Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ยั้ง

ชื่อท้องถิ่น: เขียงน้อย (นครราชสีมา)/ กังกะว๊ะ ฮ่อกะอ๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ เครือเดา เดาหลวง (ภาคเหนือ)/ เถาวัลย์ยั้ง (ภาคกลาง)/ หนามเปา (เงี้ยว-ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Smilax ovalifolia Roxb.

ชื่อวงศ์: SMILACACEAE

สกุล:Smilax 

สปีชีส์: ovalifolia 

ชื่อพ้อง: 

-Smilax columnifera Buch.-Ham. ex D.Don

-Smilax grandifolia Voigt

-Smilax grandis Wall. ex Voigt

-Smilax macrophylla Roxb.

-Smilax retusa Roxb.

-Smilax roxburghii Kunth

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นยั้ง เป็นไม้เถาเลื้อยลงหัว เถายาวประมาณ 1.5-10 เมตร ลำต้นขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มีหนามรอบเถา เถาสีน้ำตาล ยอดอ่อนสีน้ำตาล


ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปเกือบกลม กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-22 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปลิ้มหรือรูปหัวใจ ขอบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร โคนก้านแผ่เป็นกาบยาวประมาณ 1-1.3 เซนติเมตร มีมือจับ ยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร


ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อซี่ร่ม ยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร ดอกย่อย 12-40 ดอก ก้านช่อดอกหนาแข็ง ยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้ กลีบรวม 6 อัน รูปขอบขนาน ปลายมน ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 6 อัน ยื่นยาว ดอกเพศเมีย กลีบรวม 6 กลีบ รูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้เป็นหมัน 3 อัน รังไข่รูปไข่ ยอดเกสรเพศเมียแยก 3 แฉก


ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะผลสดรูปกลม ถึงรูปรี ขนาดประมาณ 9-12 มิลลิเมตร มี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงไหหลำ

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังคลาเทศ, กัมพูชา, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, ลาว, เมียนมาร์, เนปาล, หมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก, ปากีสถาน

ยั้ง thai-herbs.thdata.co | ยั้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสหวานมัน  สรรพคุณ ดับพิษ แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค น้ำเหลืองเสีย เข้าข้อ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-คนเมือง ใช้หัวใต้ดิน ตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มร่วมกับแก่นฝาง เป็นยา บำรุงกำลังหรือนำมาต้มเป็นยาห่มให้สตรีหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

-ชาวเมี่ยนมและคนเมือง ใช้ยอดอ่อน ประกอบอาหารโดยการผัดผลสุก รับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย

-ชาวเมี่ยน ใช้รากต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลังทำให้เจริญอาหาร

-ชาวปะหล่อง ใช้ยอดอ่อน รับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย

-ชาวขมุ ใช้หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง