Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะอึก

ชื่อท้องถิ่น: มะอึก (ภาคกลาง)/หมากอึก หมักอึก บักเอิก (ภาคอีสาน)/ อึก ลูกอึก (ภาคใต้)/ มะเขือปู่ มะปู่ มะเขือขน หมากขน (ภาคเหนือ)/ ยั่งคุยดี (กะเหรี่ยง)

ชื่อสามัญ: Solanum, Bolo Maka

ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum stramoniifolium Jacq.

ชื่อวงศ์: SOLANACEAE

สกุล:  Solanum 

สปีชีส์: stramoniifolium

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะอึก thai-herbs.thdata.co | มะอึก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะอึก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ทุกส่วนของต้นจะมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่ ลำต้นและใบจะคล้ายคลึงกับมะเขือพวง ต่างกันที่ลำต้นและใบของมะอึกนั้นจะมีหนามและมีขนอ่อนปกคลุม 


มะอึก thai-herbs.thdata.co | มะอึก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู มีความกว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว มีขนอ่อนปกคลุมผิวใบทั้งด้านบนและด้านล่าง


มะอึก thai-herbs.thdata.co | มะอึก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ ที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลือง เป็นเส้นรวมเป็นยอดแหลม


มะอึก thai-herbs.thdata.co | มะอึก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะอึก thai-herbs.thdata.co | มะอึก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ที่ผิวมีขนยาวหนาแน่น ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล ในผลมีเมล็ดแบนจำนวนมากเรียงเป็นแถวอยู่ภายใน 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ดับพิษร้อนภายใน กระทุ้งพิษ แก้ไข้เพื่อดี ไข้สันนิบาต

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการคัน ผดผื่นคัน ใช้ดอก ใบ นำมาตำแล้วพอกแก้อาการคัน ผดผื่นคัน

-ผลแก่หรือผลสุก ช่วยเพิ่มรสชาติเปรี้ยวให้อาหาร โดยจะให้รสและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างไปจากรสเปรี้ยวจากแหล่งอื่น ๆ อย่างเช่น มะนาว มะม่วง มะขาม มะดัน เป็นต้น

-ผลแก่หรือผลสุก รับประทานเป็นผักแกล้มหรือจิ้มกับน้ำพริกต่าง ๆ ให้รสชาติเฝื่อนเล็กน้อยอร่อยมาก

-ผลแก่หรือผลสุก นำเปลือกผลเอาเมล็ดทิ้งแล้วหั่นเป็นฝอย ๆ ใช้โขลกรวมกับน้ำพริกกะปิเพื่อเพิ่มรสชาติก็ดีไม่น้อย หรือจะหั่นเป็นชิ้นทั้งเมล็ดใส่รวมกับส้มตำก็ได้เหมือนกัน

-จังหวัดจันทบุรีนิยมนำมายำ 

-ภาคเหนือและภาคอีสานนำมาทำส้มตำ ใส่แกงส้ม 

-ภาคใต้ใส่ในแกงเนื้อและปลาย่าง

-ชาวม้งนำผลสุกไปใส่น้ำพริก ให้รสเปรี้ยว




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง