Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ฆ้องสามย่าน

ชื่อท้องถิ่น: ถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน)/ คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ส้นเส้า มือตะเข้ ทองสามย่าน  ใบทาจีน

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalanchoe laciniata (L.) DC.

ชื่อวงศ์:  CRASSULACEAE

สกุล:  Kalanchoe 

สปีชีส์: laciniata

ชื่อพ้อง: 

-Cotyledon laciniata L.

-Kalanchoe angustifolia A.Rich.

-Kalanchoe biternata Wight ex Wall.

-Kalanchoe gloveri Cufod.

-Kalanchoe lentiginosa Cufod.

-Kalanchoe petitiaesii Rich. ex Jacques

-Kalanchoe rohlfsii Engl.

-Kalanchoe rosea A.Chev.

-Kalanchoe rosea C.B.Clarke

-Kalanchoe schweinfurthii Penz.

-Kalanchoe teretifolia Haw.

-Vereia laciniata (L.) Willd.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นฆ้องสามย่าน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม


ฆ้องสามย่าน thai-herbs.thdata.co | ฆ้องสามย่าน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว

ผล ป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอริเทรียถึงตะวันออกเฉียงเหนือของนามิเบีย

การกระจายพันธุ์: แองโกลา, ชาด, เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, เคนยา, มาลาวี, โมซัมบิก, นามิเบียร, วันดา, โซมาเลีย, ซูดาน, แทนซาเนีย, ยูกันดา, ซิมบับเว, จีนตะวันออกเฉียงใต้, สาธารณรัฐโดมินิกัน, ฟลอริดา, โมร็อกโก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ ตำพอกฝีถอนพิษ แก้ปวด รับประทานายในดับพิษร้อน ใบผสมน้ำ

-ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี 

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบ ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย

-ใบ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

-ใบ ใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล

-ใบ ใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง

-ใบ ใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง