Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ถั่วพู

ชื่อท้องถิ่น: ถั่วพู (ถาคอีสาน)/ ถั่วปู (ภาคเหนือ)/ ถั่วพูใหญ่ ถั่วพูตะขาบ ถั่วพูจีน (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Winged bean, Goa bean, Asparagus pea, Four-angled bean, Winged pea

ชื่อวิทยาศาสตร์: Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Psophocarpus

สปีชีส์: tetragonolobus

ชื่อพ้อง: 

-Botor tetragonoloba (L.) Kuntze

-Dolichos ovatus Graham

-Dolichos tetragonolobus L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ถั่วพู thai-herbs.thdata.co | ถั่วพู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นถั่วพู เป็นไม้เถาเลื้อย ไม่มีเนื้อไม้แต่มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นพืชที่มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง เถาแข็งและเหนียว มีลำต้นสีเขียวและเขียวปนม่วง คล้ายกับถั่วฝักยาว ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนของรากเป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก 


ถั่วพู thai-herbs.thdata.co | ถั่วพู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 3 ใบ โคนใบกลมและเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ และรูปใบหอก


ถั่วพู thai-herbs.thdata.co | ถั่วพู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเป็นแบบช่อกระจะ ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกอยู่ประมาณ 3-12 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันลักษณะคล้ายรูประฆัง ปลายเป็น 5 กลีบ กลีบเป็นซี่สั้น ๆ กลีบดอกมีสีระหว่างขาวและสีม่วงแดง สีน้ำเงิน สีแดง ดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 ก้าน แบ่งเป็น 2 มัด มัดหนึ่งมี 9 ก้าน ส่วนอีกมัดมี 1 ก้าน


ถั่วพู thai-herbs.thdata.co | ถั่วพู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนานถึงรูปแถบ มีหน้าตัดเป็นรูปสีเหลี่ยม และแต่ละมุมของฝักจะมีปีกตามยาว ปีกมีลักษณะเป็นหยักแบบจักคล้ายฟันเลื่อย มีสีเขียว มีรูปร่างเป็นฝักสี่เหลี่ยม มีปีก 4 ปีก ฝักมีความยาวประมาณ 11.2-29.9 เซนติเมตร สีของฝักมีทั้งสีเขียว สีม่วง และสีเหลือง ส่วนผิวของฝักจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบผิวเรียบและแบบผิวหยาบมาก ในฝักถั่วพูจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8-20 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงที่ 2,300 เมตร

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกา

การกระจายพันธุ์: -

ถั่วพู thai-herbs.thdata.co | ถั่วพู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสหวานชุ่ม สรรพคุณ ชูกำลัง บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย บำรุงดวงใจ ให้ชุ่มชื่น

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ใช้หัวใต้ดิน นำมาเผาหรือนึ่ง รับประทานเป็นประจำ หรืออาจนำหัวใต้ดินนำมาล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กพอประมาณตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาคั่วไฟให้หอมเหลือง ใช้ชงเป็นชาดื่มครั้งละ 2-3 ชิ้น เหมาะสำหรับคนป่วยหนักและมีอาการอ่อนเพลีย

-ช่วยบำรุงร่างกาย ใช้เมล็ดแก่ตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง นำมาละลายกับน้ำครั้งละ 5-6 กรัม ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 เวลา

-ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน การรับประทานถั่วพูเป็นประจำจะช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี เพราะถั่วพูมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง อีกทั้งยังมีสารขัดขวางต่ำ จึงช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อรับประทานถั่วพูแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ถึง 39.1-51.9% เลยทีเดียว

-ฝัก (ถั่วพู) อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ ซี อี และยังเป็นผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง

-เมล็ดแก่ มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้ และยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยในน้ำมันถั่วพูจะมีกรดโอเลอิก 39%, กรดไลโนเลอิก 27%, กรดบีเฮนิก, และกรดพารินาริก ซึ่งไม่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด นอกจากนี้ในน้ำมันถั่วพูยังมีสารโทโคฟีรอลในปริมาณที่สูงมากอีกด้วย โดยเป็นสารที่ทำให้น้ำมันมีรสหวานและอยู่ตัว มีประโยชน์ในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี

-ฝักอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดจิ้มรับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำพริกปลาร้า หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัดกับน้ำมันหอย แกงเผ็ด ลวกราดน้ำกะทิ หรือทำเป็นยำถั่วพู นำมาหั่นเป็นเครื่องเคียงขนมจีน ใช้ผสมในทอดมันเช่นเดียวกับถั่วฝักยาว 

-ภาคใต้นิยมกินยอดอ่อน ฝักอ่อน และดอกอ่อนเป็นผักสด หรือนำไปต้ม นำไปผัด ใส่แกงส้ม ทำแกงไตปลา เป็นต้น

-ชาวญี่ปุ่นใช้ฝักอ่อนนำมาทอดเป็นเทมปุระ

-ในอินเดียและศรีลังกาก็นิยมนำฝักอ่อนมาดองไว้รับประทาน นอกจากนี้ยังใช้ปรุงกับอาหารและเครื่องเทศรสจัดได้ทุกชนิด

-นิยมปลูกถั่วพูไว้ตามริมรั้วหรือในสวนหลังบ้าน หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้เป็นผักสวนครัว โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน 

-ช่วยบำรุงดิน เนื่องจากปมรากของต้นถัวพูเป็นที่อาศัยของเชื้อไรโซเบียมที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ดังนั้นการปลูกถั่วพูจึงเป็นการเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดินและเมื่อไถกลบต้นถั่วพูหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้วยังกลายเป็นปุ๋ยพืชสดได้อีกด้วย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง