป็นสีเหลืองเข้มและมีขนนุ่ม ก้านชูยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตรและมีขนยาวนุ่ม


โคคลาน thai-herbs.thdata.co | โคคลาน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแห้งแตกเป็นแบบแคปซูลมี 2 ห้อง ผลรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร เป็นสีน้ำตาลเหลืองและมีขนนุ่ม ก้านผลมีความยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร เมื่อผลแก่จะแตกตรงกลางพู ในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกึ่งทรงกลมสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามที่โล่ง ป่าพรุ ป่าโปร่ง ชายป่าดิบชื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-1,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสขมเบื่อเย็น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นตัว เส้นตึง แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงโลหิต

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โคคลาน ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก  ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของโคคลานร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตำรับ “ยาผสมโคคลาน” มีส่วนประกอบของโคคลานร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นโคคลาน พบสาร กลุ่มไทรเทอร์ปีน, สารกลุ่ม isocoumarin ชื่อ bergenin, สารกลุ่ม diterpene lactone ชื่อ mallotucin C, D และ teucvin สารอื่นๆ เช่น  mallorepine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์แก้อาการปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์แก้อาการปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของเถาโคคลานด้วยวิธี Writhing test และ Formalin test ในหนูถีบจักรเพศผู้ โดยผลการทดลองพบว่าสามารถช่วยลดจำนวนครั้งที่เกิด Writhing test ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนการทดลองด้วย Formalin test ด้วยการฉีด 2.5% formalin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้านซ้าย พบว่าสามารถช่วยลดเวลาที่หนูยกเท้าข้างที่ถูกฉีด Formalin ขึ้นเลียลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลองเบื้องต้นทางเภสัชวิทยาชี้ให้เห็นว่า สารสกัดจากเถาโคคลานมีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและต้านการอักเสบได้

-ฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การศึกษาถึงศักยภาพของสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากส่วนของเปลือกต้นโคคลานต่อการเคลื่อนที่ของเซลล์ในหลอดเลือดและเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี โดยเปรียบกับยาต้านมะเร็ง antimitotic เช่น paclitaxel ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าสารสกัดโคคลานไม่มีพิษต่อเซลล์ และสามารถช่วยยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์หลอดเลือดและเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีได้ตามขนาดที่เพิ่มขึ้น ผลการทดลองนี้จึงสนับสนุนฤทธิ์ของสารสกัดโคคลานในการต้านมะเร็งด้วยการยับยั้งกระบวนการเกิดเลือดใหม่ (angiogenesis) และ Tumor cell migration และยังแสดงให้เห็นว่าสารสกัดดังกล่าวน่าจะออกฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาในสัตว์ทดลองบางฉบับพบว่าเมื่อใช้ในขนาดสูงมีผลมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ  รวมถึงยังช่วยกระตุ้นสมอง ทำให้สัตว์ทดลองอาเจียน ท้องเสีย ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ และมีอาการชัก เป็นต้น

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ชูกำลัง ใช้แก่นหรือเนื้อไม้โคคลานต้มน้ำดื่มขณะอุ่นแบบเดี่ยว ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ชูกำลัง

-ในตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ลำต้นโคคลาน 100 กรัม ผสมกับทองพันชั่งทั้งต้นและโด่ไม่รู้ล้มทั้งต้น ชนิดละประมาณ 1 หยิบมือ นำมาต้มน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดเมื่อย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง