Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: น้อยหน่า

ชื่อท้องถิ่น: ลาหนัง (ปัตตานี)/ หน่อเกล๊ะแซ (แม่ฮ่องสอน)/ มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ)/ หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Sugar apple, Sweetsop

ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona squamosa L.

ชื่อวงศ์: ANNONACEAE

สกุล: Annona 

สปีชีส์: squamosa

ชื่อพ้อง:

-Annona asiatica L.

-Annona asiatica Vahl

-Annona cinerea Dunal

-Annona distincta Raeusch.

-Annona forskahlii DC.

-Annona forsskalii DC.

-Guanabanus squamosus M. Gómez

-Xylopia glabra

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

น้อยหน่า thai-herbs.thdata.co | น้อยหน่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นน้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร กิ่งก้านเกลี้ยง ไม่มีขน ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล 


น้อยหน่า thai-herbs.thdata.co | น้อยหน่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปรี หรือใบหอกแกมรูปขอบขนาน เรียงสลับ กว้าง 3-6 เซนติเมตรยาว 7-13 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-1.2 เซนติเมตร สีใบไม่เข้ม หลังใบสีเข้มกว่าท้องใบ  โคนและปลายใบแหลม หรือปลายใบเป็นติ่งแหลม 

ดอก ออกดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกห้อยลง กลีบสีเหลืองอมเขียว หนาอวบน้ำ มี 6 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอก รูปหอก โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในมีขนาดเล็กกว่า ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้ และรังไข่จำนวนมาก  


น้อยหน่า thai-herbs.thdata.co | น้อยหน่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลกลุ่ม รูปร่างค่อนข้างกลม ชนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-9 เซนติเมตร เปลือกผลเป็นสีเขียว มีผิวขรุขระเป็นปุ่มกลมนูน แต่ละช่องภายในผลมีเนื้อสีขาวห่อหุ้มเมล็ด เปลือกผลเมื่อแก่จะอ่อนนุ่ม เมล็ดสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นมัน เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี ผลหนึ่งอาจพบเมล็ดประมาณ 50-60 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แถบอเมริกากลางและใต้ พบได้ทั่วไปในเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าเชื้อโรค ขับตัวกิมิชาติในลำไส้ (พยาธิไส้เดือน) โขลกป่น พอกแก้ฟกช้ำ ฆ่าพยาธิผิวหนังกลากเกลื้อน

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ สมานแผล ปิดธาตุ

*เปลือกลูก รสฝาด สรรพคุณ ฝนกับสุราทาแก้พิษงูกัด

*ราก รสขมเอียน สรรพคุณ ระบายท้อง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ มีสาร alkaloid ชื่อ anonaine และน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย borneol, camphene, camphor, carvone, eugenol, geraniol, thymol, menthone, pinene

-เมล็ด มีสาร alkaloid ชื่อ anonaine พบ fixed oil และสาร steroids ซึ่งผงของเมล็ดน้อยหน่า 1.8 kg ให้สาร anonaineเท่ากับ 0.258 g (สุนทรี, 2536)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ศึกษาฤทธิ์ต้านสะเก็ดเงิน ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์ผิวหนังมนุษย์ (HaCaT) ประเมินฤทธิ์ต้านการแบ่งเซลล์ด้วยวิธี MTT assay และ Neutral red assay และศึกษากลไกการยับยั้งการแบ่งเซลล์ผิวหนังในระดับโมเลกุล โดยใช้เทคนิค RT-PCR และ western blot เพื่อดูการแสดงออกของ TGF-α ในระดับ mRNA และโปรตีน ตามลำดับ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลจากน้อยหน่า สามารถยับยั้งการแบ่งเซลล์ HaCaT ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.3 µg/ml แต่ไม่สามารถลดระดับการแสดงออกของ TGF-α ดังนั้นสารสกัดจากน้อยหน่า อาจมีสารออกฤทธิ์ในการต้านโรคสะเก็ดเงิน และอาจนำไปศึกษาต่อเพื่อพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน (วิสาข์, 2552)

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีเนื้อมาก เนื้อนุ่มหวาน มีรสหอม

-ใบสดและเมล็ด สามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที

-ใบ มีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin) ในเมล็ดมีน้ำมันอยู 45% ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง สารสกัดเมทานอลของใบน้อยหน่าเป็นพิษต่อไรทะเล และใบน้อยหน่ายังเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่วโดยมี LC50 2,089.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง