Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะขามป้อม

ชื่อท้องถิ่น: กำทวด (ราชบุรี)/ มิ่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยมแม่ฮ่องสอน)/ กันโตด (เขมร)/ อะมะลา (ฮินดู เปอร์เซีย)

ชื่อสามัญ: Indian gooseberry

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์: PHYLLANTHACEAE

สกุล: Phyllanthus

สปีชีส์: emblica

ชื่อพ้อง: 

-Cicca emblica (L.) Kurz

-Cicca macrocarpa Kurz

-Diasperus emblica (L.) Kuntze

-Diasperus pomifer (Hook.f.) Kuntze

-Dichelactina nodicaulis Hance

-Emblica arborea Raf.

-Emblica officinalis Gaertn.

-Phyllanthus mairei H.Lév.

-Phyllanthus mimosifolius Salisb.

-Phyllanthus pomifer Hook.f.

-Phyllanthus taxifolius D.Don

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะขามป้อม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง ลำต้นคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ หลุดลอกเป็นแผ่นกว้างๆ  เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแดง ปลายกิ่งมักลู่ลง  


มะขามป้อม thai-herbs.thdata.co | มะขามป้อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ลักษณะคล้ายใบแบบขนนก มักเรียงตัวหนาแน่นตามกิ่งก้าน ส่วนตามลำต้น และกิ่งก้านใหญ่ๆ มักไม่มี ใบอ่อนมีขนละเอียดมักจะมีแต้มสีแดง ใบแก่ไม่มีขน ใบมีขนาดเล็ก รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ปลายมน โคนรูปหัวใจเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-6 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดเจนทางด้านบน ก้านใบยาประมาณว 0.4-0.8 มิลลิเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตรมะขามป้อม thai-herbs.thdata.co | มะขามป้อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกขนาดเล็กแยกเพศติดตามกิ่งก้าน บริเวณโคนกิ่งจะเป็นกระจุกของดอกเพศผู้ ส่วนบนมีดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ บางครั้งอาจมีดอกเพศผู้ร่วมอยู่ด้วยเล็กน้อย ดอกเล็กๆ สีเขียวอ่อนหรือเหลืองออกครีม อาจพบแต้มสีชมพู ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ แต่ละกระจุกมีดอกเพศผู้หลายดอก ดอกเพศเมีย 1 หรือ 2 ดอก ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 วง รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ก้านดอกตัวผู้ยาว 2.5 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3 อัน เชื่อมกันเป็นแกนสั้นๆ ต่อมที่จานฐานดอก 6 อัน รูปกระบอง ก้านดอกย่อยยาว 1.5-3.5 มม. ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปขอบขนาน หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 1.8-2.5 มิลลิเมตร เชื่อมกันที่ฐาน จานฐานดอก รูปวงแหวน ก้านดอกย่อยยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบเกลี้ยง มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ก้านเกสรตัวเมียเชื่อมกัน ปลายแยกออก รังไข่ฝังตัวครึ่งหนึ่งในหมอนรองดอกที่มีระบาย


มะขามป้อม thai-herbs.thdata.co | มะขามป้อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย มะขามป้อม thai-herbs.thdata.co | มะขามป้อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลทรงกลม มีเนื้อแข็งหนา ผิวเกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม. ที่ผิวมีรอยแยกตามยาวแบ่งเป็น 6 ซีก ผลไม่มีก้าน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผิวใส ชุ่มน้ำ มีรสเปรี้ยวและฝาด ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง 3 หน่วย แต่ละหน่วยหุ้ม 2 เมล็ด 

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าสนผสมก่อ ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนกลาง-ตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลัยตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, มาลายา, พม่า, ปากีสถาน, ศรีลังกา, สุมาเตรา, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนามตะวันตก, หิมาลายา, เกาะอันดามัน, คิวบา, มอริเชียส, เปอร์โตริโก, ตรินิแดด-โตเบโก, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด

มะขามป้อม thai-herbs.thdata.co | มะขามป้อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ผลอ่อน รสฝาดขม สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์

*ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาดขม สรรพคุณ แก้ไข้เจือลม แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดตรีผลา” ได้แก่ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณ แก้ปิตตะวาตะ สมหะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน

2.“พิกัดจตุผลาธิตะ” ได้แก่ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม  ลูกสมอเทศ สรรพคุณ ถ่ายไข้ ถ่ายลมแก้โรคตา บำรุงธาตุ ผายธาตุ ถ่ายรูปิดธาตุ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้มะขามป้อม ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ปรากฏตำรับ “ยาแก้ไอผสมกานพลู” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาตรีผลา” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาอามฤควาที” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

2.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาธรณีสันฑะฆาต” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้กษัยเส้น

3.ยาบารุงธาตุ ปรับธาตุ ปรากฏตำรับ “ยาตรีพิกัด” มีส่วนประกอบของมะขามป้อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ท้องเสีย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบสาร astragalin, glucogallin, gallic acid, digallic acid, ellagic acid, chebulagic acid, chebulinic acid, kaempferol, quercetin เนื้อผล มีวิตามินซีสูงถึง 1-2% (มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากับผลส้มสด 2 ผล)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ต้านไวรัส (ไข้หวัดใหญ่, ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase) แก้ไอ ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ปกป้องตับ หัวใจและหลอดเลือด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาพิษเฉียบพลัน สารสกัดจากมะขามป้อมเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้และเมียมีค่า LD50 เท่ากับ 145และ 288 มก./กก นน.ตัวตามลำดับ พิษกึ่งเรื้อรัง ทดลองในหนูถีบจักรโดยป้อนสารสกัดขนาด 100 และ 500 มก./กก. นน.ตัว นาน 10 สัปดาห์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักหัวใจ ปอด ตับ และเอนไซม์ที่ตับ

การใช้ประโยชน์:

-ผลแก่ สามารถนำมาแปรรูปได้หลายชนิด เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาแก้ไอ ยาสระผม น้ำมะขามป้อม มะขามป้อมแช่อิ่ม






ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง