Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะปราง

ชื่อท้องถิ่น: มะผาง (ภาคเหนือ)/ บักปราง (ภาคอีสาน)/  ปราง (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Marian plum, Plum mango

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bouea macrophylla Griff.

ชื่อวงศ์: ANACARDIACEAE

สกุล: Bouea 

สปีชีส์: macrophylla

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะปราง เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-30 เมตร มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ  

ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยแทงออกจากิ่งย่อยในลักษณะตรงกันข้าม ออกดกหนาทึบ ใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร


มะปราง thai-herbs.thdata.co | มะปราง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร


มะปราง thai-herbs.thdata.co | มะปราง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะคล้ายรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม โดยมะปราง 1 ช่อ จะมีผลอยู่ประมาณ 1-15 ผล ผลดิบของมะปรางจะมีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองถึงเหลืองอมส้มและลักษณะของเปลือกจะนิ่ม เนื้อด้านในสีเหลืองแดงส้มออกแดงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มะปรางมีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด ในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดลักษณะคล้ายกับเมล็ดมะมะม่วง

สภาพนิเวศวิทยา: หมู่เกาะอันดามัน ไทย ไปจนถึงจาวากลาง

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์:  หมู่เกาะอันดามัน, จาวา, มาเลเซีย, สุมาตรา, ไทย

มะปราง thai-herbs.thdata.co | มะปราง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รากมะปรางหวาน รสจืดเย็น สรรพคุณ ถอนพิษไข้กลับซ้ำ  ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ตัวร้อน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด พบสาร ellagic acid anthocganin และ gallicacid 

-เปลือกต้น พบสาร santonin 

-เนื้อผล พบสาร β-carotene และ ascorbic acid 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปอด มีการศึกษาวิจัยสารสกัดของเมล็ดมะปรางที่สกัดด้วย คลอโรฟอร์ม อะซิโตไนไตร เอทานอล และน้ำ โดยนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปอดที่ไวและดื้อต่อยาดอกโซรูบิซิน พบว่าสารสกัดเมล็ดมะปรางทั้ง 4 ส่วนสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง K562, K562/ adr, GLC4 และ GLC4/adr ได้ โดยสารสกัดเมล็ดมะปรางที่สกัดด้วยเอทานอลออกฤทธิ์ดีที่สุด และมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ 50% (IC50) ต่อเชื้อ K562, K562/ adr, GLC4 และ GLC4/adr เท่ากับ 8.9 ± 2.6, 5.8 ± 2.2, 10.9 ± 2.2 และ 6.9 ± 1.0 มคก./มล. ตามลำดับ โดยฤทธิ์ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการชักนำการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส

การใช้ประโยชน์:

มะปราง thai-herbs.thdata.co | มะปราง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ผลดิบ ผลสุก มีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย บำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง เบาหวาน ความดัน เป็นต้น

-ผลดิบ ผลสุก มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

-ผลสุก ช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ส่วนผลดิบใช้จิ้มน้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรือนำไปใช้ดองและแช่อิ่ม

-มะปรางหวาน นำมาแปรรูปเป็นของหวาน เช่น มะปรางเชื่อม มะปรางกวน 

-มะปรางเปรี้ยว นำมาประกอบเป็นน้ำพริก หรือนำมาใส่ในแกงส้ม ดอง 

-เนื้อไม้ มีลักษณะแข็งจึงมีการนำมาใช้ทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

-มะปรางเป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนธาตุดิน หรือผู้ที่เกิดในราศีพฤษภ ราศีกันย์ ราศีมังกร และผู้เกิดตามธาตุนี้มักจะเสี่ยงกับโรคความอ้วน ความดัน เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ ซึ่งมะปรางถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง