Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คัดลิ้น (ต้นลำไยป่า, ขี้อ้ายดง)

ชื่อท้องถิ่น: กัดลิ้น (ชลบุรี)/ แก้วลาว (จันทบุรี)/ ขี้อ้าย (ลำปาง)/ ลำไยป่า (อุตรดิตถ์)/ มะค่าลิ้น (อุตรดิตถ์, ปราจีนบุรี)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Walsura trichostemon Miq.

ชื่อวงศ์: MELIACEAE

สกุล: Walsura 

สปีชีส์: trichostemon

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นคัดลิ้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน และมีช่องอากาศเห็นชัดเจน


คัดลิ้น thai-herbs.thdata.co | คัดลิ้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยสามใบ ใบย่อยใบกลางใหญ่ที่สุด ใบย่อยคู่ข้างอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบประกอบยาว 5-10 เซนติเมตร ตรงส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยป่องเป็นข้อ ใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3.5-6.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบข้างละ 9-10 เส้น นูนเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบย่อยยาว 1-4.5 เซนติเมตร โคน และปลายก้านป่องเป็นข้อและทำมุมกับแผ่นใบย่อย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ดอกกัดลิ้นมีขนาดเล็ก ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร มีกลบเลี้ยง 5 กลีบมีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีขนสั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวนวล ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีความยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น มีเกสรตัวผู้ 10 อัน


คัดลิ้น thai-herbs.thdata.co | คัดลิ้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะกลม ส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกผลจะเป็นสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด 

เมล็ด มีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเยื่อนุ่ม ๆ หุ้มเมล็ดอยู่     

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นตามป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 ม. สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา

ถิ่นกำเนิด: พม่า ไทย

การกระจายพันธุ์: ลาว พม่า ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสร้อนจัดสรรพคุณ แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น ห้ามใช้กับบุคคลที่เป็นโรคเส้นประสาทพิการ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: 

-ผลสุก เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวรับประทานได้ รสหวาน ถ้ารับประทานมากทำให้ระคายลิ้น

-ผลสุก นำมาใช้ทำส้มตำร่วมกับผลไม้ที่มีรสฝาด เช่น ตะโกนา กล้วยดิบ เพื่อลดการระคาย

-เนื้อไม้ หรือลำต้น ใช้สำหรับการก่อสร้าง

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นฟืนที่ให้ความร้อนสูงได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง