Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กำแพงเจ็ดชั้น (ลุ่มนก)

ชื่อท้องถิ่น: ตะลุ่มนก (ราชุบรี)/ ตาไก้ ตาใกล้ (พิษณุโลก)/ ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง)/ กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์)/ น้ำนอง มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ)/ ขาวไก่ ตาไก่ ตากวาง เครือตากวาง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ หลุมนก (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacia chinensis L.

ชื่อวงศ์: CELASTRACEAE

สกุล: Salacia 

สปีชีส์: chinensis

ชื่อพ้อง: Salacia prinoides

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กำแพงเจ็ดชั้น thai-herbs.thdata.co | กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกำแพงเจ็ดชั้น เป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง มีความสูงของต้นประมาณ 2-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีสีเทานวล ด้านในเนื้อไม้มีวงปีเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นได้ชัดเจน เรียงซ้อนกันอยู่ประมาณ 7-9 ชั้น 


กำแพงเจ็ดชั้น thai-herbs.thdata.co | กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน สลับตั้งฉาก ลักษณะของแผ่นใบเป็นรูปวงรี หรือรูปวงรีกว้าง หรือรูปวงรีแกมใบหอก หรือรูปไข่ หรือรูปไข่หัวกลับ ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน ส่วนโคนสอบ ขอบเป็นหยักหยาบ ๆ แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมัน มีสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบ เนื้อใบกรอบ ผิวด้านบนและด้านล่างของใบค่อนข้างหนาและเป็นมัน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 4-10 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร


กำแพงเจ็ดชั้น thai-herbs.thdata.co | กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ แบบเป็นกระจุกหรือช่อแยกเป็นแขนงสั้น ๆ ตามซอกใบหรือกิ่งก้าน ดอกมีขนาดเล็ก มีสีเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง ดอกมีกลีบ 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมนและบิดเล็กน้อย แกนดอกนูนเป็นวงกลม มี 3-6 ดอกในแต่ละช่อ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้างหรือรูปรี มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนาดเล็กมาก ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายมนกลม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ที่ขอบเป็นชายครุย ส่วนจานฐานดอกเป็นรูปถ้วยลักษณะคล้ายถุง และมีปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามขอบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 3 ก้าน ติดบนขอบจานของฐานดอก ก้านเกสรสั้น มีอับเรณูเป็นรูปส้อม ปลายเกสรชนกันเป็นยอดแหลม และยังมีรังไข่ซ่อนอยู่ในจานฐานดอก 3 ช่อง มีออวุล 2 เม็ดในแต่ละช่อง ก้านเกสรตัวเมียสั้น และก้านดอกมีความยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร

ผล ลักษณะค่อนข้างกลม เป็นรูปกระสวยกว้างหรือรูปรี ผิวเกลี้ยง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้ม และภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะกลม มีขนาดใกล้เคียงกับผล 

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าชายทะเล ตามป่าดิบริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง และป่าเบญจพรรณ ที่มีความระดับความสูงถึง 600 เมตร 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเบื่อเมา สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิต ขับผายลม แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้เม็ดประดงผื่นคัน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ลำต้น พบสารกลุ่ม 1)สารกลุ่ม Friedelane-Type Triterpenes ได้แก่ maytenoic acid,  friedelane-3-on-29-ol, 15R-hydroxyfriedelan-3-one, wilfolic acid C, salaspermic acid, orthosphenic acid, salasones A, salasones B, salasones C 2)สารกลุ่ม Oleanane-Type Triterpenes ได้แก่ 3β, 22β-dihydroxyolean-12-en-29-oic acid,

maytenfolic acid, β-amyrin, 22α-hydroxy-3-oxoolean-12-en-29-oic acid,  β-amyrenone 3)สารกลุ่ม Ursane-Type Triterpenes ได้แก่ tripterygic acid A, demethylregelin 4)สารกลุ่ม Norfriedelane-Type Triterpenes ได้แก่ tingenone, tingenin B, regeol A, triptocalline A, salaquinone A, B5)สารกลุ่ม Eudesmane-Type Sesquiterpene ได้แก่ celahin C, salasol A

-ใบ1)สารไตรเทอร์ปีน  foliasalacins,  3b-hydroxy-20-oxo-30-norlupane, betulin, betulinic acid, friedelin, octandronol, oleanoic acid, erythrodiol, ursolic acid, uvaol, isoursenol 2)สารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol 3)สารไกลโคไซด์ foliachinenosides E, F, G, H, I,    foliasalaciosides J, K, L

-ราก    พบสา รกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol(7) สารกลุ่มโปรแอนโทไซยานิดิน ได้แก่  leucopelargonidin

-ผล     พบสารก ลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้น และรากกำแพงเจ็ดชั้น ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (alpha glucosidase) ในลำไส้เล็กทั้งสองชนิดในหนูทดลอง โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ซูเครส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ  36.5, 57.9 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ  และยับยั้งเอนไซม์มอลเตส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 87.3, 157.7 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงว่าลำต้นออกฤทธิ์ได้ดีกว่าราก  โดยพบว่าสารที่ออกฤทธิ์ดีคือ salacinol และ kotalano

-ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยเพิ่มการหลั่งอินซูลิน สารแมงจิเฟอริน (mangiferin) ที่แยกได้จากต้นกำแพงเจ็ดชั้น มีฤทธิ์ลดการเกิดออกซิเดชัน ลดการทำลายเซลล์ตับอ่อนจากอนุมูลอิสระ และปกป้องเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ในหนูที่เป็นเบาหวานได้ เมื่อให้สารแมงจิเฟอรินในขนาด 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวในหน่วยกิโลกรัม เป็นเวลา 30 วัน

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารแมงจิเฟอรินที่แยกได้จากรากของพืชจีนัส Salacia ชนิดอื่น คือ  Salacia reticulate  มีฤทธิ์ยับยั้งยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส 3 ชนิด ในหนูทดลอง ได้แก่ sucrase, isomaltase และ aldose reductase โดยมีค่าการยับยั้ง IC50 เท่ากับ  87, 216  and 1.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ

-ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มและเอทานอล จากรากกำแพงเจ็ดชั้น เมื่อป้อนให้หนูทดลอง ในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวในหน่วยกิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีนัยสำคัญในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ LDL VLDL สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี HDL ในหนูที่มีไขมันในเลือดสูงได้ เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับยา

-ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษ สารกลุ่มลิกแนนที่แยกได้จากใบ 2 ชนิด คือ eleutheroside E₂ และ 7R,8S –dihydrodehydrodi coniferyl alcohol 4-O-β-D-glucopyranoside มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับหนูในหลอดทดลอง จากการถูกทำลายด้วยสารเคมี D-galactosamine เมื่อให้สารในขนาด 100 ไมโครโมลาร์ โดยมีค่าการยับยั้งเท่ากับ 41.4% และ 45.5%  ตามลำดับ

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา สารสกัดใบด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus  epidermidis และเชื้อรา Cryptococcus neoformans โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 256 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร  และยับยั้งเชื้อรา Candida albicans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 512 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร   สารสกัดน้ำจากใบมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. epidermidis และ C. neoformans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 512  และ 1,024 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร  ตามลำดับ

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากลำต้นให้หนูแรทในขนาด 2000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ในหนูเพศผู้  จำนวน 25 ตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังผสมพันธุ์ และในหนูเพศเมียจำนวน 25 ตัว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังผสมพันธุ์  ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงวันที่ 20 ของการให้นม ไม่พบความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และการเจริญของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย

การใช้ประโยชน์:

-โรคเบาหวาน ใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นสัก รากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู และหญ้าชันกาดทั้งต้น รากมีรสเมาเบื่อฝาด ใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่ม ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์

-อาการปวดเมื่อย โดยใช้ลำต้นเข้ากับเครื่องยา ตากวง ตาไก่ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเจ่า และอ้อยดำ (ให้ใช้เฉพาะลำต้นของทุกต้นนำมาต้มน้ำดื่ม) หรือจะใช้ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำไปดองกับสุราก็ได้เช่นกัน

-อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ ผอมแห้งแรงน้อย ประดง ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก

-ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองสุราดื่ม ก็ช่วยดับพิษร้อนของโลหิตเช่นกัน

-ช่วยฟอกและขับระดูขาว มุตกิด ขับน้ำคาวปลาของสตรี ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก 

-บำรุงน้ำเหลือง รากใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่มช่วยบำรุงน้ำเหลือง

-ในภูมิภาคอินโดจีนใช้เข้ายาพื้นบ้านเพื่อช่วยลดกำหนัดหรือความต้องการทางเพศ 

-ในฟิลิปปินส์มีการใช้รากกำแพงเจ็ดชั้นเข้ากับยาแผนโบราณเพื่อช่วยบำบัดอาการปวดประจำเดือน

-ในกัมพูชาจะใช้เถาของต้นกำแพงเจ็ดชั้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคเบาหวาน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง