Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โหระพา

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Sweet basil, Thai basil

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum L.

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล: Ocimum 

สปีชีส์: basilicum

ชื่อพ้อง: 

-Ocimum album L.

-Ocimum anisatum Benth.

-Ocimum barrelieri Roth

-Ocimum basilicum var. album (L.) Benth.

-Ocimum basilicum var. basilicum

-Ocimum basilicum var. densiflorum Benth.

-Ocimum basilicum var. difforme Benth.

-Ocimum basilicum var. glabratum Benth.

-Ocimum basilicum var. majus Benth.

-Ocimum basilicum var. purpurascens Benth.

-Ocimum basilicum var. thyrsiflorum (L.) Benth.

-Ocimum bullatum Lam.

-Ocimum caryophyllatum Roxb.

-Ocimum chevalieri Briq.

-Ocimum ciliare B.Heyne ex Hook.f.

-Ocimum ciliatum Hornem.

-Ocimum citrodorum Blanco

-Ocimum cochleatum Desf.

-Ocimum dentatum Moench

-Ocimum hispidum Lam.

-Ocimum integerrimum Willd.

-Ocimum lanceolatum Schumach. & Thonn.

-Ocimum laxum Vahl ex Benth.

-Ocimum majus Garsault 

-Ocimum medium Mill.

-Ocimum minus Garsault

-Ocimum nigrum Thouars ex Benth.

-Ocimum odorum Salisb. 

-Ocimum scabrum Wight ex Hook.f.

-Ocimum simile N.E.Br. Ocimum thyrsiflorum L.

-Ocimum urticifolium Benth

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นโหระพา เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว และรากฝอย ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แก่นด้านในเป็นไม้เนื้ออ่อน ผิวลำต้นอ่อนหรือกิ่งอ่อนมีสีม่วงแดง ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำของลำต้นจนแลดูเป็นทรงพุ่ม กิ่งแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน

ใบ เป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณข้อของกิ่ง ใบมีรูปไข่ คล้ายใบกะเพรา ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงแดงหรือเขียวอมม่วง กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร โคนใบมน ใบปลายแหลม แผ่นใบเรียบ และค่อนข้างเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบไม่มีขน ใบมีน้ำมันหอมระเหยทำให้มีกลิ่นหอม

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อออกดอกเรียงเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีประมาณ 6-8 ดอก ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง ภายในมีเกสรตัวผู้ 4 อัน

ผล เมล็ดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำตา มีสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดใน 1 ดอก จะมีประมาณ 3-4 เมล็ด เมล็ดมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำเมือกจะพองตัวออกคล้ายเมล็ดแมงลัก

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้ง 5 รสหอมร้อนปร่า สรรพคุณ แก้ปวดท้อง ขับผายลม

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โหระพาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยามหาจักรใหญ่” มีส่วนประกอบของโหระพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมซาง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสาร Methyl chavicol พบมากกว่า 90%, Pinene, β-Pinene, β-Bourbonene, β-Elemene, β-Cubebene, β-Caryophyllene, β-Copaene, β-Acoradiene, Camphor, Ocimene, Eucalyptol, Linalool, Benzaldehyde, Sabinene, Myrcene, Cis-Hex-3-Enyl Acetate, p-Cymene, Limonene, Eucalyptol, cis-Beta-Ocimene, cis-Linalool Oxide, trans-Linalool Oxide, trans-Myroxide, Neo-Allo-Ocimene, Menth-2-en-1-ol, Pinocarvone, Terpinen-4-ol, Endo Fenchyl Acetate, Nerol, Neral, Geraniol, Geranial, Carvacrol, Bicycloelemene, Exo-2-Hydroxycineole Acetate, Cubebene, Geranyl Acetate, Methyl Eugenol, Trans-Alpha-Bergamotene, Cadina-3,5-Diene, Epsilon-Muurolene, Germacrene, Bicylogermacrene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมจากลำไส้ ใช้ใบสดต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร 

-อาการปวดท้องในเด็ก ใช้ใบมาตำพอกหรือประคบแก้โรคไขข้ออักเสบและแผลอักเสบหากเด็กมีอาการปวดท้องให้นำใบโหระพา 20 ใบ ชงกับน้ำร้อนและนำมาผสมกับนมให้เด็กดื่ม ปลอดภัยกว่าทานยาขับลมที่ผสมแอลกอฮอลล์

-พิษคางคกสำหรับมารดาที่ให้น้ำบุตร ใช้ใบโหระพานำมาตำกับแมงดาตัวผู้ ใช้รับประทานและพอกประคบแก้พิษคางคกสำหรับมารดาที่ให้น้ำบุตร 

-แผลเรื้อรัง ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้พอก บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนองในเด็ก

-หวัด ขับเหงื่อ ใช้ใบและต้นสดประมาณ 6-10 กรัมนำมาต้มกับน้ำและดื่มแก้หวัด ขับเหงื่อ 

-บำรุงน้ำนม ใช้ใบโหระพามาต้มกับน้ำนมราชสีห์ รับประทานเพื่อเพิ่มปริมาณของน้ำนม 

-น้ำมันหอมระเหย เมื่อสกัดออกมาจะมีลักษณะเป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้องน้ำมันหอมระเหยช่วยการย่อยอาหารเนื้อสัตว์ คลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง