Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ชะอม

ชะอม thai-herbs.thdata.co | ชะอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ผักหละ (ภาคเหนือ)/ อม (ภาคใต้)/ ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี)/ พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน)/ โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง)

ชื่อสามัญ: Climbing wattle, Acacia, Cha-om

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia pennata (L.) Willd.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE 

สกุล:  Acacia 

สปีชีส์: pennata

ชื่อพ้อง: 

-Acacia canescens (Kurz) Gamble 

-Acacia hainanensis Hayata 

-Acacia pendata (L.) Willd. 

-Acacia pennata subsp. pennata (L.) Willd. 

-Acacia pennata var. canescens Kurz 

-Acacia pennata var. heyneana Benth. 

-Albizia tenerrima de Vriese 

-Mimosa ferruginea Rottler 

-Mimosa pennata L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ชะอม thai-herbs.thdata.co | ชะอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นชะอม ชะอมเป็นไม้ยืนต้นมีอายุนานหลายปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย ทำให้มีทรงพุ่มโปร่ง กิ่งมีขนาดเล็ก แต่ยาวได้หลายเมตร ลำต้น และกิ่งมีหนามแหลม เปลือกลำต้น และกิ่งค่อนข้างบาง เปลือกผิวเรียบ ไม่แตกสะเก็ด ผิวเปลือกมีสีเทาอมเขียว

ใบ เป็นใบประกอบ มีก้านใบหลัก ยาว 15-20 ซม. ก้านใบหลักแตกเป็นก้านใบย่อยเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 8-12 ก้าน แต่ละก้านใบย่อยประกอบด้วยใบขนาดเล็กจำนวนมาก ใบจะอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ 15-28 คู่ ใบมีลักษณะรูปไข่ ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ใบบริเวณยอดอ่อนหุบพับเข้าประกบกัน ต่อมาค่อยแผ่กางออก 

ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่รม แทงออกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว มีเกสรตัวผู้เป็นเส้นเล็กๆภายในดอก

ผล  ลักษณะเป็นผลแห้ง คล้ายฝักกระถิน ฝักแตกแบบผักกาด ผลอ่อนสีเหลืองน้ำตาล  ผลแก่สีน้ำตาล 

เมล็ด ลักษณะรูปยาวรี ผิวเรียบ มีจำนวนเมล็ด 3 เมล็ดต่แฝัก เมล็ดอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อเมล็ดแก่จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ท้องขึ้นอึกเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง (มดลูกอักเสบ)

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหารจำพวกแกงต่างๆ อาทิ แกงหน่อไม้ แกงเลียง รวมถึงนิยมใช้ใส่ไข่เจียวที่เรียกทั่วไปว่า ไข่เจียวชะอม

-ยอดอ่อน นิยมใช้รับประทานสดคู่กับอาหารจำพวกส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ หรือลวกใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก

-ยอดอ่อนหรือใบแก่ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกร

-ชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้น กรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้ง ๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

-การปลูกชะอม นอกจากจะมีประโยชน์จากยอดอ่อนที่นำมาประกอบอาหารแล้ว การปลูกชะอมรอบแปลงผักจะช่วยไล่ และป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลายพืชผักได้อีกทาง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง