Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เจตมูลเพลิงแดง (ไฟใต้ดิน)

ชื่อท้องถิ่น: ปิดปีแดง (เลย)/ ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ)/ ไฟใต้ดิน (ภาคใต้)/ ตอชูกวอ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ คุ้ยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ อุบ๊ะกูจ๊ะ (มลายู- ปัตตานี)/ จื่อเสี่ยฮวา หงฮวาตัน (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Rose-colored leadwort, Rosy leadwort, Fire plant, Official leadwort, Indian leadwort

ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumbago indica L.

ชื่อวงศ์: PLUMBAGINACEAE

สกุล:  Plumbago

สปีชีส์:  indica

ชื่อพ้อง: Plumbago rosea L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เจตมูลเพลิงแดง thai-herbs.thdata.co | เจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขารอบต้นมาก กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนเป็นสีแดง ส่วนลำต้นมีลักษณะกลมเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวปนแดงและมีสีแดงบริเวณข้อ 


เจตมูลเพลิงแดง thai-herbs.thdata.co | เจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว แผ่นใบมักบิด ส่วนก้านใบและแกนกลางใบอ่อนเป็นสีแดง


เจตมูลเพลิงแดง thai-herbs.thdata.co | เจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ช่อดอกยาวประมาณ 20-90 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 10-15 ดอก โดยดอกจะออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกบางเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมและมีติ่งหนามตอนปลาย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีใบประดับและใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านติดตรงข้ามกลีบดอก มีอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดและมีขนยาวที่โคน ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เป็นหลอดเล็กยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และมีขนเหนียว ๆ ปกคลุม 

ผล ลักษณะออกผลเป็นฝักกลม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกตามร่องได้

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสร้อน สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ แก้ท้องอืด เฟ้อ เสียด แน่นหน้าอก ทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น ถ้ารับประทานมาก ทำให้แท้งลูก บดเป็นผงปิดพอกฝี ทำให้เกิดความร้อน เกลื่อนฝีได้ แก้ริดสีดวงทวาร

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดตรีสาร” ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลูสรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน

2.“พิกัดปิตตะผล” ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง รากกะเพรา ผักแพวแดง (บอระเพ็ด)สรรพคุณ แก้จตุกาลเตโช บำรุงธาตุ แก้ลม แก้เส้นประสาทพิการ ปวดเมื่อยตามข้อ

3.“พิกัดจตุกาลธาตุ” ได้แก่ หัวว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากนมสวรรค์ สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง ขับลมในท้อง 

4.“พิกัดเบญจกูล” ได้แก่ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เจตมูลเพลิงแดง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) ตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ “ยามันทธาตุ” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ “ยาอภัยสาลี” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำบัดโรคลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่น “ยาธรณีสันฑะฆาต” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้เถาดาน ท้องผูก

3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาไฟประลัยกัลป์” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ “ยาไฟห้ากอง” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดประจาเดือน ช่วยให้ประจาเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด “ยาสตรีหลังคลอด” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลา บารุงเลือด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังคลอด 

4.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ  ปรากฏตำรับ “ยาปราบชมพูทวีป” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ 

5.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต

6.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย  “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา “ยาธรณีสันฑะฆาต” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้กษัยเส้น “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ

7.ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ ปรากฏตำรับ “ยาตรีพิกัด” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ปรับสมดุลธาตุ  “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้นพบสาร Plumbagin, D-Naphthaquinone 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก โดยพบว่าสารสกัดที่ได้จากน้ำต้มของรากเจตมูลเพลิงแดง เมื่อนำมาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกร่างกายของหนู พบว่ามีฤทธิ์ในการกระต้นให้มดลูกบีบตัว หากสตรีมีครรภ์รับประทาน จะมีผลทำให้มดลูกมีการบีบตัว

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต  สาร Plumbagin มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเต้นของหัวใจ และมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดเส้นใหญ่ของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตลดลง

-ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ รากมีสาร Plumbagin ที่นอกจากจะมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้แล้ว ยังมีฤทธิ์ในการบีบลำไส้ช่วยทำให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น จึงช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้ แต่อาจทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารและอาจเป็นพิษได้

-ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย สาร Plumbagin มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ ต้านมาลาเรีย ต้านโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ต้านความสามารถในการสืบพันธุ์ ต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้และเซลล์มะเร็งทุกชนิด

-ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง Sugie และคณะ (1998) ได้พบว่า สาร Napthoquinone สามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ของหนูที่เกิดจากสาร Azoxymethane (AOM) ได้

-ฤทธิ์ต่อต้านยีสต์และแบคทีเรีย มีการนำ Napthoquinone ธรรมชาติ ที่แยกได้จากรากของเจตมูลเพลิง มาใช้เป็นยาพื้นบ้านเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย โดยส่วนประกอบที่มีอยู่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจงกับการต่อต้านยีสต์และแบคทีเรีย ซึ่งจากการทดสอบพบว่า สามารถยับยั้ง Candida albicans ได้ที่ความเข้มข้น 0.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสามารถยับยั้ง Staphylococcus aureus ได้ที่ความเข้มข้น 1.56 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลดังกล่าว จึงน่าจะทดลองใช้ Plumbagin เพื่อเป็น Antimicrobial agent ได้ (Panichayupakaranant และคณะ, 2001)

-ฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ Chitin Kubo และคณะ (1983) ได้รายงานว่า สาร Plumbagin มีผลต่อการยับยั้งการสังเคราะห์ Chitin ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดแมลงทางด้านการเกษตรได้

-ฤทธิ์ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา สิริวรรณและคณะ (2546) ได้พบว่า สารสกัดจากรากเจตมูลเพลิงแดง สามารถแสดงผลการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ทุกไอโซเลทได้ 100% โดยใช้วิธี Glass slide

-ฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่และการมีชีวิตของตัวอ่อน Fetterer และคณะ (1991) ได้พบว่า สาร Plumbagin สามารถยับยั้งการเคลื่อนที่และการมีชีวิตของตัวอ่อนระยะที่ 1 ของไส้เดือนฝอย Haemonchis contonus และตัวอ่อนระยะที่ 4 และระยะเอมบริโอของไส้เดือนฝอย Ascaris suum ได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-รากมีสารจำพวกแนฟธาควิโนน (Naphthaquinone) ชื่อว่า Plumbagin, 3-chloroplumbagin, α-naphthaquinone ฯลฯ ประโยชน์ทางยาคือมีกลิ่นฉุนและมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อเมือก (Mucous membrane) หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือเป็นผื่นแดงไหม้

การใช้ประโยชน์:

-ในฝรั่งเศส ใช้ราก เคี้ยวระงับอาการปวดฟัน

-ในมาเลเซีย ถือเป็นยาทำให้แท้ง

-ในอินเดีย ใช้เป็นยาช่วยย่อยเจริญอาหารผสมในยาธาตุ และรักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน

-ยอดอ่อนและใบมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำมาใส่ข้าวยำ หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำแกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอกที่ดูสวยงาม และมีอายุได้หลายปี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง