Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักหนอก (บัวบก)

ชื่อท้องถิ่น: บัวบกเขา (นครศรีธรรมราช)/ ผักหนอกดอย (เชียงใหม่)/อผักแว่นเขา (ตราด)/ ผักหนอกช้าง (ภาคเหนือ)/ ผักหนอก (ภาคใต้)/ กะเซดอมีเดาะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)/ ผักหนอกป่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Centella asiatica Urban

ชื่อวงศ์: APIACEAE-UMBELLIFERAE และอยู่ในวงศ์ย่อย HYDROCOTYLOIDEAE

สกุล: Hydrocotyle 

สปีชีส์: javanica

ชื่อพ้อง: 

-Hydrocotyle asiatica L.

-Trisanthus cochinchinensis Lour.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นผักหนอก เป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน


ผักหนอก thai-herbs.thdata.co | ผักหนอก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ส่วนมากมีด้านกว้างยาวกว่าด้านยาว โคนใบเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ ขอบใบหยักโค้งเป็นหยักมนประมาณ 5-7 หยัก หรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย โดยจะมีขนาดกว้างประมาณ 3-9 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบออกจากโคน 7-9 เส้น ส่วนมากมีขนสั้นนุ่มตามเส้นแขนงของใบทั้งสองด้าน ก้านใบยาวได้ถึง 17 เซนติเมตร มีขนยาวขึ้นปกคลุม


ผักหนอก thai-herbs.thdata.co | ผักหนอก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีช่อขนาดเล็กหลายช่อ ก้านช่อส่วนมากมีความยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร หรืออาจยาวกว่าเล็กน้อย แต่ส่วนมากจะสั้นกว่าก้านใบ ช่อดอกเป็นแบบช่อซี่ร่ม มีดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก ก้านดอกสั้นมากหรือยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร มีใบประดับ กลีบดอกเป็นสีขาวหรือขาวแกมเขียว หรือมีแต้มสีม่วงแดง กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายแหลม


ผักหนอก thai-herbs.thdata.co | ผักหนอก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแห้งและแตกได้ ผลมีขนาดเล็กรูปโล่หรือรูปกลมแป้น ๆ แยกเป็น 2 ซีก มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-1.8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-1.3 มิลลิเมตร สีเขียวเข้มถึงน้ำตาลแดง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียติดทน บานออก

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีน

การกระจายพันธุ์: ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการแตกไหล

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสขมเล็กน้อย สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำรับประทาน บำรุงหัวใจ แก้ช้ำใน เนื่องจากพลัดตกหกล้ม แก้เมื่อยล้า อ่อนเพลีย แก้บิด ท้องเสีย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ผักหนอกทั้งต้น นำมาต้มกับไก่และเนื้อในเมล็ดท้อนึ่งกินแก้อาการบวมจากโรคไต 

-ในคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียก็กล่าวถึงการใช้บัวบก (ผักหนอก) บำรุงร่างกายว่า บัวบกทั้งต้นมีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน ย่อยได้ง่าย เป็นยาเย็น ยาระบาย ยาบำรุง ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ บำรุงเสียง ช่วยให้ความจำดีขึ้น เป็นยาเจริญอาหาร เป็นต้น

-การแพทย์จีนถือว่าบัวบก (ผักหนอก) คือ สมุนไพรของความเป็นหนุ่มสาว สรรพคุณในการคืนความเป็นหนุ่มสาวนี้ 

-อาการไข้ชักในเด็ก ใช้ทั้งต้นผสมกับเปลือกต้นมะกอก หูเสือทั้งต้น สะระแหน่ทั้งต้น ฮางคาวทั้งต้น รากหญ้าคา และตาอ้อยดำ นำมาแช่กับน้ำหรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาเย็น แก้ไข้ชักในเด็ก

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ทั้งต้นประมาณ 30 กรัม ต้มดื่มน้ำเมื่อมรอาการ จะช่วยดับกระหาย บรรเทาอาหารร้อนใน 

-อาการช้ำใน ใช้ทั้งต้นประมาณ 30 กรัม ต้มน้ำดื่มเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บช้ำใน บวมอักเสบ

-อาการฟกช้ำ ใช้ใบบัวบก (ผักหนอก) มาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม

-อาการปัสสาวะติดขัด ใช้ใบบัวบก (ผักหนอก) ประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก

-แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้ใบบัวบก (ผักหนอก) ประมาณ 50 กรัม ตำพอกบริเวณที่มีอาการ ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อน ปวดบวมอักเสบ

-ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ผักหนอกทั้งต้น นำมาตำพอกหรือคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลถลอก และใช้เป็นยาห้ามเลือด

-ใบและเถา สามารำนำมารับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว น้ำพริกปลา น้ำพริกตาแดง หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำผักหนอก ซุปหน่อไม้ เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง