Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักกระโฉม

ชื่อท้องถิ่น: อ้มกบ (เชียงใหม่)/ ผักกะโสม (ภาคกลาง)/ จุ้ยห่วยเฮียง (จีนแต้จิ๋ว)/ สุ่ยหุยเซียง (จีนกลาง)/ ผักแมงดา โหระพาน้ำ (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Marsh weed

ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnophila rugosa (Roth) Merr.

ชื่อวงศ์: PLANTAGINACEAE

สกุล:  Limnophila

สปีชีส์: rugosa

ชื่อพ้อง: 

-Didissandra ophiorrhizoides K.Schum.

-Herpestis rugosa Roth

-Terebinthina rugosa (Roth) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักกระโฉม thai-herbs.thdata.co | ผักกระโฉม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักกะโฉม เป็นไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นต้นแตกแขนงออกไป ต้นที่ยังเล็กอยู่จะมีขนขึ้นปกคลุม แต่เมื่อโตแล้วหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไปเอง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 ฟุต มีกลิ่นหอม 


ผักกระโฉม thai-herbs.thdata.co | ผักกระโฉม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหนา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด หลังใบมีขนปกคลุมและมีรอยย่น ก้านใบสั้น


ผักกระโฉม thai-herbs.thdata.co | ผักกระโฉม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณส่วนยอดของลำต้นและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขน ดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วง กลางดอกแต้มไปด้วยสีเหลือง ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายปาก กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมี 3 กลีบ ส่วนปากบนมี 2 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย 1 อัน ไม่มีก้านดอก

ผล ลักษณะเป็นผลแห้งรูปไข่ แบน แตกได้ มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมล็ดมีลักษณะกลมขนาดเล็ก สีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา:พบ ขึ้นอยู่ตามริมคูและพื้นที่ชุ่มน้ำ

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตก

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, ฟิ,จิ อินเดีย, ลาว, มาลายา, เมียนมาร์, หมู่เกาะนานเซ, เนปาล, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, ซามัว ศรีลังก,า ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม

ผักกระโฉม thai-herbs.thdata.co | ผักกระโฉม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้พิษ ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ปวดศีรษะ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ผักกะโฉม ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ตำรับยาเขียวหอม” มีส่วนประกอบของผักกะโฉมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)

องค์ประกอบทางเคมี:

-ต้น พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งน้ำมันนี้จะเป็นสารประกอบของ phenylpropane และ sesquiterpene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในหลอดทดลอง ของสารสกัดใบผักกระโฉมต่อการเพิ่มจำนวนของลิมโฟไซต์ที่ได้จากม้ามหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์วิสต้าร์ และขบวนการฟาโกไซโทซิสโดยเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ ชนิด J774A.1 (ขบวนการจับกินเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม)และดูผลของสารสกัดต่อการผลิตไซโตไคน์ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดผักกระโฉม ที่ความเข้มข้น 12.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของลิมโฟไซต์ (เซลล์เม็ดเลือดขาว) การทดสอบสารสกัดหยาบของผักกระโฉมพบว่า สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของลิมโฟไซต์ได้ดี โดยที่ไม่มีผลต่อการกระตุ้นฟาโกไซโทซิส นอกจากนี้ยังสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์มาโครฟาจ หลั่ง IL-12 ได้มากด้วย การศึกษานี้ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของสารสกัดผักกระโฉม ต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคเอดส์ โรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง เป็นต้น (Boonarkart, 2003)

-ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเมทานอล จากใบของผักกระโฉม ในขนาด 5, 25, 50, 100 และ 250 μg/ml โดยใช้เทคนิค agar  cup method โดยใช้สารสกัดขนาด 5, 25, 50, 100, 250 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ทำการทดสอบฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ ได้แก่ เชื้อแกรมบวกสองชนิดคือ Staphylococcus aureus (MTCC 96), Streptococcus pyogenes (MTCC 442) เชื้อแกรมลบสองชนิด คือ  Escherichia coli (MTCC 443), Pseudomonas aeruginosa (MTCC 424)  และเชื้อรา  ได้แก่ Aspergillus niger (MTCC 282), Aspergillus clavatus (MTCC 1323) และ Candida albicans (MTCC 227) วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อ  (zone of inhibition) ผลการทดลองพบว่าฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา จะเพิ่มขึ้นตามขนาดยาแบบแปรผันเป็นเส้นตรง เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยรวม เท่ากับ 11-20 มิลลิเมตร และในเชื้อราโดยรวม เท่ากับ13-19 มิลลิเมตร สารสกัดขนาด 25, 50, 100, 250 μg/ml  พบขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อ (12, 15, 16, 17 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ E. coli,  (13, 14, 15, 17 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ P. aeruginosa, (13, 16, 17, 19 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ S. aureus, (12, 13, 16, 18 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ S. pyrogenes, (13, 14, 17, 19 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ A. niger และ(12,14, 17, 18 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ C. albicans, (14, 15, 19, 21 มิลลิเมตร) ต่อเชื้อ A.  clavatus (Acharya, et al., 2014)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดทั้งต้นด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 16 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (LD50>32)  และให้โดยการฉีด (LD50=12.7) เข้าใต้ผิวหนังหนู ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-อาการผิดปกติในทางเดินอาหารหรือเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใช้ใบผักกะโฉมแห้ง 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม

-อาาการแผลพุพอง ใช้ต้นสดปริมาณพอสมควร นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผล หรือนำมาตำพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการ

-ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบก้อย น้ำพริก

-ใบ มีกลิ่นคล้ายกับใบโหระพา สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือทำเป็นน้ำหอมได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง