Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ปวดท้องประจำเดือน…แบบไหนผิดปกติ?


เมื่อถึงวันนั้นของเดือนมาถึง คุณผู้หญิงหลายคนจะมีอาการปวดท้องประจำเดือนจนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้ว กลายเป็นเรื่องทั่วไปที่ผู้หญิงมักบ่นกันกับเพื่อนๆ ไม่แปลกที่จะกินยาเพื่อระงับอาการปวด หรือแม้แต่เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนตัวงอลุกไม่ขึ้นอยู่บนเตียงเป็นประจำ


น่ารำคาญ…เจ็บปวด…แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องปกติใช่หรือไม่?


ปวดท้องประจำเดือน-แบบไหนผิดปกติ thai-herbs.thdata.co | ปวดท้องประจำเดือน-แบบไหนผิดปกติ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย



การปวดท้องประจำเดือนแบบปกติก็มีอยู่เช่นกัน แต่การปวดท้องประจำเดือนแบบผิดปกติสามารถนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตหรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้ การปวดท้องประจำเดือนแบบผิดปกติอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือเนื้องอกในมดลูก เป็นต้น ในบางกรณีคุณผู้หญิงบางคนไม่ตระหนักว่าอาการปวดท้องของตนเองผิดปกติจนกระทั่งสายเกินไป


ฉะนั้น…โปรดอย่านิ่งนอนใจ!


อาการผิดปกติ


ปวดท้องประจำเดือน-แบบไหนผิดปกติ thai-herbs.thdata.co | ปวดท้องประจำเดือน-แบบไหนผิดปกติ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


จะรู้ได้อย่างไรว่าการปวดท้องประจำเดือนของตนเองผิดปกติ? คุณสามารถสังเกตได้ง่ายๆ หากมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดท้องแม้ตอนไม่มีประจำเดือน ปวดท้องช่วงก่อน-หลังประจำเดือนมา หรือปวดท้องแบบเดิมเกือบตลอดทั้งเดือน

  • ปวดท้องจนไม่สามารถทำอะไรได้ การปวดท้องประจำเดือนส่วนใหญ่เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณผู้หญิงปวดมากจนไม่สามารถลุกทำอะไรได้ นอนตัวงอเป็นกุ้ง หรือต้องกินยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าการปวดท้องนี้ไม่ธรรมดาซะแล้ว

  • ปวดท้องจนลามไปถึงส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ขา ทวารหนัก แขน ไหล่ หลัง ฯลฯ

  • มีอาการปวดท้องหรือเจ็บปวดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  • มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรือท้องอืดอย่างรุนแรง ก่อน หลัง หรือระหว่างมีประจำเดือน

  • ปวดท้องจนอาเจียน เป็นลม หรือวิงเวียนศีรษะ

  • ปวดท้องจนเป็นไข้สูง

  • ปวดท้องมากจนต้องไปฉีดยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีประจำเดือน

  • มีอาการปวดท้องประจำเดือนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกเดือน

  • ปวดท้องประจำเดือนและมีบุตรยาก


คุณผู้หญิงทุกคนควรสังเกตอาการปวดท้องประจำเดือนของตัวเองกรณีพบว่าตนเองมีความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันทีหรือถ้าหากคุณผู้หญิงไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ยังคงระแวงหรือเป็นกังวลอยู่ก็สามารถเข้าตรวจร่างกายได้เช่นกัน


อ้างอิง: โรงพยาบาลสมิติเวช นพ. มฆวัน ธนะนันท์กูล สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง