Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย:  หนอนตายหยากใหญ่ (กะเพียดใหญ่)

ชื่อท้องถิ่น: หนอนตายหยาก กะเพียดช้าง ปงช้าง เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stemona collinsiae Craib

ชื่อวงศ์: STEMONACEAE

สกุล: Stemona 

สปีชีส์: tuberosa

ชื่อพ้อง: 

-Roxburghia gloriosa Pers.

-Roxburghia gloriosoides Roxb.

-Roxburghia viridiflora Sm.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หนอนตายหยากใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หนอนตายหยากใหญ่ (ต้นกะเพียด) เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-40 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีรากอยู่ใต้ดินจำนวนมาก รากเป็นแบบรากกลุ่มอยู่กันพวง ลักษณะคล้ายนิ้วมือ รากเป็นสีเหลืองอ่อนอวบน้ำ ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร


หนอนตายหยากใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบประมาณ 10-15 เส้น ขนานกัน ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นใบย่อยมาตัดขวาง ก้านใบนั้นยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ส่วนโคนพองเป็นกระเปาะ


หนอนตายหยากใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายมน กว้างประมาณ 0.25-0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมชมพู มีขนาดไม่เท่ากันเรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายแหลม กว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.9-2 เซนติเมตร มีเส้นแขนงประมาณ 9-11 เส้น ส่วนชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม กว้างประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.8-1.9 เซนติเมตร มีเส้นแขนงประมาณ 13-15 เส้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนเป็นรูปหัวใจขอบเรียบ กว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร ส่วนเกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร และปลายเกสรเพศเมียมีขนาดเล็ก


หนอนตายหยากใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดเล็ก เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด ลักษณะปลายเรียวแหลมยาว

สภาพนิเวศวิทยา: พบในพื้นที่เขตร้อนชื้น ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 450 เมตร

ถิ่นกำเนิด: ไทย

การกระจายพันธุ์: ไทย

หนอนตายหยากใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนอนตายหยากใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก  รสเบื่อเมา สรรพคุณ ทุบให้ละเอียดผสมน้ำ ฟอกล้างผม ฆ่าเหา หิด และกลาก

*รากสดพอกปิดปากแผลให้สัตว์ในส่วนที่เลียไม่ถึง ฆ่าหนอนและแมลงตายสิ้น

*น้ำแช่รากไม้นี้ ใช้ราดฉีดทำลายหนอนหรือแมลงที่มารบกวนพืชผักได้

*ต้มรับประทานแก้โรคผิวหนังผื่นคัน  ต้มกับยาฉุย รวมหัวริดสีดวงทวาร ทำให้แห้งฝ่อ

*รากสดทุบให้แตก ใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งขึ้นหนอนจะตายสิ้น

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก พบสารจำพวกแอลคาลอยด์ stemonine, tuberostemonine, stemonidine, isostemonidine สารอื่นที่พบ เช่น rotenoid compound, stemonacetal, stemonal, stemonone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งอาการไอ จากการทดลองกับสัตว์ทดลองพบว่า สมุนไพรหนอนตายหยากสามารถยับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้การหายใจได้ผลช้าลง

-ฤทธิ์ฆ่าพยาธิ สารสกัดที่ได้จากหนอนตายหยากมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการป้อนสารสกัดจากรากในขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลาหนึ่งเดือน ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก

การใช้ประโยชน์:

-โรคริดสีดวงทวารหนัก ใช้รากนำมาปรุงต้มรับประทาน พร้อมกับต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง จะทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้งไป

-โรคเหา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 3-4 ราก ที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำมาตำผสมกับน้ำใช้ชโลมเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยสระออกให้สะอาด โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเหาจะตายหมด

-อาการแผลในสัตว์ ใช้รากนำมาโขลกบีบเอาแต่น้ำใช้หยอดแผลวัวควายที่มีหนอนไช หรือจะใช้กากของรากสดนำมาโปะปิดแผลของสัตว์พาหะที่เลียไม่ถึง จะเป็นยาฆ่าหนอนที่เกิดในแผล หนอนจะตายหมด

-ช่วยฆ่ายุงและลูกน้ำ ใช้รากของต้นหนอนตายหยากสดประมาณ 500 กรัม นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในท่อน้ำทิ้ง จะสามารถฆ่ายุงและลูกน้ำได้

-ช่วยฆ่าแมลงและหนอนศัตรู ใช้รากนำมาตำผสมกับน้ำเป็นยาฆ่าแมลงและหนอนศัตรูพืชที่มารบกวนพืชผัก

-คนเมืองใช้รากฝนคลุกข้าวหรือมะพร้าวแล้วโดยให้มดกินเป็นยาฆ่ามด 

-ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้โรคโปลิโอ

-ในประเทศอินโดจีนจะใช้รากเป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก 

-ในประเทศจีนจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาขับผายลม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง