Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระทงลาย (กระทุงลาย)

ชื่อท้องถิ่น: กระทงลาย กระทุงลาย โชด (ภาคกลาง)/ นางแตก (นครราชสีมา)/ มะแตก มะแตกเครือ มักแตก (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน)

ชื่อสามัญ: Black ipecac, Black oil plant, Black oil tree, Celastrus dependens, Climbing staff plant, Climbing staff tree, Intellect tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Celastrus paniculatus Willd.

ชื่อวงศ์: CELASTRACEAE

สกุล: Celastrus 

สปีชีส์: paniculatus

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระทงลาย thai-herbs.thdata.co | กระทงลาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระทงลาย เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 3-10 เมตร หรือขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา ผิวขรุขระเล็กน้อย ตามกิ่งจะมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป 


กระทงลาย thai-herbs.thdata.co | กระทงลาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปวงรี หรือเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนอยู่ประปราย มีเส้นแขนงใบประมาณ 5-9 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน และก้านใบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร


กระทงลาย thai-herbs.thdata.co | กระทงลาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวอมสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบและมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก มีลักษณะค่อนข้างกลม และมีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน กลางดอกเพศผู้มีเกสรอยู่ 5 ก้าน ยาวประมาณ 2.2.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรยาวกว่าเกสรเพศผู้และปลายแยกเป็น 3 แฉก


กระทงลาย thai-herbs.thdata.co | กระทงลาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กระทงลาย thai-herbs.thdata.co | กระทงลาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะค่อนข้างกลม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ มีลักษณะเป็นพู 3 พู ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แต่พอผลแก่เต็มที่แล้วเกสรที่ปลายก็จะหลุดออก ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มปนเหลืองและแตกออกเป็น 3 ซีก ในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด (พูละประมาณ 2 เมล็ด) เมล็ดกระทงลายมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีและมีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3.5-5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นในพื้นที่โล่ง ตามป่าผลัดใบ และป่าละเมาะ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย และนิวแคลิโดเนีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา ราก รสขมฝาด สรรพคุณ แก้ไอ แก้บิด แก้ปวดท้อง

*ราก รสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย)

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคบิด ใช้ใบนำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำดื่มช่วยรักษาโรคบิด หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาตำผสมกับตัวมดแดงและเกลือใช้ดื่มครั้งเดียวเพื่อแก้อาการบิดก็ได้ 

-อาการปวดท้อง ใช้รากตากแห้งต้มผสมกับข้าวเปลือก 9 เม็ด ใช้ดื่มแก้อาการปวดท้อง 

-อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ  ใช้เมล็ดรับประทานหรือใช้พอกรักษาโรคปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ

-ฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ใช้ใบนำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำดื่ม

-ขับปัสสาวะ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้) ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม 

-ถอนพิษฝิ่น ใช้ใบนำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำดื่ม

-สตรีอยู่ไฟ บำรุงน้ำนม ใช้เถานำมาต้มหรือฝนเป็นยารับประทานแทนการอยู่ไฟของสตรีหลังคลอดบุตรและอยู่ในเรือนไฟ อีกทั้งยังเป็นยาบำรุงน้ำนมด้วยอีกด้วย 

-ยอดอ่อน สามารถนำมาใช้แกงใส่ไข่มดแดงหรือใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก

-น้ำมันจากเมล็ด ใช้ตามไฟหรือเคลือบกระดาษกันน้ำซึม

-ผล สามารถนำไปสกัดน้ำมันทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้

-ในสมัยก่อนจะใช้เมล็ดแก่บีบเอาน้ำมันสำหรับใช้จุดตะเกียง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง