Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ข่อยหย็อง

ชื่อท้องถิ่น: ข่อยหิน เฮาสะท้อน เฮาะสะต้อน (เชียงใหม่)/ หัสสะท้อน (เชียงราย)/ ข่อยนั่ง (ลำปาง)/ ชาป่า (จันทบุรี)/ ข่อยป่า (ตราด)/ คันทรง คันเพชร (สุราษฎร์ธานี)/ ข่อยหยอง ผักกรูด (ประจวบคีรีขันธ์)/ ชาป่า (ศรีราชา)/ หัสสะท้อน (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)/ กะชึ่ม ข่อยเตี้ยข่อยหนาม

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rinorea virgata (Thwaites) Kuntze

ชื่อวงศ์: VIOLACEAE

สกุล: Rinorea 

สปีชีส์: virgata

ชื่อพ้อง: Scyphellandra pierrei H. Boissieu

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ข่อยหย็อง thai-herbs.thdata.co | ข่อยหย็อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นข่อยหยอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาปนสีน้ำตาลอ่อน หรือเป็นสีเทาค่อนข้างขาว มีหนามแหลมยาวออกตามลำต้นและกิ่งก้าน ไม่มียาง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปมและเป็นร่องเล็กน้อย

    ข่อยหย็อง thai-herbs.thdata.co | ข่อยหย็อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบมีลักษณะกลม ขนาดใบ 2 x 4 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.ส่วนริมขอบใบจักไม่เรียบและมีหนามแหลม ใบเหนียว และแข็ง ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก มีสีขาวและเหลือง

ผล มีลักษณะกลม มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีขาวหรือสีเทา เปลือกด้านในมียางสีขาว ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าบนเนินเขาทั่วทุกภาคของประเทศ  สำหรับประเทศไทยพบได้ที่ปากถ้ำวิมานจักรี จังหวัดสระบุรี และที่เขากระวาน จังหวัดจันทบุรี และตำบลทุ่งกร่าง

ถิ่นกำเนิด: แถบอินโดจีนและมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รากและเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับเมือกมันในลำไส้ แก้กระนัย ไตพิการ แก้คลื่นเหียนอาเจียน 

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: 

-ใบข่อยหยองมีรสเมาเฝื่อน ใช้ตำกับข้าวสารคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาถอนพิษยาเบื่อยาเมา หรืออาหารแสลง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง