Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หนอนตายหยากเล็ก (กะเพียดเล็ก)

ชื่อท้องถิ่น: กะเพียด (ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์)/ ป้งสามสิบ (คนเมือง)/ โปร่งมดง่าม ปงมดง่าม (เชียงใหม่)/ หนอนตายยาก (ลำปาง)/ หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stemona tuberosa Lour.

ชื่อวงศ์: STEMONACEAE

สกุล: Stemona 

สปีชีส์: tuberosa

ชื่อพ้อง: 

-Roxburghia gloriosa Pers.

-Roxburghia gloriosoides Roxb.

-Roxburghia viridiflora Sm.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หนอนตายหยากเล็ก (ต้นกะเพียด) เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก มักเลื้อยพันกับต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 10 เมตร และมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถามีลักษณะกลม สีเขียว กิ่งที่กำลังจะออกดอกมักจะเลื้อยพัน มีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกระชาย เป็นรูปกระสวย ออกเป็นกระจุก เนื้ออ่อนนิ่มมีสีเหลืองขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้เหง้าปักชำ


หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับบริเวณใกล้กับโคนต้น และเรียงเป็นคู่ตรงกันข้ามบริเวณกลางต้นหรือยอด ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบหรือบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นคลื่น เส้นใบแตกออกจาโคนใบขนานกันไปด้านด้านปลายใบประมาณ 9-13 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร ไม่มีหูใบและกาบใบ


หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร ใบประดับยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร กลีบรวมมี 4 กลีบ เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ กลีบเป็นรูปแถบยาวปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีลายเส้นสีเขียวแก่หรือม่วงเป็นลายประ ส่วนกลีบชั้นในเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง มีลายเส้นประสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ก้านเกสรสั้น อับเรณูเป็นสีม่วงยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ปลายมีจะงอยยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม ไม่มีก้านเกสร


หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด ประมาณ 10-20 เมล็ด เมล็ดยาวประมาณ 1-1.7 เซนติเมตร มีปลายเรียวแหลมยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีก้านเมล็ดยาวประมาณ 8 มิลิลเมตร มีเยื่อหุ้มที่โคนของเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ไทย

การกระจายพันธุ์: ไทย

หนอนตายหยากเล็ก thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากเล็ก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก  รสเบื่อเมา สรรพคุณ ทุบให้ละเอียดผสมน้ำ ฟอกล้างผม ฆ่าเหา หิด และกลาก

*รากสดพอกปิดปากแผลให้สัตว์ในส่วนที่เลียไม่ถึง ฆ่าหนอนและแมลงตายสิ้น

*น้ำแช่รากไม้นี้ ใช้ราดฉีดทำลายหนอนหรือแมลงที่มารบกวนพืชผักได้

*ต้มรับประทานแก้โรคผิวหนังผื่นคัน  ต้มกับยาฉุย รมหัวริดสีดวงทวาร ทำให้แห้งฝ่อ

*รากสดทุบให้แตก ใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งขึ้นหนอนจะตายสิ้น

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก พบสาร ได้แก่ Stemonine, Stemonidine, Isotuberostemonine, Iso-Stemonidine, Protostemonine, Hypotoberosstemonine, Oxtuberostemonine, Tuberostemonine เป็นต้น ส่วนสารอื่น ๆ ที่พบ เช่น stemonacetal, stemonal, stemonone, rotenoid compound

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งอาการไอ จากการทดลองกับสัตว์ทดลองพบว่า สมุนไพรหนอนตายหยากสามารถยับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้การหายใจได้ผลช้าลง

-ฤทธิ์ฆ่าพยาธิ สารสกัดที่ได้จากหนอนตายหยากมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการป้อนสารสกัดจากรากในขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลาหนึ่งเดือน ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก

การใช้ประโยชน์:

-โรคริดสีดวงทวารหนัก ใช้รากนำมาปรุงต้มรับประทาน พร้อมกับต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง จะทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้งไป

-โรคเหา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 3-4 ราก ที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำมาตำผสมกับน้ำใช้ชโลมเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยสระออกให้สะอาด โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเหาจะตายหมด

-อาการแผลในสัตว์ ใช้รากนำมาโขลกบีบเอาแต่น้ำใช้หยอดแผลวัวควายที่มีหนอนไช หรือจะใช้กากของรากสดนำมาโปะปิดแผลของสัตว์พาหะที่เลียไม่ถึง จะเป็นยาฆ่าหนอนที่เกิดในแผล หนอนจะตายหมด

-ช่วยฆ่ายุงและลูกน้ำ ใช้รากของต้นหนอนตายหยากสดประมาณ 500 กรัม นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในท่อน้ำทิ้ง จะสามารถฆ่ายุงและลูกน้ำได้

-ช่วยฆ่าแมลงและหนอนศัตรู ใช้รากนำมาตำผสมกับน้ำเป็นยาฆ่าแมลงและหนอนศัตรูพืชที่มารบกวนพืชผัก

-คนเมืองใช้รากฝนคลุกข้าวหรือมะพร้าวแล้วโดยให้มดกินเป็นยาฆ่ามด 

-ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้โรคโปลิโอ

-ในประเทศอินโดจีนจะใช้รากเป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก 

-ในประเทศจีนจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาขับผายลม



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง