Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะระขี้นก (ผักไห่)

ชื่อท้องถิ่น: มะไห่ มะห่อย ผักไห่ ผักไซ (ภาคเหนือ)/ มะระหนู มะร้อยรู  (ภาคกลาง)/ ผักสะไล ผักไส่ (ภาคอีสาน)/ ระ (ภาคใต้)/ ผักไห (นครศรีธรรมราช)/ ผักเหย (สงขลา)/ สุพะซู สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-มะฮ่องสอน)/ โกควยเกี๋ย โคงกวย (จีน)

ชื่อสามัญ: Bitter cucumber, Balsam pear, Balsam apple, Bitter melon, Bitter gourd, Carilla fruit

ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordica charantin Linn

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

สกุล: Momordica 

สปีชีส์: charantin 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะระขี้นก เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก อายุปีเดียว มีมือเกาะ ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม


มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้น รูปแผ่กว้าง แผ่นใบเว้าลึกเป็น 5 พู ขนาดประมาณ 3-7 เซนติเมตร โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบจักตื้น ก้านใบยาว 2-6 เซนติเมตร


มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีเหลือง แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน เกสรผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ มีก้านชูเกสร 1 อัน ปลายแยก 3 แฉก


มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะระขี้นก thai-herbs.thdata.co | มะระขี้นก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด รูปป้อมรี หัวท้ายแหลม ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดรูปไข่แกมรี ขนาดประมาณ 7-10 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มสีแดง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ เถา รสขม  สรรพคุณ แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ระบายอ่อนๆ

*ผล รสขม สรรพคุณ แก้พิษฝี แก้บวม แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ แก้ปากเปื่อยปากเป็นฝ้าขาวเป็นขม บำรุงระดูสตรี

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบสาร Charantin (b - Sitosterol b - D - glucoside กับ 5,25 stigmastadien 3b - ol -b - D - Glucoside), Serotonin และ Amino acids เช่น Glutamic acid, Alanine,  b - Alanine Phenylalanine, Proline,  a - Aminobutyric acid, Citrulline,  Galacturonic acid ในเมล็ด มีความชื่น 8.6%  เถ้า 21.8% Cellulose 19.5%  เถ้าที่ละลายน้ำ 16.4% ไขมัน 31.0 % (ประกอบด้วย Butyric acid 1.8%  Palmitic acid 2.8%, Stearic acid 21.7%  Oleic acid 30%,  a - Elaeostearic acid 43.7%, Momordicine, Protein  

-ใบ พบสาร Momordicine   

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาลได้

นอกจากนี้จากการศึกษาของ Joseph B และคณะ(2013) พบว่าสารทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ charantin , monocharin , monordicin จัดเป็นสารสำคัญ active complound ของมะระขี้นกในการลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง charantin มีฤทธิ์ระดับน้ำตาลในเลือดที่แรงกว่ายา tolbutamide 

-ฤทธิ์ลดไข้ การศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของมะระขี้นก โดยใช้สารสกัดเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 ให้เข้าทางกระเพาอาหาร (gastric intubation) ของกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ลดไข้ และยังได้ทดลองกรอกเข้าทางกระเพาะอาหาร (intragastric) ของหนูขาว ปรากฎว่า สามารถลดไข้ได้เช่นเดียวกัน

-ฤทธิ์แก้ปวด สารสกัดเมทานอล มีฤทธิ์แก้ปวด สารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดในหนูขาวและหนูถีบจักร นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้สารสกัดเมทานอลฉีดเข้าใต้ผิวหนังในหนูถีบจักรที่ 50% ของขนาดที่ทำให้หนูตาย (LD50) เท่ากับ 5 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวด แต่สารสกัดเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 กรอกเข้าทางกระเพาะอาหาร(intragastric) ของหนูถีบจักรไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดพืชทั้งต้น ด้วยเอทานอล (50%) เข้าใต้ผิวหนังในขนาด 20 ก./กก. หรือให้หนูถีบจักรกินในขนาด 10 ก./กก. ไม่พบพิษ สารสกัดส่วนเหนือดินและไม่ระบุส่วนที่ใช้ด้วยเอทานอล (50%) เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 681 มก./กก. และมีค่าสูงกว่า 1,000 มก./กก. แอลคาลอยด์ที่แยกได้จากมะระขี้นก เมื่อให้กระต่ายกินขนาด 56 มก./ตัว หรือฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร 14 มก./กก. ไม่พบพิษ ฉีดน้ำคั้นจากผลเข้าช่องท้องหนูขาวขนาด 15 ซีซี/กก. หรือ 40 ซีซี/กก. พบว่าทำให้สัตว์ทดลองตายภายใน 18 ช.ม. และเมื่อฉีดน้ำคั้นผลเข้าช่องท้องของกระต่ายในขนาด 15 ซีซี/กก. พบว่าทำให้กระต่ายตายภายใน 18 ช.ม. แต่เมื่อให้เข้าทางกระเพาะของกระต่ายในขนาด 6 ซีซี/กก. พบว่ากระต่ายตายหลังจากได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 23 วัน ขณะที่อีกการทดลองหนึ่งให้สารสกัด (ไม่ระบุชนิด) เข้าทางกระเพาะในขนาด 8 ก./กก. กับกระต่ายไม่พบพิษ เมื่อให้คนรับประทานน้ำคั้นจากผลในขนาด 50 ซีซี/วัน น้ำต้มผลแห้ง ขนาด 500 มก. ไม่พบพิษ

-พิษต่อระบบสืบพันธุ์  เมื่อให้น้ำคั้นจากผลในขนาด 6 ซีซี/กก. ในกระต่ายที่ตั้งท้องทำให้มีเลือดออกจากมดลูกและมีกระต่ายตายจากการตกเลือด เมื่อฉีดสารสกัดผลซึ่งมีสาร charantin และเมล็ดซึ่งมีสาร vicine เข้าทางช่องท้องของสุนัขในขนาด 1.75 ก./ตัว พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการสร้างอสุจิ และในหนูถีบจักรเพศเมียเมื่อได้รับสารสกัด (ไม่ระบุชนิด) พบว่ามีผลยับยั้งการผสมพันธุ์ เมื่อให้ใบและเปลือกลำต้น (ไม่ระบุขนาด) เข้าทางกระเพาะในหนูขาวที่ตั้งท้องพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก น้ำคั้นผลสด เมื่อให้ในหนูถีบจักรเพศเมียมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญพันธุ์ และน้ำคั้นผลสดเมื่อให้เข้าทางกระเพาะของหนูขาวเพศผู้ในขนาด 5 ซีซี/กก. เป็นเวลา 49 วัน พบว่ามีผลยับยั้งการผสมพันธุ์ และพบว่ามีผลฆ่าอสุจิในหนูขาว เมื่อให้น้ำคั้นจากผล (ไม่ระบุขนาด)

การใช้ประโยชน์:

-โรคบิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม

-โรคบิดเฉียบพลัน ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม บิดถ่ายเป็นเลือด ก็เพิ่มข้าวแดงเมืองจีน (อั่งคัก Monascus pur-pureus, Went.) อีก 2-3 กรัม บิดมูกให้เพิ่มอิ๊ชั่ว (ยาสำเร็จรูปชนิดหนึ่ง) 10 กรัม ผสมน้ำสุกรับประทาน

-โรคบิด ปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือก ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม

-โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือดหรือเลือด ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูก ใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือด ให้ต้มน้ำดื่ม

-โรคพยาธิ ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 3 เมล็ดรับประทานขับพยาธิตัวกลม

-อาการไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันน้ำไปตากแห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชาก็ได้ 

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่นฝอยต้มน้ำดื่ม 

-แผลบวม ใช้ผลสดตำพอก

-อาการปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าดื่มแก้ฝีบวมปวดอักเสบ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก

-อาการคัน หิดและโรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่าง ๆ

-ใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน สามารถนำมารับประทาน หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร เช่น ทานเป็นผักสด นึ่งหรือลวกให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู น้ำพริกตาแดง

เป็นต้น 

-สมัยโบราณมีการนำมะระขี้นกมาปรุงเป็นกับข้าวต้มเค็มกิน

-ชาวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง