Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตำลึง (ผักสี่บาท, ผักแคบ)

ชื่อท้องถิ่น: ตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง)/ ผักตำนิน (ภาคอีสาน)/ ผักแคบ (ภาคเหนือ)/ แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: Ivy gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

สกุล:  Coccinia 

สปีชีส์: grandis

ชื่อพ้อง: 

-Bryonia acerifolia D.Dietr.

-Bryonia alceifolia Willd.

-Bryonia barbata Buch.-Ham. ex Cogn.

-Bryonia grandis L.

-Bryonia moimoi Ser.

-Bryonia sinuosa Wall.

-Cephalandra grandis (L.) Kurz

-Cephalandra indica Naudin

-Cephalandra moghadd (Forssk. ex J.F.Gmel.) Broun & R.L.Massey

-Cephalandra schimperi (Naudin) Naudin

-Coccinia grandis var. wightiana (M.Roem.) Greb.

-Coccinia helenae Buscal. & Muschl.

-Coccinia indica Wight & Arn.

-Coccinia loureiroana M.Roem.

-Coccinia moghadd (Forssk. ex J.F.Gmel.) Asch.

-Coccinia moimoi (Ser.) M.Roem.

-Coccinia palmatisecta Kotschy

-Coccinia schimperi Naudin

-Coccinia wightiana M.Roem.

-Cucumis pavel Kostel.

-Cucurbita dioica Roxb. ex Wight & Arn.

-Cucurbita schimperiana Hochst. ex Cogn.

-Luffa moghadd (Forssk. ex J.F.Gmel.) Peterm.

-Momordica bicolor Blume

-Momordica covel Dennst.

-Momordica monadelpha Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตำลึง เป็นไม่เถาเลื้อย มีมือเกาะ พัดเลื้อยไปตามพื้นหรือพาดพันต้นไม้อื่น


ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ขอบใบมีต่อมคายน้ำ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร


ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยว สีดอกสีขาว แยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตรก ลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 3 อัน อับเรณูขนาดใหญ่รูปขอบขนาน สีเหลืองเป็นก้อนอยู่ในคอดอก ดอกเพศเมีย กลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็น 3-5 แฉก


ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ผล ลักษณะผลสดรูปขอบขนานหรือรูปป้อม กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ผลแก่สีแดงส้ม เมล็ดแบนรี มีจำนวนมาก ขนาดดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกาเขตร้อน, คาบสมุทรอาหรับตะวันตก, เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ตำลึง thai-herbs.thdata.co | ตำลึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษฝี ถอนพิษขนของใบไม้ และตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน

*เถา รสเย็น สรรพคุณ ใช้น้ำในเถาหยอดตา แก้ตาฝ้า ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ ตาอักเสบ

*ราก รสเย็น สรรพคุณ แก้ดวงตาเป็นฝ้า ดับพิษทั้งปวง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์: 

-โรคเบาหวาน ใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มระดับอินซูลิน

-โรคงูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ (ล้างให้สะอาด) นำมาผสมกับพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น

-อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา

-อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง ใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อนยาว 1 คืบ (จำนวน 3-4 ท่อน) นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟด้วยฟางจนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา

-อาการคันและการอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น หมามุ่ย ถูกตัวบุ้ง ยุงกัด ใบตำแย แพ้ละอองข้าว พิษคูน พิษกาฬ เป็นต้น ใช้ใบสด 1 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหายดี

-อาการแผลอักเสบ ใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล

-ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ใช้ต้นเถาและใบนำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้

-ช่วยทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก 

-ยอดและใบ รับประทานเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มรับประทานกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น

-ผลอ่อน นำมารับประทานกับน้ำพริก หรือจะนำมาดอง ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน รับประทานได้ ช่วยระบายท้อง




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง