Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ thai-herbs.thdata.co | กุ่มน้ำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กุ่ม (เลย)/ อำเภอ (สุพรรณบุรี)/ ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Sacred garlic pear/ Crataeva

ชื่อวิทยาศาสตร์: Crateva religiosa G.Forst.

ชื่อวงศ์: CAPPARACEAE-CAPPARIDACEAE

สกุล: Crateva

สปีชีส์: religiosa

ชื่อพ้อง:

-Crateva brownii Korth. ex Miq.

-Crateva hansemannii K.Schum.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นกุ่มน้ำ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีเทา จะผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อออก

      ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความประมาณ 4-14 เซนติเมตร หูใบเล็ก ร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร ปลายค่อย ๆ เรียวแหลม มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย ใบย่อยไม่มีก้าน หรือถ้ามีก็ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ใบกุ่มน้ำมีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9-20 เส้น และอาจมีถึงข้างละ 22 เส้น เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง ผิวใบบางและนิ่ม หลังใบสีเขียวเป็นมัน ใต้ท้องใบเรียบ เมื่อใบแห้งจะมีสีค่อนข้างแดง

      ดอก เป็นช่อแบบกระจะถี่ ออกตามยอด หนึ่งช่อติดดอก 20-60 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ บางกลมยาว 2-3 เซนติเมตร แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนก้านชูอับเรณูจะมีความประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร และอับเรณูจะยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร ดอกมีรังไข่เป็นรูปรีหรือรูปทรงกระบอก มีอยู่ 1 ช่อง

กุ่มน้ำ thai-herbs.thdata.co | กุ่มน้ำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ผล เป็นรูปกลมรี มีเปลือกหนา ผลอ่อนมีสะเก็ดสีเหลืองอมเทามีสะเก็ด เมื่อสุกจะเป็นสีเทา ผลแก่ผิวจะเรียบ ผลกว้างประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ก้านหนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ด้านในผลมีเมล็ดมาก

      เมล็ด มีขนาดกว้างและยาวเท่า ๆ กัน คือประมาณ 6-9 มิลลิเมตร และเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีหลายเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ตามริมแม่น้ำ ข้างลำธาร หรือที่ชื้นแฉะ ในป่าเบญจพรรณ[2] หรือพบได้ตามริมน้ำลำธารในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบที่มีความสูงระดับ 30-700

ถิ่นกำเนิด: เกาะสุมาตรา มาเลเซีย และเกาะบอร์เนียว

การกระจายพันธุ์: อินเดีย จนถึงภูมิภาคอินโดจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย บำรุงธาตุ ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้อัมพาต แก้โรคไขข้ออักเสบ แก้สะอึก ขับผายลม แก้ลมขึ้นเบื้องสูง

      *ดอก รสเย็น แก้เจ็บในตา แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เจ็บคอ

      *ผล รสขม แก้ไข้

      *เปลือกต้น รสขมหอม แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย เป็นยาบำรุง ขับน้ำดี ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้อาเจียน แก้ลมทำให้เรอ

      *เปลือกกุ่มน้ำ ผสมรวมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม แก้สะอึก กระพี้ รสร้อน แก้ริดสีดวงทวาร

      *แก่น รสร้อน แก้นิ่ว ราก แช่น้ำกิน บำรุงธาตุ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้กุ่มน้ำในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฎตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเปลือกต้นกุ่มน้ำร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อนและช่อดอก นำมาดองรับประทานเป็นผักได้ ผักกุ่มมีกรดไฮดรอไซยานิคซึ่งเป็นสารพิษ จึงต้องนำไปทำให้สุกหรือดองก่อนรับประทาน

-ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานได้ ด้วยการนำมาดองน้ำเกลือตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วค่อยนำไปปรุงเป็นอาหาร ด้วยวิธีการแกงหรือการผัดก็ได้หรือจะใช้ดอกและใบอ่อนนำไปดองหรือต้ม ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือจะไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำอ่อม คล้ายกับแกงขี้เหล็กก็ได้

-เนื่องจากใบและดอกกุ่มน้ำมีความสวย จึงสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยเหมาะสำหรับบ้านเรือนที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี

-ต้นกุ่มน้ำเป็นไม้โตเร็ว มีรากลึกและแผ่กว้าง เหมาะสำหรับปลูกไว้ตามริมตลิ่งชายน้ำในแนวสูงกว่าระดับน้ำปกติในช่วงฤดูฝน หรือปลูกไว้ตามริมห้วยในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสายหลัก จะสามารถช่วยลดการกัดเซาะริมตลิ่งได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อน้ำท่วมขังอีกด้วย

-นอกจากปลูกต้นกุ่มไว้รับประทานเป็นอาหารและใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ต้นกุ่มยังจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันในอดีต ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวมีฐานะ มีเงินเป็นกลุ่มเป็นก้อนเหมือนชื่อของต้นกุ่ม

-ไม้กุ่มน้ำเป็นไม้เนื้ออ่อน จึงสามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องดนตรี เป็นต้น

-ลำต้นกุ่มน้ำสามารถนำมาใช้ทำเป็นไหข้าวได้ (คนเมือง)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง