Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตำแยแมว (ตำแยตัวผู้)

ชื่อท้องถิ่น: หานแมว (ภาคเหนือ)/ ตำแยตัวผู้ ตำแยป่า หญ้าแมว หญ้ายาแมว (ไทย) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Indian acalypha, Indian nettle, Indian copperleaf, Tree-seeded mercury

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acalypha indica L.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Acalypha 

สปีชีส์: indica

ชื่อพ้อง: 

-Acalypha caroliniana Blanco

-Acalypha decidua Forssk.

-Acalypha fimbriata Baill.

-Acalypha somalensis Pax

-Acalypha somalium Müll.Arg.

-Acalypha spicata Forssk.

-Cupamenis indica (L.) Raf.

-Ricinocarpus deciduus (Forssk.) Kuntze

-Ricinocarpus indicus (L.) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตำแยแมว thai-herbs.thdata.co | ตำแยแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตำแยแมว เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2 ฟุต แตกกิ่งก้านจากโคนต้น ลำต้นเป็นร่อง มีขนสั้นนุ่ม เนื้อภายในอ่อนและไม่แข็งแรง 


ตำแยแมว thai-herbs.thdata.co | ตำแยแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปกลมโต ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบ ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ด้านบนมีขนสั้นนุมขึ้นปกคลุม


ตำแยแมว thai-herbs.thdata.co | ตำแยแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ช่อเชิงลดแยกแขนง ออกตามซอก ยาว 2-10 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ช่วงบนออกเป็นกระจุก 6-10 ดอก ตามแกนช่อมีใบประดับขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยม มีขน ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เล็กมาก มีขนและต่อมด้านนอก เกสรเพศผู้ 7-9 อัน ก้านเกสรสั้น ดอกเพศเมีย มี 1-4 ดอกในแต่ละช่อกระจุกย่อย ใบประดับรูปถ้วย ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อยห่างๆมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม รังไข่เหนือวงกลีบมี 3 ช่องมีขน

ผล ลักษณะผลแห้งแตก ทรงกลม มี 3 พู ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม เมล็ดรูปไข่ ผิวเรียบ ขนาดประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่า ๆ ผุ ๆ

ถิ่นกำเนิด: เอริเทรียถึงแอฟริกาตอนใต้ คาบสมุทรอาหรับไปจนถึงเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชีย

การกระจายพันธุ์: -

ตำแยแมว thai-herbs.thdata.co | ตำแยแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปักชำและการแยกต้น

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสขื่น สรรพคุณ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร

องค์ประกอบทางเคมี:

-ทั้งต้นสดและต้นแห้ง พบสารจำพวก alkaloid, acalyphine, tannin, vestin, volatile oil เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด ใช้ใบสด ๆ นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ให้เหลือเพียง 2 ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย เช้าและเย็น

-โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ใช้ทั้งต้นและราก นำมาต้มกับน้ำดื่ม 1 แก้ว ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ หรือจะนำมาโขลกผสมกับน้ำซาวข้าว กรองดื่ม 1 แก้ว 

-ช่วยขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ใช้ใบสดมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ๆ หรือนำมาต้มกิน หรือจะใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียม

-โรคผิวหนัง ใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเกลือแกง ใช้ทาบริเวณที่มีอาการ

-ทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี มีผู้ค้นพบว่าในขณะที่แมวไม่สบายหรือมีไข้ หากมันได้เคี้ยวลำต้นของตำแยแมวเข้าไป ไม่นานก็จะหายจากอาการไข้ได้ และในขณะเดียวกันถ้าแมวนั้นกินสารที่มีพิษเข้าไป ก็แก้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไป แล้วมันก็จะอาเจียนหรือสำรอกพิษออกมา จึงเป็นการช่วยถอนพิษในแมวได้ ทำให้มันกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกตำแยตัวผู้ว่า”ตำแยแมว”

-ต้นตำแยแมวนี้หากถอนขึ้นมาทั้งราก เมื่อแมวเห็นเข้าก็จะรีบตรงเข้ามากลิ้งเกลือกบนต้นตำแยแมวอย่างเคลิบเคลิ้มและมีความสุขอยู่นานพอควร จากนั้นก็จะกินรากจนหมด ซึ่งสันนิษฐานว่ารากของตำแยแมวน่าจะมีกลิ่นที่ดึงดูดแมวได้เช่นเดียวกับ Pheromone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่ใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม จึงทำให้แมวรู้สึกหลงใหลและเคลิบเคลิ้ม แต่ก็ใช่ว่าแมวทุกตัวจะหลงไปกับกลิ่นของรากตำแยแมว คงมีแมวเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นแล้วอาจจะไม่รู้สึกอะไร โดยเห็นรากตำยาแมวเป็นเพียงต้นไม้ต้นหนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่ทำให้แมวเคลิบเคลิ้มและมีความสุขได้เช่นกัน เช่น “กัญชาแมว” หรือใบ “แคตนิป” (Catnip) แต่ต่างกันตรงที่ถ้าเป็นต้นตำแยแมว แมวจะชอบกินราก แต่ถ้าเป็นกัญชาแมว แมวจะชอบกินใบ)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง