Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



วิตามินอี (Vitamin E, Tocopherol)


วิตามินอี (Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อ ไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง มีหน่วยวัดเป็น IU โดย 1 IU = 1 mg. โดยวิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือโทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โดยทั้ง 2 กลุ่มจะแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ แอลฟา บีตา แกมมา เดลตา ซึ่งในบรรดาสารทั้ง 8 ตัว แอลฟาโทโคฟีรอลจัดได้ว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเพิ่มระดับเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ซึ่งมีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งรวมไปถึงมะเร็ง โรคหัวใจ โรคชรา อัลไซเมอร์


วิตามินอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของสารในกลุ่มไขมัน ทำงานเหมือนกับวิตามินเอ วิตามินซี ซีลีเนียม กรดอะมิโนซัลเฟอร์ นอกจากนี้วิตามินอียังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินเอได้ดียิ่งขึ้น และยังทำหน้าที่สำคัญคล้ายเป็นยาขยายหลอดลมและเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยวิตามินอีจะต่างกับวิตามินที่ละลายในไขมันตัวอื่นคือ ร่างกายจะเก็บสะสมไว้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คล้าย ๆ กับวิตามินบีและวิตามินซี


แหล่งอาหาร 


วิตามินอี-VitaminE-Tocopherol thai-herbs.thdata.co | วิตามินอี-VitaminE-Tocopherol สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


พบวิตามินอีตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัต พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ) กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง เป็นต้น


โทษของวิตามินอี

การขาดวิตามินอี

เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย กล้ามเนื้อฝ่อ และโรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และศัตรูของวิตามินอี ได้แก่ ความร้อน ออกซิเจน อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง กระบวนการแปรรูปอาหาร ธาตุเหล็ก คลอรีน และน้ำมันแร่ธรรมชาติ เป็นต้น


การได้รับวิตามินอีเกินขนาด 

-


ประโยชน์ของวิตามินอี 

  • ช่วยทำให้แลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์ 

  • ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี 

  • ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน 

  • ช่วยปกป้องปอดจากมลพิษทางอากาศ โดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ

  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด 

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ 

  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม 

  • ช่วยป้องกันและสลายลิ่มเลือด ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย 

  • ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก 

  • ป้องกันแผลเป็นหนานูน ทั้งภายนอกและภายใน เร่งให้แผลไหม้บริเวณผิวหนังหายเร็วยิ่งขึ้น ทำงานคล้ายยาขับปัสสาวะ 

  • ช่วยลดความดันโลหิต 

  • ช่วยในการป้องกันภาวะแท้ง 

  • บรรเทาอาการตะคริวหรือขาตึง 

  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต 

  • ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้


คำแนะนำในการรับประทานวิตามินอี

  • ขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 8-10 IU 

  • ปริมาณร้อยละ 60-70 ของขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันจะถูกขับออกทางอุจจาระ 

  • อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของซีลีเนียม 25 mcg. ต่อวิตามินอี 200 IU จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินอีได้เป็นอย่างดี 

  • ค่า IU ที่ระบุไว้ในฉลากอาหารเสริมของวิตามินอี เป็นค่าของ แอลฟาโทโคฟีรอล ส่วนโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลนั้น ถือได้ว่ามีค่าเป็น 0 IU

  • ปริมาณ IU บนฉลากอาหารเสริม ไม่ได้เป็นการระบุว่าวิตามินอีนั้นมีเพียงแอลฟาโทโคฟีรอลเพียงตัวเดียว หรือมีโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลรวมอยู่ด้วยหรือไม่ 

  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินอีวางจำหน่ายทั้งแบบชนิดเป็นน้ำมัน แคปซูล แบบเม็ดละลายน้ำได้ 

  • อาหารเสริมที่สกัดแอลฟาโทโคฟีรอลจากธรรมชาติ จะมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์ 

  • วิตามินอีให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีขนาดตั้งแต่ 100-1,500 IU ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานแบบน้ำมันหรือผู้ที่มีปัญหาผิวที่เกิดจากความมัน แนะนำให้รับประทานเป็นแบบเม็ดแห้งละลายน้ำ รวมไปถึงผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีด้วย 

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานทั่วไปคือ 200-1,200 IU ต่อวัน ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานมาก ๆ 

  • หากคุณรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง ร่างกายอาจต้องการวิตามินอีเพิ่มมากขึ้น 

  • วิตามินอีในปริมาณที่สูงจะเสริมการทำงานของยาต้านการแข็งตัวของเลือดและลดการดูดซึมของวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นหากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานวิตามินอี 2 สัปดาห์ก่อนและหลังการผ่าตัด 

  • ร่างกายของเราจะดูดซึมวิตามินอีจากอาหารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติได้มากกว่าเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์ โดยสามารถดูที่ฉลากจะพบว่าวิตามินอีจากธรรมชาติจะรุว่าเป็น d-alpha-tocopherol ส่วนแบบสังเคราะห์จะเขียนว่า dl-alpha-tocopherol 

  • การรับประทานโทโคไทรอีนอลนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องรับประทานร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือมีไขมันอยู่ด้วย 

  • การรับประทานแอลฟาโทโคฟีรอลในปริมาณมาก จะทำให้ระดับของแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดลดลง ซึ่งแกมมาโทโคฟีรอลนี้มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (อนุมูลอิสระที่มีไนโตรเจนจะสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ) 

  • หากคุณรับประทานแกมมาโทโคฟีรอล จะทำให้ระดับแอลฟาและแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วย 

  • แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง 

  • ธาตุเหล็กอนินทรีย์สามารถทำลายวิตามินอีได้ จึงไม่ควรรับประทานร่วมกัน หากจะรับประทานอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กหรือเฟอร์รัสซัลเฟต ควรจะรับประทานวิตามินอีก่อนหรือหลัง 8 ชั่วโมง 

  • เฟอร์รัสกลูโคเนต เฟอร์รัสเปปโทเนต เฟอร์รัสซิเทรต เฟอร์รัสฟูเมเรต (ธาตุเหล็กอินทรีย์) จะไม่ทำลายวิตามินอี 

  • หากดื่มน้ำที่มีคลอรีน ร่างกายจะต้องการวิตามินอีเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ 

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเสริม ร่างกายจะต้องการวิตามินเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ 

  • สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ควรรับประทานวิตามินอีให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยหากอายุน้อยกว่า 40 ปีควรรับประทานในขนาด 400 IU ต่อวัน แต่หากมีอายุมากกว่า 40 ปีควรรับประทาน 800 IU ต่อวัน ถ้าเป็นแบบเม็ดแห้งจะดีมาก


อ้างอิง:  เว็บไซต์เมดไทย (Medthai) เมดไทย 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง