Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านหอยแครง (ว่านแสงอาทิตย์)

ชื่อท้องถิ่น: กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ), อั่งเต็ก ฮ่ำหลั่งเฮี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว), ปั้งหลานฮวา ปั้งฮัว (จีนกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Boat-lily, Oyster Lily, Oyster plant, White flowered tradescantia

ชื่อวิทยาศาสตร์: Tradescantia spathacea Sw.

ชื่อวงศ์: COMMELINACEAE

สกุล: Tradescantia 

สปีชีส์: spathacea

ชื่อพ้อง: 

-Ephemerum bicolor Moench

-Rhoeo discolor (L’Hér.) Hance

-Rhoeo spathacea (Sw.) Stearn

-Rhoeo spathacea f. concolor (Baker) Stehlé

-Rhoeo spathacea f. variegata (Hook.) Stehlé

-Tradescantia discolor L’Hér.

-Tradescantia discolor var. concolor Baker

-Tradescantia discolor var. variegata Hook.

-Tradescantia versicolor Salisb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:


ว่านหอยแครง thai-herbs.thdata.co | ว่านหอยแครง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นว่านหอยแครง เป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มักขึ้นเป็นกอ ๆ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ลำต้นอวบใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร


ว่านหอยแครง thai-herbs.thdata.co | ว่านหอยแครง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ใบ เป็นใบเดี่ยวใบออกจากลำต้น ออกเรียงเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหอกยาวหรือรูปแกมขอบขนานปลายแหลม ปลายใบแหลม โคนใบตัดและโอบลำต้น ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและตั้งตรง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนหลังใบเป็นสีม่วงแดง เส้นใบขนาน มองเห็นไม่ชัด และไม่มีก้านใบ


ว่านหอยแครง thai-herbs.thdata.co | ว่านหอยแครง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่โคนใบหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีทั้งช่อเดี่ยวและหลายช่อ ในแต่ละช่อประกอบไปด้วยใบประดับที่เป็นมีลักษณะเป็นกาบ 2 กาบ สีม่วงแซมเขียว ลักษณะเป็นรูปหัวใจโค้ง มีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอบหุ้มดอกขนาดเล็กสีขาวที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่โคนก้านช่อดอกมีใบประดับ 1 ใบ สีม่วงแซมเขียว ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบ มีก้านดอกยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร โคนก้านดอกมีใบประดับสีม่วงอ่อนเป็นเยื่อบาง ๆ ลักษะเป็นรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกมีกลีบสีขาวเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 3-6 มิลลิเมตร มีลักษณะบางและใส ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบเป็นสีขาว ลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกหนา ตรงใจกลางดอกมีเกสรเพศผู้เป็นขนฝอย 6 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว รูปเรียว มีขนยาว ส่วนปลายก้านแผ่แบนเป็นสีเหลือง อับเรณูเป็นสีแดง รังไข่ผนังเรียบ ภายในมีช่อง 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 เม็ด

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้งเมื่อแตกจะแยกเป็นแฉก 2-3 แฉก ผลเป็นรูปกระสวย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นอยู่ทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโกตอนใต้ไปจนถึงกัวเตมาลา

การกระจายพันธุ์: -

ว่านหอยแครง thai-herbs.thdata.co | ว่านหอยแครง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยไหล ยอด หรือการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำในเนื่องจากพลัดตกหกล้ม แก้ร้อนในกระหายน้ำ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาไทยใช้ใบสดเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่มเป็นยา 

-ตำรายาแก้ไอร้อนในปอด แก้อาการไอเป็นเลือด ใช้ใบว่านกาบหอย 10 กรัม นำมาต้มกับฟัก ใส่น้ำตาลกรวดเล็กน้อย ใช้รับประทาน 

-ตำรายาจีนจะใช้ดอกของว่านกาบหอยเป็นยาแก้อาการตกเลือดในลำไส้ 

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่มเป็นยา

-โรคบิด ถ่ายเป็นเลือด ใช้ดอกสด 120 กรัม น้ำตาล 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มตอนอุ่น ๆ 

-อาการเลือดกำเดาไหลใช้ดอกว่านกาบหอย 10 กรัม หรือดอกประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

-อากาารเสมหะมีเลือด ใช้ดอกว่านกาบหอยประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน 

-อาการอาเจียนเป็นเลือด ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม

-อาการไข้ตัวร้อน ใช้ใบแก่ประมาณ 10-15 ใบ นำมาต้มกับน้ำจนเดือดแล้วตักใบออก เติมน้ำตาลกรวด ใช้ดื่นกินเป็นประจำเป็นยาแก้ไข้

-อาการหวัด ไอ ไอเนื่องจากหวัด ใช้ดอกประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน 

-อาการกรดไหลย้อน ใช้ใบว่านกาบหอยแครงและใบเตยสด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำทั้งวัน วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และเกลือป่นอีกเล็กน้อย 

-อาการฟกช้ำ แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจกการพลัดตกจากที่สูง หรือเกิดจากการหกล้มฟาดถูกของแข็ง ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม

-อาการแผลเลือดออก ฟกช้ำในสัตว์ ใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือหากวัวปัสสาวะเป็นเลือด ก็ให้ใช้ต้นแห้งร่วมกับผักกาดน้ำ อย่างละประมาณ 60-120 กรัม ต้มกับน้ำให้วัวกิน หรือถ้าวัวถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ก็ให้ใช้ต้นว่านกาบหอยสด ๆ รวมกับพลูคาวสด และก้านบัวหลวงแห้ง อย่างละประมาณ 120-240 กรัม ผสมกับน้ำตาลทรายลงไปต้มให้วัวกิน

-ช่วยทำให้ผมดกดำ ใช้ใบนำมาปิ้งให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำมัน หรือใช้น้ำคั้นจากต้นที่เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา นำมาทาศีรษะจะช่วยทำให้ผมดกดำ และช่วยแก้ผมหงอกก่อนวัยได้

-ในอินโดจีน จะใช้ต้นนำมาต้มเอาไอรมแก้ริดสีดวงทวาร

-ในประเทศอินเดีย จะใช้ว่านกาบหอยผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาพอกแก้ต่อมน้ำเหลืองบวม พอกรักษาโรคผิวหนัง โรคเท้าช้าง ใช้ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร และใช้น้ำคั้นจากต้นว่านกาบหอยผสมในหมึกสัก

-ในไต้หวันจะใช้เป็นยาพอกแผล มีดบาด และแก้บวม

-ในประเทศมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้คุดทะราด 

-ในชวาจะใช้เป็นยาแก้กลาก และใช้ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากสีแดงบริเวณท้องใบที่สวยงาม และปลูกเพื่อคลุมดิน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง