Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะเฟืองป่า 

ชื่อท้องถิ่น: กำจาย (เชียงใหม่)/ มะเฟืองป่า ลำไยป่า (ลำปาง)/ พญาไก่เถื่อน (พิษณุโลก)/ ทองหว้า (อุตรดิตร์)/ กัดลิ้น(ตราด)/ แดงดง (ขอนแก่น)/ คอมเฮาะ น้ำนุ่น หมักแดงดง (หนองคาย)/ ย่ามฝ้าย (ตรัง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia triptera Stapf.

ชื่อวงศ์: COMBRETACEAE

สกุล: Terminalia

สปีชีส์: triptera

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะเฟืองป่า เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ส่วนโคนต้นที่มีพูพอนขนาดเล็ก มักมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง และจะร่วงโรยไปเมื่อแก่ เมื่อสับจะมียางสีแดงส้มชัดเจน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีรอยแตกตามยาวแบบตื้น ๆ เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม


ขี้อ้าย thai-herbs.thdata.co | ขี้อ้าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ หรือมีหนึ่งใบยาวประมาณ 14-18 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ค่อนข้างกลม และด้านบนแบนเกลี้ยง หรือมีขน มีช่องอากาศทั่วไป ใบย่อยมี 2 คู่ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ใบคู่ที่อยู่ตอนปลายๆ กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-13 เซนติเมตร ส่วนใบที่ปลายกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-10 เซติเมตร ส่วนใบคู่ที่อยู่ตอนโคนมักจะเล็กกว่าเล็กน้อย โคนเรียวแหลม ปลายเรียวแหลม เนื้อหนาคล้ายหนัง ด้านบนเห็นเส้นใบไม่ชัด ด้านล่างเห็นชัดแค่เส้นกลางใบ และเส้นใบเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่มกระจาย มีจุดขาวกระจายทั่วไป ใบคู่ปลายมีเส้นใบ 5-7 คู่ ใบที่ปลายมีเส้นใบ 6-8 คู่ อาจมีต่อมหรือไม่มี บางครั้งเห็นชัด ก้านใบย่อมกลม หรือด้านบน แบนเล็กน้อย ที่ใบคู่ปลายยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร


ขี้อ้าย thai-herbs.thdata.co | ขี้อ้าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก มีกลิ่นหอมออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบที่ไม่เจริญที่ปลายกิ่งยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แตกกิ่งเป็น 3 ชั้น แกนกลางช่อดอกอันแรกเลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม และมีช่องอากาศอยู่หนาแน่น สีน้ำตาลดำ หรือดำดอกสมบูรณ์เพศ หรือเป็นดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ปลายจักลึก 5 พู ด้านนอกมีขนเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน กว้างประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ปลายเป็นหมวกเมื่อแก่ ก้านชูเกสรร่วมรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ปลายแตกเป็น 2 ฟันแหลม อับเรณูยาวประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร จากฐานดอก เป็นวงแหวนสูง 0.2-0.3 มิลลิเมตร รังไข่มีขนหนาแน่น มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียทรงกระบอก หรือรูปโคนแคบ ยาวประมาณ 0.6-0.7 มิลลิเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร

ผล ลักษณะเป็นผลสด รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 1.2-2.4 เซนติเมตร เมื่อสดสีเขียวอ่อน หรือแดงมีขนเล็กน้อย ผนังผลบางคล้ายหนัง มีผนังผลชั้นในเป็นเส้นใย ภายในมีเมล็ด รูปรีกว้างประมาณ 0.9-1.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.3-2.3 เซนติเมตร มีเยื่อนุ่มห่อหุ้มสีขาว หรือไม่มีสีเยื่อหวาน 

สภาพนิเวศวิทยา: กระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อน

การกระจายพันธุ์: อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยมักขึ้นกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสเย็นฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้บิด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยห้ามเลือด ชะล้างบาดแผล ใช้เปลือกต้นต้มชะล้างบาดแผลเรื้อรังและช่วยห้ามเลือด

-เปลือก มีรสฝาด นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้กินกับหมากแทนสีเสียด แก้ปากเปื่อย

-เยื่อหุ้มเมล็ด มีรสหวาน ใช้รับประทานได้

-เปลือกต้น ใช้เป็นสีย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลือง

-น้ำยาง ใช้หยอดประทานด้ามมีดแทนครั่ง

-เนื้อไม้ นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ต่อเรือ หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือกสิกรรมได้





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง