Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: บุก

ชื่อท้องถิ่น: หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว (จีนแต้จิ๋ว)/ หมอยื่อ (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Devil’s tongue, Shade palm, Umbrella arum

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus konjac K.Koch

ชื่อวงศ์: ARACEAE

สกุล:  Amorphophallus 

สปีชีส์: konjac 

ชื่อพ้อง: 

-Amorphophallus mairei H.Lév.

-Amorphophallus nanus H.Li & C.L.Long

-Amorphophallus palmiformis Durieu ex Rivière

-Brachyspatha konjac (K.Koch) K.Koch

-Conophallus konjak Schott

-Conophallus konniaku Schott ex Fesca

-Hydrosme rivierei (Durand ex Carrière) Engl.

-Proteinophallus rivierei (Durand ex Carrière) Hook.f.

-Tapeinophallus rivierei (Durand ex Carrière) Baill.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นบุก เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่


บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร


บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง


บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: จีน (ยูนนาน)

การกระจายพันธุ์: จีนใต้-กลาง, จีนเหนือ-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, เกาหลี, หมู่เกาะนันไซ, ฟิลิปปินส์, ไทย, ทิเบต, เวียดนาม

บุก thai-herbs.thdata.co | บุก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเบื่อเมาคัน สรรพคุณ กัดเถาคาน กัดเสมหะ หุงกับน้ำมันทาแผลกัดฝ้า กัดหนอง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-หัว พบสารจำพวกกลูโคแมนแนน (Glucomannan) เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีน้ำหนักมวลโมเลกุลสูงมาก (ultra-high molecular-weight polysaccharide) คือประมาณ  2,000,000 ดัลตัน สกัดได้จากหัวใต้ดิน โดยผ่านขั้นตอนการล้าง และสกัดสารพิษต่างๆออก โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดอาการคันคอ หรือระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร โมเลกุลของกลูโคแมนแนน ประกอบด้วยน้ำตาลสองชนิดคือ กลูโคส และแมนโนส ในสัดส่วน 2:3 โดยประมาณ เชื่อมต่อกันระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลชนิดที่สอง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลชนิดแรก แบบ ?-1, 4-glucosidic linkage แตกต่างจากแป้งที่พบในพืชทั่วๆไป จึงไม่ถูกย่อยโดยกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อให้น้ำตาลที่ให้พลังงานได้ แป้งจากหัวบุกประกอบด้วย กลูโคแมนแนน ประมาณ 90% และสิ่งเจือปนอื่นๆ เช่น starch, alkaloid, สารประกอบไนโตเจนต่างๆ sulfates, chloride, และสารพิษอื่น และตรวจพบผลึกของแคลเซียมออกซาเลทในเนื้อหัวบุกป่าจำนวนมาก กลูโคแมนแนสามารถดูดน้ำ และพองตัวได้ถึง 200 เท่า ของปริมาณเดิม เมื่อกินกลูโคแมนแนนครั้งละ 1 กรัม โดยประมาณ ก่อนอาหารราวครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง กลูโคแมนแนนจะดูดน้ำที่มีมากในกระเพาะอาหาร แล้วพองตัวทำให้รู้สึกอิ่มในระดับหนึ่ง จึงกินอาหารได้น้อยลง

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อนำสารสกัดบุกที่มีการดำจัดพิษแล้ว ให้หนูใหญ่รับประทานบุกครั้งละ 15 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ต่อต่อกันเป็นระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์ พบว่าระดับของคอเลสเตอรอล ในเลือดของหนูที่กินบุกลดลงคิดเป็น 44% และ Triglyceride ลดลงคิดเป็น 9.5%

-ฤทธิ์ลดอาการบวม จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อนำสารที่สกัดได้จากบุกที่มีการกำจัดพิษแล้ว ให้หนูใหญ่ที่มีอาการบวมที่ขารับประทานครั้ง 15 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่า อาการบวมที่ขาของหนูลดลง

-ใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว และลด cholesterol กลูโคแมนแนนที่พองตัวจะห่อหุ้มอาหารที่กินเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับไขมัน และกรดน้ำดี (bile acid) และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับ cholesterol 

-ลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส

-ช่วยในการขับถ่าย และระบาย การพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

          การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-ยางที่พบในหัวบุก ลำต้น และใบของบุก ประกอบด้วยสารแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน หากเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีอาการแสบตาอย่างรุนแรง และอาจทำให้ตาบอดได้

การใช้ประโยชน์:

-โรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง  ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง ด้วยการแยกแป้งจากส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้วชงกับน้ำดื่ม โดยให้ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว นำมาชงกับน้ำดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงวันละ 2-3 มื้อ

-ช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (เนื่องจากไปช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสในระบบทางเดินอาหาร) และบุกยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารที่ช่วยดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด และปรุงเป็นอาหารรักษาสุขภาพ

-ช่วยในการขับถ่ายและระบาย เนื่องจากการพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะไปกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างอยู่ออกมา จึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

-หัว สามารถประกอบอาหารทั้งคาวและหวานเช่นเดียวกับเผือก เช่น แกงบวชมันบุก แกงอีสาน นำไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ หรือจะนำมาฝานเป็นแผ่นแล้วนำมานึ่งหรือย่างกินเป็นขนมบุก ส่วนต้นอ่อนที่ปอกเปลือกออกแล้ว ใบอ่อน และก้านใบอ่อนก็สามารถนำมาทำอาหารคล้าย ๆ กับบอนได้ เช่น แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ (ก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารต้องเอาไปต้มก่อน โดยใส่ลงไปตอนที่น้ำกำลังเดือดเพื่อให้พิษหมดไป) แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมรับประทานกันแล้ว เนื่องจากขั้นตอนก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารนั้นยุ่งยากเกินไปนั่นเอง

-หัว (แป้งบุก) สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารผงบุก (เช่น วุ้นเส้นบุก, เส้นหมี่แป้งหัวบุก, วุ้นบุกก้อน, ขนมบุก) เครื่องดื่มรูปแบบต่าง ๆ (เช่น เครื่องดื่มบุกผง) ใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือดกันอย่างแพร่หลาย (เช่น ผงบุก หรือ แคปซูลผงบุก) ซึ่งก็สามารถลดน้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยต่อร่างกาย เพราะเมื่อกินแล้วทำให้อิ่มง่าย ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ช่วยระบายท้อง และไม่ทำให้อ้วน

-ในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้หัวบุกมาทำเป็นอาหารลดความอ้วน เพราะการรับประทานหัวบุกเป็นประจำจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ เพราะสารกลูโคแมนแนนที่พองตัวจะไปห่อหุ้มอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับไขมันและกรดน้ำดี และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้

-ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ด้วย โดยนักจัดสวนจะนิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป หรือปลูกไว้ขาบเพื่อเพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุกชนิดที่มีหัวเล็กใบกว้าง ที่มีชื่อว่า “บุกเงินบุกทอง” ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเล่นว่านมีทั้งต้นเขียวและต้นแดง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง