Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าพันงูขาว

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าตีนงูขาว (กรุงเทพฯ)/ นอเงือเกะ (เชียงใหม่)/ ควยงูหลวง (น่าน)/ หญ้าโคยงู (ภาคเหนือ)/ ควยงู พันงู พันงูขาว พันงูเล็ก หญ้าท้อง (ภาคกลาง)/ พันธุ์งู (ไทย)/ หญ้าพันงู หญ้าพันงูเขา หญ้าไกงู (อื่น ๆ)/ โกยฉัวผี ต้อคาเช่า (จีนแต้จิ๋ว)/ เต่าโค่วเฉ่า ถู่หนิวชี หนิวเสอต้าหวง (จีนกลาง)/ โชวม้องู่ติ้ง ต๋อค้อเช่า (จีน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Rough-chaffed flower, Washerman’s plant, Prickly chaff-flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Achyranthes aspera L.

ชื่อวงศ์: AMARANTHACEAE

สกุล: Achyranthes 

สปีชีส์: aspera

ชื่อพ้อง: 

-Achyranthes aspera var. australis (R.Br.) Domin

-Achyranthes aspera var. simplex Millsp.

-Achyranthes aspera var. villosior (Hensl.) D.M.Porter

-Achyranthes australis R.Br.

-Achyranthes canescens R.Br.

-Achyranthes ellipticifolia Stokes

-Achyranthes fruticosa Desf.

-Achyranthes grandifolia Moq.

-Achyranthes obovata Peter

-Achyranthes obovatifolia Stokes

-Achyranthes okinawensis Tawada

-Achyranthes robusta C.H.Wright

-Achyranthes tenuifolia Steud.

-Cadelaria punctata Raf.

-Centrostachys aspera (L.) Standl.

-Centrostachys australis (R.Br.) Standl.

-Centrostachys canescens (R.Br.) Standl.

-Centrostachys grandifolia (Moq.) Standl.

-Stachyarpagophora aspera (L.) M.Gómez

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าพันงูขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าพันงูขาว เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นกลมตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 25-125 เซนติเมตร ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขามากจากบริเวณโคนของลำต้น ลำต้นเป็นสัน ข้อโป่งพองออก มีหนามแน่น กิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียว มีขนนุ่มสีขาวขึ้นอยู่ทั่วไป 


หญ้าพันงูขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปยาวรี รูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมไข่กลับ รูปไข่กลับ รูปไข่รียาว หรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบแหลมหรือป้านหรือเรียวสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก แต่มีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนปกคลุมอยู่ทั้งสองด้านหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร


หญ้าพันงูขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้งตรงที่บริเวณปลายกิ่ง อาจยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร แกนกลางของช่อเป็นเหลี่ยมเล็กน้อยและมีขนอยู่ทั่วไป ดอกออกเดี่ยว ๆ บนแกนของช่อ ใบประดับแห้งบางและติดทน ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับย่อยมี 2 อัน แนบติดกลีบรวม เรียวยาวคล้ายหนาม ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร โคนมีเยื่อบาง ๆ ขนาดประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร กลีบรวมมี 4-5 อัน ขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 2-5 อัน แผ่นคล้ายเกสรเพศผู้ที่เป็นมันมี 5 อัน ด้านหลังเป็นแผ่นเกล็ดขอบชายเป็นครุย ยาวกว่าแผ่นคล้ายเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ส่วนรังไข่เป็นรูปไข่กลับ เกลี้ยง และสั้นกว่าก้านเกสรเพศเมีย มีออวุล 1 เม็ด ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะเป็นรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 2-3.5 มิลลิเมตร


หญ้าพันงูขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ผลมีขนาดเล็ก เป็นผลแบบกระเปาะ ปลายตัด เกลี้ยง เปลือกบาง ยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาวและเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเมล็ดเป็นรูปทรงกระบอกเรียบ

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และประเทศในเขตร้อนทั่วไปรวมถึงออสเตรเลีย

ถิ่นกำเนิด: ลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าพันงูขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสจืดขื่น สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไขตรีโทษ แก้พิษฝี

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสารจำพวก Flavone เช่นสาร Oleanolic acid, Ecdysterone ส่วนในเมล็ดพบสาร Alkaloid 1% ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าสารสำคัญที่พบ ได้แก่ Saponin, Saponin C, D arginine, Betaine, Histidine, Lysine, Sitostrol, Steric acid, Stimasterol, Tryptophan เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ช่วยลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด สารสกัดจากทั้งต้นของหญ้าพันงูขาวสามารถลดไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังไม่พบพิษเฉียบพลัน

-ฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากทั้งต้นของหญ้าพันงูขาวมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูใหญ่สีขาวทดลองได้

-ฤทธิ์ช่วยลดระดับความดันโลหิต น้ำสกัดและสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากรากหญ้าพันงูขาวมีผลในการลดความดันเลือดได้อย่างรวดเร็ว แต่ออกฤทธิ์สั้น และไม่มีผลต่อการหายใจ หากใช้ยานี้มากจะมีฤทธิ์ไปกดการหายใจเล็กน้อย และในรากจะมีสารอัลคาลอยด์ Achy rantine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต กดหัวใจ และขายหลอดเลือด ช่วยเพิ่มจังหวะและความแรงของการหายใจของสุนัขที่ทำให้สลบ

-ฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองโดยให้หนูกินหญ้าพันงูขาวเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ภายหลังการทดลองพบว่า หนูดังกล่าวมีน้ำหนักลดลงและมีค่าคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลดลง

-ฤทธิ์ช่วยกระตุ้นหัวใจ เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากหญ้าพันงูขาว มาฉีดข้ากล้ามเนื้อของกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นหัวใจของกระต่ายให้เต้นแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะตอนที่หัวใจกำลังเต้นอ่อนลง จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน

-ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กและมดลูก เมื่อนำหญ้าพันงูขาวทั้งต้นมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กและมดลูกที่มีการหดเกร็งได้ด้วย

-ฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ในเมล็ดหญ้าพันงูขาวมีสารจำพวก Saponins ที่มีฤทธิ์ทำให้หัวใจที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา กระต่าย และกบ บีบแรงขึ้น และยังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อที่หัวนมหดตัวแรงขึ้น นอกจากนี้สารดังกล่าวยังมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ และสามารถรักษาฤทธิ์ในการลดการขับปัสสาวะของ Adrenaline ในหนูใหญ่สีขาวได้ ส่วนผลในการขับปัสสาวะจะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มการขับโซเดียมและโพแทสเซียมในการปัสสาวะ เช่นเดียวกับ Acetazolamide

-น้ำที่สกัดมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้เล็กที่แยกจากตัวของกระต่ายเกิดการบีบตัวมากขึ้นและแงขึ้น น้ำที่สกัดในนาด 5 มิลลิลิตร เมื่อนำไปให้กระต่ายกิน จะเพิ่มการขับปัสสาวะมากขึ้น ส่วนเถ้าจากทั้งต้นหญ้าพันงูขาว จะมีปริมาณของโพแทสเซียมสูง และมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อให้หนูถีบจักร กับสารสกัดจากทั้งต้นหญ้าพันงูขาวด้วยเอทานอลและน้ำ (50%) พบว่าขนาดที่หนูทนได้สูงสุดก่อนการเกิดอาการพิษคือ 1.0 กรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง เจ็บท้องน้อย

-ตำรับยาแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย ให้ใช้หญ้าพันงูขาว (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม) นำมาต้มกับเนื้อสันในของหมูรับประทาน หรือใช้รากรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเช่นกัน

-หมอยาพื้นบ้านที่ปราจีนบุรีจะใช้หญ้าพันงู (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม) นำมาต้มเป็นยาบำรุงกำลังร่างกายของหญิงวัยหมดประจำเดือน

-โรคหูน้ำหนวก หรือหูชั้นกลางอักเสบ ใช้รากสด(รากสดประมาณ 30-60 กรัม) นำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหู 

-โรคคอตีบ ใช้รากสด (รากสดประมาณ 30-60 กรัม) รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นดื่ม

-โรคต่อมต่อมทอนซิลอักเสบใช้รากแห้ง  (รากแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม) รากจ้ำเครือแห้ง และพิมเสน นำมาบดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอ 

-โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ใช้รากสด (รากสดประมาณ 30-60 กรัม) รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นดื่ม

-โรคบิด ใช้หญ้าพันงูขาว(ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม) นำมาต้มกับน้ำชงกับน้ำผึ้งกิน หรือใช้รากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดเช่นกัน ตำรับยาก็คือ ให้ใช้รากสด รากขี้ครอก ผักกาดน้ำ และแชกัว นำมาต้มน้ำผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

-อาการไข้หวัด ตัวร้อน เจ็บคอใช้หญ้าพันงูขาว (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น 

-อาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบ ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอว ใช้ทั้งต้น (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม) นำมาต้มกินหรืออาจต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้ 

-อาการฟกช้ำอันเกิดจากการกระทบกระแทกหรือหกล้ม ใช้รากแห้ง (รากแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม) นำมาต้มผสมกับเหล้ากิน หรือจะใช้ทั้งต้นสด และผมคน 1 กระจุก นำมาต้มน้ำใช้ชะล้างบ่อย ๆ 

-อาการแผลหนองบวมอักเสบ และฝี ด้วยการใช้ทั้งต้นสด (ปริมาณตามความเหมาะสม) นำมากับเหล้า เอาแต่น้ำมากิน ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา และแก้นิ่ว ใช้ลำต้นสด ดอก หรือราก (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม, ต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม, รากสดประมาณ 30-60 กรัม, รากแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 

-ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก แก้เสมหะในท้อง ใช้รากพันงูขาว รากสดประมาณ 30-60 กรัม, รากแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม) รากขัดน้อย พริก เหง้าขิง นำมาบดให้เป็นผงกินเป็นยาขับเสมหะ

-ช่วยบำรุงธาตุ ใช้ลำต้นสด (ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงธาตุไฟ 

-ภาคเหนือของไทยนำมาใช้เป็นยาสีฟัน โดยเอารากพันงูขาวนำมาเผาให้เป็นด่าง (เป็นเถ้าสีดำ) แล้วนำยานั้นมาสีฟัน เชื่อว่าจะทำให้ฟันคงทน แต่หมอยาบางท่านว่าไม่ต้องเผาก็ได้ แต่ให้นำกิ่งหรือรากสีฟันได้เลย

-ในด้านความเชื่อ หมอเมืองขาวล้านนาโบราณมีความเชื่อว่าเมื่อเอาใบหรือรากของหญ้าพันงูขาวมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำนมวัวสด ใช้ทาสะดือของหญิงที่มีบุตรยาก เชื่อว่าจะทำให้มีบุตรง่ายขึ้น

-ชาวเขาจะใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำให้หญิงหลังคลอดกิน และยังช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย 

-ในอินเดียจะใช้รักษาหญ้าพันงูขาวเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบ หืด โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรี และใช้เป็นยาคุมกำเนิด รวมไปถึงใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง