Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



การดูแลและป้องกันสุขภาพของสตรี


การตรวจคัดกรองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะตรวจหาปัญหาของสุขภาพเพื่อวินิจฉัยและดูแลสุขภาพก่อนสายเกินแก้


คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าในอนาคตคุณจะมีสุขภาพดีหรือไม่? แทนที่จะต้องไปปรึกษาหมอดูหรือพยายามทำนายอนาคตด้วยตัวเอง จะดีกว่าไหม? ถ้าได้ไปตรวจเช็คสุขภาพที่โรงพยาบาล? การตรวจสุขภาพมีประโยชน์อย่างมากในการตรวจพบโรคร้าย ที่ใช้เวลานานในการแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการรุนแรงตั้งแต่ระยะแรกๆ อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งการตรวจเช็คสุขภาพนั้น คุณหมอจะตรวจหาโรคร้ายที่อยู่ในระยะแรกๆ ตัวในร่างกายของคุณและรักษาได้ทันที ก่อนที่คุณจะเริ่มมีอาการไม่สบายหรือแสดงอาการ สำหรับคุณผู้หญิงทุกคน การตรวจเช็คสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการรับประทานอาหารและการนอนหลับพักผ่อน


การดูแลและป้องกันสุขภาพของสตรี thai-herbs.thdata.co | การดูแลและป้องกันสุขภาพของสตรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

คุณหมอสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และเนื้องอกร้ายในบริเวณช่องท้องได้ตั้งแต่ขั้นแรกๆ ทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรก ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพสามารถช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่โรคร้ายที่ยังเป็นแค่ก้อนเล็กๆ อยู่


การตรวจคัดกรองติดตามอาการหรือวินิจฉัย สามารถทำได้โดยใช้วิธีอัลตร้าซาวน์ MRI รวมทั้งการตรวจชิ้นเนื้อ ทำให้การรักษาสามารถทำเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ ในทางตรงกันข้าม หากไม่ได้รับการตรวจเช็คสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งมักจะเริ่มแสดงอาการในระยะที่สามหรือสี่และตอนนั้นอาจจะสายเกินไปที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคร้ายแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย


1. โรคมะเร็งเต้านม

ความถี่ในการตรวจเช็คสุขภาพขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล กับประวัติครอบครัวและประวัติการรักษา ในกรณีของมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยที่มีประวัติความเสี่ยงสูงและรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ควรที่จะได้รับการตรวจแมมโมแกรมตั้งแต่อายุ 40 ปี ส่วนผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้สามารถตรวจแมมโมแกรมได้ตั้งแต่อายุ 50 ปี ผู้หญิงทุกคนสามารถตรวจ คลำเต้านมตนเองได้ขณะยืนอยู่หน้ากระจก จะสามารถสังเกตเห็น ถึงทรง ขนาด พื้นผิวและสีของเต้านม หากพบความผิดปกติบริเวณเต้านม ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ ทันที เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง


อาการผิดปกติที่พบบ่อย จากการคลำเต้านมตนเอง:

  • เต้านมมีก้อนนูน

  • เต้านมมีอาการ บวม แดง ร้อน

  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไป

  • มีการบุ๋มหรือบอดของหัวนม (หากเดิมไม่บุ๋ม)

  • ผิวของเต้านมมีลักษณะคล้ายเปลือกส้ม

  • มีผื่น สะเก็ด หรือคันบริเวณหัวนม

  • มีน้ำไหลออกจากหัวนม เช่น สีเลือด หรือสีขุ่นคล้ายหนอง

  • ผิวหนังบริเวณเต้านมหรือหัวนมบุ๋มลง


2. โรคมะเร็งปากมดลูก


การดูแลและป้องกันสุขภาพของสตรี thai-herbs.thdata.co | การดูแลและป้องกันสุขภาพของสตรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ผู้หญิงสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ซึ่งผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรที่จะได้รับการตรวจเป็นประจำทุกปี ตามคำแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 21 – 29 ปีก็ควรที่จะได้รับการตรวจทุกๆ 3 ปี ในผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีควรตรวจแปปสเมียร์ร่วมด้วยกับการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV แนะนำตรวจทุกๆ 5 ปี และตรวจอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 65 ปี ส่วนใหญ่แล้วมะเร็งปากมดลูกจะใช้เวลาในก่อตัวช้า 5 -10 ปี หลังจากการติดเชื้อไวรัส HPV ก่อนที่จะกลายเป็นเชื้อมะเร็งเต็มตัว ในกรณีที่คนไข้มีความเสี่ยงสูงอาจมีหลายๆ สิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตัวอย่างกรณีคนไข้ที่ผ่านมา โรคร้ายก่อตัวจากรอยโรคก่อนมะเร็งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกขั้นรุนแรงภายใน 3 ปี อย่างไรก็ดี ถ้าหากผู้ป่วยรายนี้ได้รับการตรวจเช็คสุขภาพและติดตามผลเป็นประจำทุกปี ก็จะสามารถรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว หากพบว่ามีตกขาวออกผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที


3. ความหนาแน่นของมวลกระดูก

การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เพราะผู้หญิง กลุ่มนี้ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องควรระวังเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากตรวจพบว่ากระดูกของคุณบางกว่าปกติ คุณหมออาจจะให้ฮอร์โมนหรือแคลเซียมเสริม ปกติผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ควรจะเข้ารับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกและติดตามอาการเป็นประจำทุกปี เพื่อทราบระยะก่อนการเกิดโรค โรคกระดูกพรุนมักจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียกระดูกมากเกินไป ผลิตกระดูกน้อยเกินไป หรือเพราะสาเหตุทั้งสองประการพร้อมกัน โรคกระดูกพรุนได้รับชื่อว่าเป็นโรคภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยจะไม่รู้สึกถึงความอ่อนแอลงของกระดูก สัญญาณแรกที่บ่งชี้ถึงโรคกระดูกพรุน คือ อาการกระดูกหัก โดยผู้ป่วยอาจเริ่มสังเกตตัวเองร่วมด้วย เช่น เตี้ยลง มีอาการเหน็บกิน ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บกระดูกหรือกระดูกสันหลังคด คุณควรจะปรึกษาคุณหมอโดยทันทีเพราะอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่า โรคอาจจะพัฒนาถึงขั้นรุนแรงแล้ว


การปรึกษาเรื่องสุขภาพกับคุณหมอไม่เพียงแต่รักษาปัญหาสุขภาพในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจเช็คปัญหาสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ในอนาคต เพราะฉะนั้น อย่ารีรอที่จะไปตรวจเช็คสุขภาพร่างกายกันเถอะค่ะ!


อ้างอิง: โรงพยาบาลสมิติเวช พญ. จันทรัศม์ สุรัตนกวีกุล อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง