Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หงอนไก่ไทย

หงอนไก่ป่า thai-herbs.thdata.co | หงอนไก่ป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ไทย หงอนไก่ฝรั่ง หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง)/ หงอนไก่ดง (นครสวรรค์)/ กระลารอน (เขมร-ปราจีนบุรี)/ ชองพุ ซองพุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/  ดอกด้าย ด้ายสร้อย ร้อยไก่ หงอนไก่ (ภาคเหนือ)/  พอคอที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ แชเสี่ยง โกยกวงฮวย (จีนแต้จิ๋ว), จีกวนฮวา

ชื่อสามัญ: Wild Cockcomb, Cockcomb, Common cockscomb, Crested celosin

ชื่อวิทยาศาสตร์: Celosia argentea var. cristata (L.) Kuntze, Celosia cristata L. 

ชื่อวงศ์:  AMARANTHACEAE

สกุล:  Celosia 

สปีชีส์: argentea

ชื่อพ้อง: 

-Amaranthus cristatus Noronha

-Amaranthus huttonii H.J.Veitch

-Amaranthus purpureus Nieuwl.

-Amaranthus pyramidalis Noronha

-Celosia aurea T.Moore

-Celosia castrensis L.

-Celosia cernua Roxb. nom. illeg.

-Celosia coccinea L.

-Celosia comosa Retz.

-Celosia cristata L.

-Celosia debilis S.Moore

-Celosia huttonii Mast.

-Celosia japonica Houtt.

-Celosia japonica Mart.

-Celosia linearis Sweet ex Hook.f. nom. inval.

-Celosia margaritacea L.

-Celosia marylandica Retz.

-Celosia pallida Salisb.

-Celosia plumosa (Voss) Burv.

-Celosia purpurea J.St.-Hil.

-Celosia purpurea A.St.-Hil. ex Steud.

-Celosia pyramidalis Burm.f.

-Celosia splendens Schumach. & Thonn.

-Celosia swinhoei Hemsl.

-Chamissoa margaritacea (L.) Schouw

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หงอนไก่ป่า thai-herbs.thdata.co | หงอนไก่ป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหงอนไก่ไทย เป็นต้นไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีอายุเพียง 1 ปี มีลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40-150 เซนติเมตร มักแตกกิ่งก้านเป็นสีเขียวแกมแดง ลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำและมีร่องตามยาว เปลือกลำต้นมีทั้งสีแดงและสีเขียว แบ่งออกไปตามสายพันธุ์

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน รูปหอกยาว หรือรูปเส้นแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-18 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมักมีสีแดงแต้ม หรือเป็นสีแดงอมม่วง ใบตอนล่างจะมีขนาดใหญ่ ส่วนใบที่อยู่ส่วนยอดจะมีขนาดเล็กกว่า มีก้านใบยาวประมาณ 0.3-1.7 เซนติเมตร


หงอนไก่ป่า thai-herbs.thdata.co | หงอนไก่ป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งยาว โดยจะตามซอกใบและปลายกิ่งหรือปลายยอด ปลายช่อดอกแหลม ช่อดอกยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร อัดแน่นอยู่ในช่อเดียว ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบดอกเป็นสีม่วงแกมสีชมพู หรือเป็นสีขาวปลายแต้มด้วยสีชมพู อยู่ติดกันเป็นกระจุก กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน และไม่มีก้านดอก

ผล ลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้ ผลมีกลีบเลี้ยงบางหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กลับ

เมล็ด  ลักษณะกลมแบนสีดำเป็นมันเงาและแข็ง มีจำนวนมาก ขั้วด้านหนึ่งบุ๋มลง

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่โล่งแจ้งทั่วไป ตามริมฝั่งแม่น้ำทางเหนือ ตามไร่นา และบางครั้งก็ปลูกเป็นไม้ประดับ

ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: ทั่วโลก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ดอก รสฝาดเฝื่อน แก้บิด ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ตกขาว แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง

*ดอก ก้าน ใบ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด แก้บิด มูกเลือด ตกเลือด ตกขาว และแก้ตาแดง 

*ใบ ใช้ห้ามเลือด ทาแก้ผดผื่นคัน

*ใบ กิ่งก้าน รสฝาดเฝื่อน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิด แก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือด

*เมล็ด รสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ขับลมร้อนในตับ แก้ความดันโลหิตสูง แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาสว่าง แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล แก้เม็ดผดผื่นคัน อักเสบ

*ดอกและเมล็ด ใช้ห้ามเลือด ใช้แก้เลือดกำเดาออก

*ราก รสขมเฝื่อน แก้ไข้ที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ หรือไข้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย ไข้พิษ แก้โลหิตเป็นพิษ บำรุงธาตุ แก้หืด แก้เสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด พบสาร oxalic acid, nicotinic acid, celosiaol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichomonas vaginalis จากผลการศึกษาสารที่สกัดจาเมล็ดและดอกหงอนไก่ เมื่อนำมาทดลองก็พบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichomonas vaginalis ได้ดี โดยเชื้อชนิดนี้เมื่อนำมาต้มด้วยคามร้อนสูงนาน 5-10 นาทีก็จะตายไป

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต จากผลการรรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในช่วง 160-220 / 100-135 มม. ปรอท โดยทำการรักษาด้วยการใช้เมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มสกัดเอาน้ำ 2 ครั้ง แล้วแบ่งกิน 3 ครั้งต่อวัน ผลการทดลองพบว่า หลังจากที่ได้รับไปแล้ว 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีความดันลดลงเหลืออยู่ในช่วง 125-146 / 70-90 มม. ปรอท และจากการนำมาทดลองกับสัตว์ก็พบว่าเมล็ดหงอนไก่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

-ฤทธิ์ต่อการขยายตัวของม่านตา จากผลการศึกษาพบว่า น้ำมันระเหยจากเมล็ดหงอนไก้ มีฤทธิ์สามารถทำให้ม่านตาดำขยายตัวได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับแปลง ให้ดอกสวยสวยงาม สีสรรสุดุดเด่น หรือเป็นไม้ตัดอก ทำดอกไม้แห้ง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง