Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ


ช้าพลู

สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ thai-herbs.thdata.co | สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ช้าพลู สารสกัดใบชะพลูมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยมีผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน และฟื้นฟูเซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ของตับอ่อน

วิธีการใช้:

-น้ำต้มช้าพลู ใช้ทั้งต้นรวมรากด้วย นำมา 1 กำมือ ให้พับเถาช้าพลูเป็น 3 ทบ ให้ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปลาะ นำไปใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ขัน ต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ขัน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา

-ชาชงช้าพลู นำช้าพลูทั้งต้น ตากแดดให้แห้ง ใช้เจียวช้าพลูแห้ง หรือบดเป็นผง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย ก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา 

การศึกษาวิจัย: 

*การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระดับห้องทดลอง โดยต้มน้ำช้าพลูทั้งห้า แล้วป้อนให้กระต่าย 2 กลุ่ม กลุ่มกระต่ายปกติ และกลุ่มที่เป็นเบาหวาน โดยทำการเปรียบเทียบกับยาฝรั่งชื่อ ทอลบูตาไมด์ (Tolbutamide) และน้ำกลั่น พบว่าน้ำช้าพลูช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้ แต่ไม่ลดน้ำตาลของกระต่ายปกติ และให้กระต่ายกินยาทั้ง 2 ชนิดต่อไปอีก 4 สัปดาห์ พบว่าน้ำช้าพลูยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ ขณะที่ยา ทอลบูตาไมด์ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าน้ำช้าพลู


เตยหอม 

สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ thai-herbs.thdata.co | สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

เตยหอม มีสารที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ Linalool, Linalylacetate และcoumarin มีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

วิธีการใช้: 

-น้ำต้มรากเตย ใช้รากเตยหอม 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่น้ำประมาณ 1 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวต่อไป 15-20 นาที ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา เวลาต้มจะปรุงแต่งใส่ใบเตยหอมให้มีสีสันและเพิ่มกลิ่นหอมให้ชวนดื่มก็ได้

-น้ำต้มใบเตย ใช้ใบเตยหอมกับใบสักทองอย่างละเท่า กันมาคั่วให้เหลือง นำรากเตยหอมมาทุบให้แตก เสร็จแล้วใส่ลงในหม้อต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำเป็นประจำประมาณ 1 เดือน 

-ชาชงเตยหอม นำเตยหอมทั้งต้น ตากแดดให้แห้ง ใช้เตยหอมแห้งแห้ง หรือบดเป็นผง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย ก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา หรือจะชงจำนวนมากพอแล้วใส่ในกระติกน้ำร้อน แบ่งรับประทานได้ตลอดวันก็ได้

การศึกษาวิจัย: 

*การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระดับห้องทดลอง พบว่าเตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และขับปัสสาวะ แม้ว่ายังไม่ได้วิจัยถึงขั้นทดลองในคน แต่เตยหอมเป็นตำรับยาที่มีความปลอดภัย และคนทั่วไปหามาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ราคาถูก ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือไม่เป็นก็สามารถทำเครื่องดื่มรสอร่อยดื่มกินได้


ตำลึง

สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ thai-herbs.thdata.co | สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ตำลึง มีสาร Pectin มีฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพิ่มระดับอินซูลิน ทำให้มีการสังเคราะห์ไกลโคเจนเพิ่มขึ้น และลดการเปลี่ยนไกลโคเจนมาเป็นกลูโคสเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

วิธีการใช้:

-แคปซูลตำลึง สามารถรับประทานตำลึงผง ขนาด 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง

-น้ำต้มใบ-เถาตำลึง ใช้ใบตำลึง 30 กรัม ต้มกับน้ำ 100 มิลลิตร ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา

-ชาชงตำลึง นำใบ-เถาตำลึง ตากแดดให้แห้ง ใช้ใบตำลึงแห้ง หรือบดเป็นผง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือจะชงจำนวนมากพอแล้วใส่ในกระติกน้ำร้อน แบ่งรับประทานได้ตลอดวันก็ได้

-น้ำปั่น-คั้นใบตำลึง นำใบตำลึงหรือหรือผลดิบสด 30 กรัม ผสมน้ำเล็กน้อย  ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ทานติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ก็เริ่มเห็นผล

การศึกษาวิจัย: 

*การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.) ซึ่งได้รับสารสกัด 50% อัลกอฮอล์จากใบและผล ขนาด 1 ก./วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง และหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 16 และ 18 ตามลำดับ 

*การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.) เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยาเม็ดผงแห้งจากใบตำลึง ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล โดยให้กลูโคส 50 ก. วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังทำการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยมีความทนต่อกลูโคสดีขึ้น และไม่พบความผิดปกติของน้ำหนักตัว 

*การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.)ให้รับประทานสารสกัดจากตำลึง ขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีผลลดระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายกลูโคส ได้แก่ กลูโคส-6-ฟอสฟาเตส และแลกเตตดีไฮโดรจิเนส และเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายไขมัน คือ ลิโปโปรตีนไลเปส แสดงว่าสารสกัดจากตำลึงทำหน้าที่คล้ายกับอินซูลินในยับยั้งการสร้างน้ำตาลและกระตุ้นการสลายไขมัน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยได้


บอระเพ็ด 

สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ thai-herbs.thdata.co | สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

บอระเพ็ด มีสาร borapetosides A ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอินซูลิน โดยผ่านกลไกกระตุ้นการใช้กลูโคสของกล้ามเนื้อ ลดการสะสมน้ำตาลในเซลล์ และกระตุ้นการสร้างอินซูลิน

วิธีการใช้:

-แคปซูลบอระเพ็ด สามารถรับประทานบอระเพ็ดบดผง ขนาด 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง

-น้ำต้มบอระเพ็ด ใช้เถาบอระเพ็ดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป  30 กรัม ต้มกับน้ำ 100 มิลลิตร ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน 

-ชาชง นำเถาบอระเพ็ด ตากแดดให้แห้ง ใช้เถาบอระเพ็ดแห้ง หรือบดเป็นผง 10 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือจะชงจำนวนมากพอแล้วใส่ในกระติกน้ำร้อน แบ่งรับประทานได้ตลอดวันก็ได้

-น้ำปั่น-คั้นเถาบอระเพ็ดสด ใช้เถาบอระเพ็ดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป 30 กรัม ผสมน้ำเล็กน้อย ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น 

การศึกษาวิจัย: 

*การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระดับห้องทดลอง โดยการฉีด borapetosides A ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในต้นบอระเพ็ด ให้แก่หนูเม้าส์ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 และหนูเม้าส์ปกติ วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน พบว่า borapetosides A จะช่วยเพิ่มระดับของไกลโคเจน และลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งหนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน โดยฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ borapetosides A เกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ไม่มีผลต่อระดับอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 นอกจากนี้ยังพบว่าสาร borapetosides A กระตุ้นการสังเคราะห์ไกลโคเจนในเซลล์เนื้อกล้ามเนื้อ รวมทั้งลดการแสดงออกของโปรตีน phosphoenolpyruvate carboxylase ที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นเบาหวานได้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร borapetosides A จากต้นบอระเพ็ดสามารถออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอินซูลิน โดยผ่านกลไกกระตุ้นการใช้กลูโคสของกล้ามเนื้อ ลดการสะสมน้ำตาลในเซลล์ และกระตุ้นการสร้างอินซูลิน

*การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานโดยให้ทานบอระเพ็ด วันละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลได้ แต่ขณะทำการทดลองผู้ป่วยหลายรายมีอาการตับอักเสบ และพบว่าการใช้บอระเพ็ดในขนาดสูงและติดต่อกันนานจะเป็นพิษต่อตับและไต มีรายงานการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่าเมื่อให้อาสาสมัครสุขภาพดี 12 ราย กินบอระเพ็ดขนาด 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 8 สัปดาห์ พบว่าแนวโน้มทำให้ระดับเอนไซม์ในตับเพิ่มขึ้น แสดงว่ามีแนวโน้มจะทำให้เกิดพิษต่อตับ


ผักเชียงดา

สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ thai-herbs.thdata.co | สมุนไพรกับโรคเบาหวาน-ต่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผักเชียงดา มีสาร Gymnemic acid ที่ได้จากการสกัดส่วนรากและใบของผักเชียงดา โดยสารชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงเข้าไปจับกับตัวรับที่ลำไส้แทนโมเลกุลของกลูโคส และช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

วิธีการใช้:

-แคปซูลผักเชียงดา สามารถรับประทานผักเชียงดาบดผง ขนาด 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง

-รับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด 

การศึกษาวิจัย: 

*การวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้อินซูลิน 27 ราย โดยให้กินสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น 400 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานลดลง และในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้อินซูลิน 22 ราย เมื่อให้สารสกัด 400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลง โดยมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ใน 22 ราย ที่สามารถหยุดให้ยาเบาหวานโดยใช้แต่สารสกัด Gymnema เพียงอย่างเดียว

*การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตาเซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง