Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กวาวเครือแดง

ชื่อท้องถิ่น: กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง  (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: Pueraria mirifica, White kwao krua

ชื่อวิทยาศาสตร์: Butea superba Roxb.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Butea 

สปีชีส์: superba

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:กวาวเครือแดง thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

กวาวเครือแดง thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นกวาวเครือแดง เป็นไม้เถาเลื้อยกึ่งยืนต้นขนาดใหญ่ อายุหลายปี อายุยิ่งมากเท่าไหร่เถาก็จะยิ่งใหญ่และกลายเป็นต้น แต่ยังส่งเถาเลื้อยไปพาดพันตามต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายมันสำปะหลัง ลักษณะยาวประมาณ 1-2 เมตร มีหลายขนาด เมื่อเอามีดผ่าออกจะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา เนื้อในจะมีสีชมพูอ่อน มีเส้นมาก


กวาวเครือแดง thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง ใบย่อยคู่ข้างเบี้ยว กว้างประมาณ 7-13 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-19 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม หรือตัด ใบบาง


กวาวเครือแดง thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ และตามปลายกิ่ง ส่วนฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกมีสีแสด ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่ มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน แยกเป็นอิสระ 1 อัน อีก 9 อัน โคนก้านเชื่อมติดกันเป็นหลอด

ผล ลักษณะเป็นฝักแบน ฝักอ่อนมีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ ที่ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมันคลุมแน่น ฝักโค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง ที่ระดับความสูง 100-300 เมตร

ถิ่นกำเนิด: ไทย

การกระจายพันธุ์: ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-หัว พบสาร medicarpin (carpin 3-hydroxy-9-methoxypterocarpan);  สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ butenin; formononetin (7-hydroxy-4_-methoxy-isoflavone); prunetin (7,4_-dimethoxyisoflavone); 5,4_-dihydroxy-7-methoxy-isoflavone, 7-hydroxy-6,4_-dimethoxyisoflavone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ การทดลองป้อนกวาวเครือแดงในรูปผงป่นละลายน้ำ และสารสกัดเอทานอล ให้แก่หนูแรทเพศผู้ ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 5 มก./มล. พบว่าหนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำเข้มข้น 0.5 และ 5 มก./มล. เป็นเวลา 21 วัน ทำให้น้ำหนักตัวของหนูแรท และปริมาณอสุจิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหนูแรทที่ได้รับสารสกัดเอทานอลเข้มข้น 5 มก./มล. 21 วัน มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ต่อมลูกหมาก และความยาวขององคชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หนูแรทมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น เมื่อศึกษาต่อไปถึงระยะ 42 วัน พบว่าหนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำ มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ต่อมลูกหมาก และความยาวขององคชาติ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น แต่หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอล กลับมีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ลดลง การศึกษาผลของกวาวเครือแดงในระยะยาว และในปริมาณสารสกัดที่มากขึ้น พบว่าทำให้ระดับฮอร์โมน testosterone ของหนูแรทลดลง และปริมาณเอนไซม์ตับสูงขึ้น ดังนั้นการรับประทานกวาวเครือแดงมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ (พิชานันท์ ลีแก้ว, 2553)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังในงานวิจัยกวาวเครือแดง กับหนูวิสตาร์เพศผู้โดยป้อนผงกวาวเครือแดงในขนาด 10 , 100 , 150 และ 200  มก./กก/วัน  เป็นเวลา 90 วัน  พบว่าหนูที่รับในขนาด   150  มก./กก/วัน  น้ำหนักของม้ามเพิ่มขึ้น ระดับเอนไซม์ alkalinephosphatase (ALP) และ aspartate aminotransferase (AST) เพิ่มขึ้น หนูที่ได้รับขนาด 200 มก./กก/วัน พบว่ามีเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ลดลง ส่วนเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil ระดับ serum creatinine  ลดลงระดับฮอร์โมน testosterone ลดลง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ในขนาดสูงเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆได้

-การศึกษาพิษเรื้อรังของกวาวเครือแดง ได้มีการทดลองในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่าการให้ผงกวาวเครือแดงขนาด 10 มก./กก. ต่อวัน พบว่าไม่มีพิษต่อค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน ส่วนหนูทดลองที่ได้รับในปริมาณมากกว่า 100 มก./กก. ต่อวัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะในหนูทดลองที่ได้รับผงกวาวเครือขนาดสูงสุด (1,000 มก./กก. ต่อวัน) พบว่ามีระดับเอนไซม์ Aspartate aminotransferase, Alanine aminotransferase, Alkaline phosphatase และ bilirubin ซึ่งแสดงถึงการทำงานของตับเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ และจากการตรวจสอบทางจุลพยาธิก็พบว่าเกิดความผิดปกติในตับหนูอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองจึงพบว่าการให้ผงกวาวเครือแดงในขนาด 250 มก./กก. ต่อวันหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายในของหนูโดยเฉพาะที่ตับ

การใช้ประโยชน์:

-หัว ช่วยบำรุงกำหนัดหรือเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิ มีฤทธิ์เพิ่มความแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับฤทธิ์ของซิลเดนาฟิล ซิเตรต (Sidenal Citrate) ของยาไวอากรา (Viagra) 

-หัว (ข้อมูลจากผู้จำหน่ายสมุนไพรกวาวเครือแดงสำเร็จรูป) ช่วย ปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ลดความอ้วน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดอุดตัน จึงช่วยรักษาโรคหัวใจบางชนิดได้ เพราะไปช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยทำให้ผมดกดำ ทำให้ผมขาวกลับมาเปลี่ยนเป็นสีเทาและสีดำตามลำดับ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมในการสร้างกระดูก ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต ป้องกันมะเร็งในต่อมลูกหมาก และยังช่วยลดเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าหัวกวาวเครือแดงมีสาร Flavonoids (วิตามินพี) ในปริมาณสูง ซึ่งมีประโยชน์ในด้านเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมการทำงานของหลอดเลือดในร่างกาย และช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง

-หัว สามารถแปรรูปเป็นยาสมุนไพรอย่างหลากหลาย เช่น ครีมกวาวเครือแดง, สบู่กวาวเครือแดง, ยากวาวเครือแดง, เจลกวาวเครือแดง, กวาวเครือแดงแคปซูล, ครีมนวดกวาวเครือแดง เป็นต้น





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง