Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระพังโหม

ชื่อท้องถิ่น:  กระพังโหม ตดหมูตดหมา (ภาคกลาง)/ ผักไหม (เชียงใหม่)/ ตะมูกปาไหล (อุดรธานี)/ กระเจียวเผือ (สกลนคร)/ เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม)/ ตดหมูตดหมา ผักไหม (ภาคเหนือ)/ กระเจียวเผือ เครือไส้ปลาไหล ตะมูกปาไหล (ภาคอีสาน)/ ย่านพาโหม (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Skunk-vine

ชื่อวิทยาศาสตร์: Paederia foetida L.

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล:  Paederia

สปีชีส์:  foetida

ชื่อพ้อง: 

-Gentiana scandens Lour.

-Paederia magnifica Noronha

-Paederia scandens (Lour.) Merr.

-Paederia tomentosa Blume

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระพังโหม thai-herbs.thdata.co | กระพังโหม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระพังโหม เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก เลื้อยพาดพันไปตามพื้นดินหรือเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นมีขนาดเล็ก ลำต้นและใบมียางสี เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น


กระพังโหม thai-herbs.thdata.co | กระพังโหม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ลักษณะที่อยู่ตรงกันข้าม ใบสีเขียวเนื้อใบบาง มีก้านใบสั้นเส้นใบโค้งถึงขอบใบ ใบกว้างประมาณ 3-25 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร


กระพังโหม thai-herbs.thdata.co | กระพังโหม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กระพังโหม thai-herbs.thdata.co | กระพังโหม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ โดยจะออกตามซอกใบหรือโคนก้านใบ มีช่อละประมาณ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงดอกจะมี 5 กลีบ มีขนาดเล็ก ปลายกลีบแยกกัน กลีบด้านนอกเป็นสีขาว ส่วนกลีบด้านในเป็นสีม่วงแดงหรือสีชมพูประด้วยสีม่วงจุดสีน้ำตาล ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง


กระพังโหม thai-herbs.thdata.co | กระพังโหม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะฝักยาวกลม มีขนาดยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออก

การกระจายพันธุ์: จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อนุทวีปอินเดีย, เมียนมาร์, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ เถา รสกลิ่นเหม็น สรรพคุณ แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ขับลม แก้ธาตุพิการ ท้องเสีย เจริญอาหาร ขับพยาธิไส้เดือน

*ใบ ตำพอก แก้พิษงู แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด

*หมายเหตุ กระพังโหมที่แท้ต้องเป็นชนิดที่มียางออกเมื่อเด็ดใบและเถาสดๆ ชนิดไม่มียาง เรียกว่า ย่านพาโหม ไม่ใช่กระพังโหม

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้กระพังโหม ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยามหาจักรใหญ่” มีส่วนประกอบของกระพังโหมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมซาง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดฟัน ใช้ใบสดตำพอกอุดรูฟันแก้ปวดฟันและแก้รำมะนาด

-อาการไข้ ใใช้เถาหรือใบนำมาต้ม นำน้ำต้มมาใช้เช็ดตัวหรือนำผ้าสะอาดชุบน้ำต้มมาวางไว้บนศีรษะ ก็จะทำให้อาการไข้ลดลงได้เป็นอย่างดี

-อาการตาฟาง ตาแฉะ ตามัว ใช้รากสดใช้ฝนกับน้ำหยอดตาแก้พิษ แก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัวได้ดีมาก ในสมัยก่อนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย 

-หมอยาพื้นบ้านในประเทศฟิลิปปินส์จะนำใบมาต้มและนำมาตำให้แหลก แล้วนำมาโปะลงบนท้องจะช่วยแก้ปัสสาวะขัด ทำให้สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ นอกจากนี้ถ้านำใบมาต้มดื่มก็ช่วยขับนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย

-ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอก สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ มีรสขมกลิ่นเหม็นเขียว (กลิ่นหอม) มีสรรพคุณช่วยระบายความร้อนในร่างกาย 

-ชาวอีสานใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานร่วมกับลาบก้อย 

-ชาวใต้จะใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ไปซอยให้ละเอียดเป็นผักที่ใช้ผสมปรุงเป็นข้าวยำ หรือแกงไตปลา

-ชาวบ้านจะนิยมนำต้นกระพังโหมมาปลูกไว้ใกล้ ๆ บริเวณบ้านเพื่อเก็บมารับประทานได้สะดวก

-เกษตรกรที่เลี้ยงหมู มีการใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาลดไข้ด้วย ด้วยการดึงเอาเถามาทุบให้พอแหลกหรือให้มีน้ำออกมา แล้วเอาเถานั้นมาลูบไปตามตัวหมูที่เป็นไข้ จะทำให้ไข้ของหมูลดลง

-ในอินเดียมีการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันจากสมุนไพรชนิดนี้มาใช้เป็นยาทาแก้ปวดข้อและปวดหลัง หรือนำมาปรุงในซุปเพื่อช่วยบำรุงกำลังให้คนชราที่ฟื้นไข้หรือคนชรากิน

-ในอินโดนีเซียใช้ดอก ใบ และผล ต้มเอาน้ำกลั้วคอ ชะล้างแผลเพื่อฆ่าเชื้อ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง