Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



“ตรีกฏุก”ปรับธาตุลมรับหน้าฝน

ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับโรคที่มักจะเกิดในช่วงฤดูฝน ซึ่งมักเกิดจากธาตุลมภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง (ระบบประสาทและการไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่สะดวก) มักทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่สดชื่น ร่างกายไม่มีกำลัง การบรรเทาอาการหรือการป้องกันอาการดังกล่าวไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ 

ทางศาสตร์การแพทย์แผนไทย นิยมใช้พิกัดยา ตรีกฏุก (ตรีแปลว่า สาม, กฏุก แปลว่า เผ็ด, ดังนั้น ตรีกฏุก แปลว่า ของเผ็ดสามอย่าง ได้แก่ เหง้าขิง, เมล็ดพริกไทย และดอกดีปลี) ได้แก่ เหง้าขิง, เมล็ดพริกไทย และดอกดีปลี ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 โดยนำมาต้มพอเดือด (15 - 20 นาที) ดื่มหลังอาหาร เช้า - เย็น วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 มิลลิลิตร 

จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า : 

-เหง้าขิง มีสาร gingerols และ shogaols สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ต้านการอักเสบ และสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ 

-เมล็ดพริกไทยและดอกดีปลีพบสาร piperine ช่วยยั้บยั้งอาการแพ้ (ยับยั้งการหลั่ง histamine) สามารถบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก 

ดังนั้น พิกัดยาตรีกฏุก จึงเป็นตำรับยาที่เหมาะต่อการนำมาดูแลสุขภาพในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามยาดังกล่าวประกอบด้วยสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน ควรห้ามใช้กับผู้ที่แพ้สมุนไพรในส่วนประกอบของตรีกฏุก ห้ามใช้ในสตรีที่ตั้งครรภ์ และควรระวังการใช้กับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง