Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะพร้าว

ชื่อท้องถิ่น: ว่า ดุง (จันทบุรี)/ โพล (กาญจนบุรี)/ คอส่า (แม่ฮ่องสอน)/ เอี่ยจี้ (จีน)/ หมากอุ๋น หมากอูน (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: Coconut

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cocos nucifera L.

ชื่อวงศ์: ARECACEAE (PALMAE-PALMACEAE)

สกุล:  Cocos 

สปีชีส์: nucifera

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะพร้าว thai-herbs.thdata.co | มะพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นขนาดกว้างประมาณ 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงหรือโค้ง ไม่แตกกิ่ง  เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป


มะพร้าว thai-herbs.thdata.co | มะพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 60-100 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมอ่อนลู่ลง โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวอมเหลือง


มะพร้าว thai-herbs.thdata.co | มะพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อแขนงระหว่างกาบใบ ดอกมีเล็กสีเหลือง เขียวแกมเหลือง กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก


มะพร้าว thai-herbs.thdata.co | มะพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นแบบสด มีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงไข่แกมกลมหรือรูปไข่กลับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร สีเขียวหรือ เขียวแกมเหลือง ผลแก่สีน้ำตาล เนื้อในเมล็ดสีขาว

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: มาเลเซียกลาง-มาเลเซียตะวันตกเฉียงใต้ ไปจนถึงแปซิฟิก.

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะบิสมาร์ก, มาลูกู, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, ซามัว, เกาะซานตาครูซ, เกาะโซโลมอน, ตองกา, วานูอาตู, เกาะอันดามัน, แองโกลา, การขึ้นสู่สวรรค์, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบลีซ, เบนิน, โบลิเวีย, บอร์เนียว, บราซิลเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงใต้, กัมพูชา, แคเมอรูน, แคโรไลน์ Is., เคย์แมนอิส, แอฟริกากลาง, อเมริกากลาง, หมู่เกาะชากอส, ชิลีทางเหนือ, จีนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เกาะคริสต์มาส, เกาะโคโคส (คีลิง), โคลอมเบีย, เกาะคุก, คอสตาริกา, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, อีสเตอร์อิส, เอลซัลวาดอร์, ฟิจิ, ฟลอริดา, กาบอง , แกมเบีย, จอร์เจีย, กานา,เกาะ กิลเบิร์ต, กินี, กินี-บิสเซา, อ่าวกินี, ไหหลำ, เฮติ, ฮาวาย, ฮอนดูรัส, อินเดีย, ไอวอรีโคสต์, จาเมกา, จาวา, เคนยา, เกาะแลคคาดีฟเกาะลีวาร์ด, เกาะซุนดา, เกาะลีวาร์ด, เกาะซุนดา, เกาะไลบีเรียไลน์, มาดากัสการ์, มาลายามัลดีฟส์, เกาะมาคัส หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, หมู่เกาะมาร์เคซัส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, มอริเชียส, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, โมซัมบิก, เมียนมาร์, นาอูรู, นิวแคลิโดเนีย, นิการากัว, นิโคบาร์คือไนจีเรีย, นีอูเอ, นอร์ทแคโรไลนา,เกาะโอกาซาวาระ, เกาะฟินิกส์, เปอร์โตริโก , เรอูนียง, เซเนกัล, เซเชลส์,เกาะโซไซตี้, เซาท์แคโรไลนา, ทะเลจีนใต้, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไต้หวัน, แทนซาเนีย, ไทย, โตโก, โทเคอเลา - มานิฮิกิ, ตรินิแดด - โตเบโก, ทูอาโมตู, ทูบูอิ, ตูวาลู, เวเนซุเอลา, เวเนซุเอลาแอนทิลลิส, เวียดนาม, วาลลิ -เกาะฟุตูน, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, สาธารณรัฐซาอีร์

มะพร้าว thai-herbs.thdata.co | มะพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ดอก รสฝาดหอม สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้ปากเปื่อย

*ราก รสหวานฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ท้องเสีย 

*น้ำมะพร้าว รสหวาน สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ทำให้จิตใจชุ่มชื้น  บำรุงครรภ์

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคกลากเกลื้อน ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาบริเวณที่เป็น เกลื้อนจะค่อย ๆ หายไป

-อาการร้อนใน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนในช่วงเช้าและช่วงบ่าย เพราะน้ำมะพร้าวอ่อนมีฤทธิ์เป็นยาเย็นจึงช่วยลดความร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี

-อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ด้วยการอมน้ำกะทิสด ๆ จากมะพร้าวแก่ประมาณ 5-10 นาที ประมาณ 3 วันแผลจะหายเร็วขึ้น

-อาการท้องเสีย ใช้ราก มีรสหวานฝาดเย็น ล้างสะอาดประมาณ 3 กำมือ ทุบพอแตก ต้มน้ำ 5 แก้ว เคี่ยวเอา 2 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยลดอาการท้องเสีย

-อาการอ่อนเพลียจากอาการท้องเสียท้องร่วงได้  ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เนื่องจากน้ำมะพร้าวอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม ช่วยเติมพลังหลังการเสียเหงื่อ เสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

-อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อักเสบ ช้ำบวม ใช้น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีล้างให้สะอาดสับเคี่ยวเข้าด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยให้ตัวยาแทรกซึมได้ดีขึ้น เสร็จแล้วนำมานวดบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็น ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาที่แผล จะทำให้แผลหายเร็วภายในไม่กี่วัน และจะไม่เกิดรอยแผลเป็น

-ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง เนื่องจากน้ำมะพร้าวอ่อนมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง 

-ช่วยลดอาการไข้สูง ตัวร้อน เพราะน้ำมะพร้าวอ่อนมีฤทธิ์เป็นยาเย็นจึงช่วยทุเลาอาการไข้ได้

-อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้มะพร้าวกะทิปิดบริเวณแผล

-ช่วยบำรุงน้ำนม มารดาที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ ก็สามารถให้บุตรกินน้ำมะพร้าวแทนน้ำนมแม่ได้ชั่วคราวได้ เพราะน้ำมะพร้าวมีกรดลอริกที่มีอยู่มากในน้ำนมแม่ และยังมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตรายต่อเด็กทารก

-ช่วยลดสิว ผู้ที่เป็นสิวหรือมีประจำเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้ดื่มน้ำมะพร้าว จะช่วยทำให้ร่างกายขับของเสียออกมาได้มากยิ่งขึ้น

-น้ำมะพร้าว นำไปแปรรูปเป็นวุ้นมะพร้าวได้ ด้วยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว 

-น้ำมะร้าว เป็นเครื่องดื่มธรรมชาติที่ให้เกลือแร่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม จึงเหมาะสำหรับนักกีฬา 

-น้ำมะร้าวมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค จึงนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดแบบผิดปกติ 

-น้ำมะพร้าว ใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู

-ผลมะพร้าวอ่อน นอกจากรับประทานสดแล้ว ยังนำมาทำเป็นวุ้นมะพร้าว มะพร้าวเผา ส่วนประกอบในอาหารคาวหวาน เป็นต้น

-เนื้อผลมะพร้าวแก่ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคั้นกะทิสด กะทิกล่อง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง น้ำมันมะพร้าว รวมไปถึงน้ำมันไบโอดีเซลด้วย เป็นต้น

-เนื้อผลมะพร้าวแก่ ใช้ทำเป็นกะทิ ด้วยการขูดเนื้อเป็นเศษ ๆ แล้วบีบคั้นเอาน้ำกะทิออก

-กากที่เหลือจากการคั้นน้ำกะทิ สามารถนำไปใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย (กากมะพร้าว)

-จาวมะพร้าว นำมาใช้ทำเป็นอาหารได้

-จาวมะพร้าว ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบของพืชที่ปลูกได้ เพราะมีฮอร์โมนออกซิน ซึ่งเมื่อนำไปคั้นก็จะได้น้ำไว้สำหรับรดต้นพืชที่ปลูก

-ยอดอ่อนมะพร้าว หรือ “หัวใจมะพร้าว” (Coconut’s heart) มีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนจะทำให้ต้นมะพร้าวตายทั้งต้น โดยนำไปใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว

-จั่นมะพร้าวหรือช่อดอกมะพร้าว อุดมไปด้วยฟรุกโตส ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผึ้งและแมลงนานาชนิด จึงได้มีการนำน้ำหวานส่วนนี้มาทำเป็นน้ำตาลเพื่อใช้ปรุงอาหารคาวหวาน หรือทำเป็นน้ำตาลสดไว้เป็นเครื่องดื่มเพิ่มพลังก็ได้

-กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว คุณสมบัติแข็งแรง คงทน ยืดหยุ่น มีสปริง นำมาใช้ทำเชือก พรม กระสอบ แปรง อวน ไม้กวาด และเส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น

-ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูกเพื่อทำเป็นเสื่อได้ หรือจะนำไปใช้ในการเกษตรก็ได้เช่นกัน

-ใบมะพร้าว นิยมนำมาใช้สานเป็นภาชนะใส่ของ ห่อขนม สานหมวกกันแดดหรือเครื่องเล่นเด็ก กระจาด กระเช้า ตะกร้า ทำของที่ระลึกรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น 

-ก้านใบมะพร้าวหรือทางมะพร้าว นำมาใช้ทำเป็นไม้กวาดทางมะพร้าว เสวียนหม้อหรือก้นหม้อ เครื่องประดับข้างฝา พัด ภาชนะปักดอกไม้ กระเป๋า กระจาด เป็นต้น

-รกมะพร้าวหรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบ ๆ บาง ๆ มีความยืดหยุ่น (แต่ขาดง่าย) นิยมนำมาทำเป็นกระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ ดอกไม้ประดิษฐ์ กล่องใส่ของ สิ่งประดิษฐ์ใช้ตกแต่งงานศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น

-กะลามะพร้าว นิยมนำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระบวย กระดุม ซออู้ โคมไฟ เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ที่วางแก้วน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่ รวมไปถึงทำเป็นถ่านหุงต้ม ถ่านกัมมันต์ น้ำควัน และถ่านสำหรับป้องกันมอดแมลงก็ได้เช่นกัน และอีกสารพัด 

-รากมะพร้าวมีเส้นยาว เหนียวเป็นพิเศษ ใช้สานเป็นตะกร้า ถาด ภาชนะต่าง ๆ และสิ่งประดิษฐ์ทั่ว ๆไป

-ลำต้น เมื่อถูกโค่นทิ้งแล้วสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ทำรั้ว ฝาผนัง กระถางต้นไม้ ตกแต่งสวน เป็นต้น

-ในไต้หวันและจีน นิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยลดอาการเมา แก้อาเจียนหลังการดื่มแอลกอฮอล์



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง