Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เข็มแดง

ชื่อท้องถิ่น: เงาะ (สุราษฎร์)/ เข็มแดง (ยะลา)/ ตุโดปุโยบูเก๊ะ (มลายู)/ จะปูโย (มะละยู-นรา) เข็มดอกแดง

ชื่อสามัญ: Glossy Ixora

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ixora lobbii Loudon

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Ixora 

สปีชีส์: lobbii 

ชื่อพ้อง: 

-Ixora lobbii var. angustifolia King & Gamble

-Pavetta lobbii Teijsm. & Binn

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นเข็มแดง เป็นไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลา ความสูงประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไป ลำต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตร ลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน ถ้ามีอายุหลายปีอาจมีขนาดของต้นเท่ากับต้นมะม่วง


เข็มแดง thai-herbs.thdata.co | เข็มแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกถึงรูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายใบส่วนมากแหลม อาจมีติ่งสั้น โคนใบรูปติ่งหู หรือรูปหัวใจ ใบคู่บนหุ้มข้อ ใบล่างก้านใบยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ทั้งนี้ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์


เข็มแดง thai-herbs.thdata.co | เข็มแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่ง ดอกรูปเข็ม สีแดงอมส้ม โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาวประมาณ 2.5-2.8 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปรีปลายแหลม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 4 เกสร เกสรเพศเมีย 1 เกสร ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาวมาก แต่จะไม่มีกลิ่นหอม

ราก  มีลักษณะตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลายจะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป และจะมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้มแตกแขนงออกเป็นทอด ๆ ได้อีกเรื่อย ๆ เป็นจำนวนมาก


เข็มแดง thai-herbs.thdata.co | เข็มแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะกลมเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ อ่อนนิ่ม

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นเองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีนถึงมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: เกาะบอร์เนียว กัมพูชา แหลมมลายู สุมาตราแประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสหวานเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงธาตุ แก้บวม แก้เจ็บตัว

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-โรคพยาธิ ใช้ใบ รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ 

-โรคตา ใช้ดอก รสหวานเย็น เป็นยาบำรุงรักษาตา

-นิยมปลูกเพื่อประดับดอกและตกแต่งสถานที่ให้สวยงามทั้งนี้เพราะเข็มแดงออกดอกตลอดปีดอกเข็ม 

-คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคมดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก ส่วนตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง