Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: น้ำเต้า

ชื่อท้องถิ่น: มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ)/ คิลูส่า คูลูส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ลุ้นออก แผละลุนอ้อก (ลั้วะ)/ Dudhi Lauki (อินเดีย)/ หมากน้ำ น้ำโต่น (ภาคอีสาน)

ชื่อสามัญ: Bottle gourd, Calabash gourd, Flowered gourd, White flowered gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagenaria siceraria (Molina) Standl.

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

สกุล: Lagenaria 

สปีชีส์: siceraria

ชื่อพ้อง: 

-Cucumis bicirrha J.R.Forst. ex Guill.

-Cucumis lagenaria (L.) Dumort.

-Cucumis mairei H.Lév.

-Cucurbita ciceraria Molina

-Cucurbita idololatrica Willd.

-Cucurbita lagenaria L.

-Cucurbita leucantha Duchesne

-Cucurbita longa W.M.Fletcher

-Cucurbita pyriformis M.Roem.

-Cucurbita siceraria Molina

-Cucurbita vittata Blume

-Lagenaria bicornuta Chakrav.

-Lagenaria cochinchinensis M.Roem.

-Lagenaria hispida Ser.

-Lagenaria idolatrica (Willd.) Ser.

-Lagenaria lagenaria (L.) Cockerell

-Lagenaria leucantha Rusby

-Lagenaria microcarpa Naudin

-Lagenaria siceraria f. depressa (Ser.) M.Hiroe

-Lagenaria siceraria var. laevisperma Millán

-Lagenaria siceraria f. microcarpa (Naudin) M.Hiroe

-Lagenaria vittata Ser.

-Lagenaria vulgaris Ser.

-Lagenaria vulgaris var. clavata Ser.

-Lagenaria vulgaris var. gourda Ser.

-Pepo lagenarius Moench

-Trochomeria rehmannii Cogn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นน้ำเต้า เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก อายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว 


น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉก 5-7 แฉก โคนใบเว้าเข้าถึงเส้นกลางใบ เส้นใบด้านล่างนูนเด่นชัด ใบมีขนตลอดทั้งใบและก้านใบ ก้านใบยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร มีต่อมเทียม 2 ต่อม ซึ่งอยู่ตรงรอยต่อระหว่างก้านใบกับแผ่นใบ


น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาว โดยดอกเพศผู้ (รูปที่ 2) ก้านดอกจะยาวประมาณ 5-25 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาวมี 5 กลีบไม่ติดกัน ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีขน มีลักษณะบางและย่น มีเกสร 3 ก้าน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูเป็นสีขาวอยู่ชิดกัน ส่วนดอกเพศเมีย (รูปที่ 3) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับดอกเพศผู้ แต่ต่างกันที่จะมีผลเล็ก ๆ ติดอยู่ที่โคนดอก โดยก้านดอกจะสั้นและแข็งแรง ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร และก้านจะยาวขึ้นเมื่อรังไข่เจริญเติบโตไปเป็นผล ดอกไม่มีเกสรเพศผู้เทียม มีรังไข่ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร มีขนสีขาว ท่อรังไข่สั้น ปลายแยกเป็นแฉกหนา ๆ 3 แฉก


น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเดี่ยว มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เช่น ทรงกลม ทรงกลมซ้อน ทรงกลมหัวจุก ทรงยาว ทรงแบน เป็นรูปกระบอง หรือเป็นรูปขวด มีความยาวตั้งแต่ 10-100 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปแล้วผลจะมีลักษณะกลมโต มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร คอดกิ่วบริเวณยอด โคนขั้วคอดคดงอหรือขดเป็นวงผิวผลเกลี้ยง เรียบ และเนียน เปลือกผลแข็งและทนทาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ก้านผลยาว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก วางตัวแนวรัศมี เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงแบนป้านคล้ายเล็บมือ ส่วนปลายมีติ่งยื่น 2 ข้าง เป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวของเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกาเขตร้อนตะวันตกไปจนถึงเอธิโอเปียและแทนซาเนีย

การกระจายพันธุ์: -

น้ำเต้า thai-herbs.thdata.co | น้ำเต้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสจืดเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน แก้ไข

*ผล รสเย็น สรรพคุณ บำรุงน้ำนม ขับปัสสาวะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสาร ได้แก่ apigenin-4, 7-O-diglucosyl-6-C-glucoside โดยสารนี้จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด bryonolic acid, campesterol, cucurbitacin B, D, E, G, H, fixed oil, kaempferol-3-monoglycoside, linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, palmitoleic acid, rutin, saponarin, sitosterol, stachyose, stearic acid, vitexin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยัยับยั้งการเพิ่มปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ งานวิจัยจากประเทศอินเดียเมื่อปี พ.ศ.2549 พบว่าสารสกัดจากผลน้ำเต้าด้วยคลอโรฟอร์มและแอลกอฮอล์ในขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักของหนู สามารถช่วยยับยั้งการเพิ่มปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดีได้ และยังช่วยเพิ่มปริมาณของไขมันชนิดดีในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้มีปริมาณไขมันสูงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณการกินสารสกัด และยังช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดีในหนูทดลองที่มีปริมาณไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติได้ และจากการตรวจสอบพฤกษเคมีของน้ำเต้า พบว่ามีสาร flavonoids, sterols, cucurbitacin, saponins, polyphenolics, protein และ carbohydrates โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับไขมันในเลือด

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง สารในกลุ่ม triterpenoids จากน้ำเต้า ชนิด D:C-friedooleane-type triterpenes แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ human hepatoma SK-Hep 1 โดยมีสาร etoposide เป็น positive control ซึ่งมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ 50% เท่ากับ 2.2 มคก./มล. และหลังจากการนำสารในกลุ่ม triterpenoids ดังกล่าวมาแยกหาสารสำคัญ พบว่ามีสาร 3 beta-O-(E)-coumaroyl-D:C-friedooleana-7,9(11)-dien-29-oic acid และสาร 20-epibryonolic acid ซึ่งแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ human hepatoma SK-Hep 1 อย่างชัดเจน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.8 และ 2.1 มคก./มล. ตามลำดับ จึงเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากใบน้ำเต้าแห้งด้วย 60% เอทานอล ด้วยวิธีการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดพิษ หากฉีดสารสกัดส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นน้ำเต้าด้วย 50% เอทานอลเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% มีค่าเท่ากับ 176 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดฝีในเด็ก ใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ นำมาผสมกับของต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน

-ใบอ่อน ยอดอ่อนใช้ทำแกงส้มกับปลาเนื้ออ่อนหรือกุ้งสด 

-ผล มีฤทธิ์เป็นยาเย็นและชื้น มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและผู้ชราภาพ

-ผล ใช้รับประทานได้ มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยอาจนำผลมาต้มหรือนึ่งรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว หรืออาจทำไปทำแกง แกงเลียง แกงอ่อม แกงส้ม แกงหน่อไม้ แกงเผ็ดน้ำเต้าอ่อน ผัดพริก ฟักน้ำเต้าเห็ดหอม ผัดน้ำมัน น้ำเต้าผัดกับหมูใส่ไข่ หรือต้มเป็นผักจิ้ม ฯลฯ 

-ผลแห้ง สามารถนำมาใช้ทำเป็นภาชนะได้ เช่น กระบวยตักน้ำ ขันน้ำ ช้อน ทัพพี ทำขวดบรรจุสิ่งของหรือเมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น

-ในประเทศจีนมีการรับประทานน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวาน และใช้เมล็ดนำไปต้มกับเกลือรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร

-ชาวจีนนิยมแขวนน้ำเต้าไว้ในบ้านเกือบทุกครัวเรือน ด้วยเชื่อว่าจะทำให้บ้านเกิดความร่มเย็น

-ชาวอินเดียจะใช้ผลของน้ำเต้าในการประกอบอาหารให้ผู้ป่วยเบาหวานและผู้เป็นโรคความดันโลหิตรับประทาน 

-ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาจะรับประทานใบน้ำเต้าเป็นผักชนิดหนึ่ง หรือใช้ใส่ในซุปข้าวโพด หรือดองสดไว้รับประทาน ส่วนใบแห้งเก็บไว้เป็นเสบียงเมื่อยามจำเป็น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง