Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



สัญญาณอันตราย “ปวดศีรษะ” แบบไหน เสี่ยง “เส้นเลือดสมองโป่งพอง”

ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน เสี่ยงเส้นเลือดสมองโป่งพอง ควรรีบพบแพทย์

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือน ปวดหัวอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ทันเวลาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


สาเหตุของเส้นเลือดสมองโป่งพอง


ปวดศีรษะ-เสี่ยง-เส้นเลือดสมองโป่งพอง thai-herbs.thdata.co | ปวดศีรษะ-เสี่ยง-เส้นเลือดสมองโป่งพอง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เส้นเลือดสมองโป่งพองเป็นภาวะของผนังหลอดเลือดอ่อนแรงลงจึงเกิดอาการโป่งพอง เกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ โดยส่วนมากที่พบมักจะเป็นหลอดเลือดแดง เมื่อเส้นเลือดโป่งพองถึงจุดหนึ่งก็จะมีการแตก ซึ่งทำให้เกิดภาวะที่สำคัญ คือ เลือดออกในช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นอะแร็คนอยด์ ซึ่งภาวะนี้เป็นอันตรายถึงพิการหรือนำไปสู่การเสียชีวิตได้


สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพอง เช่น 

  • ความผิดปกติแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม 

  • เส้นเลือดแข็งตัวและเสื่อม 

  • ภาวะการติดเชื้อ 

  • มีการอักเสบในร่างกาย 

  • เนื้องอกบางชนิด 

  • อุบัติเหตุ เป็นต้น


ประเภทของเส้นเลือดสมองโป่งพอง

นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า เส้นเลือดสมองโป่งพองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบยังไม่แตก ทำให้อาการที่ไปกดทับเส้นประสาทข้างเคียง หรือมีขนาดใหญ่มากกว่า 2.5 เซนติเมตร อาจทำให้เกิดอาการชักหรืออ่อนแรงได้

  2. เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบแตกแล้ว เมื่อมีการแตกเลือดที่ออกมาจะทำให้ความดันในกะโหลกสูงขึ้น ถ้าร่างกายหยุดเลือดไม่ได้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันที แต่ถ้าเลือดหยุดได้ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยเลือดออกในชั้นต่างๆของสมอง เช่น เลือดออกในช่องใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแร็คนอยด์ หรือเลือดออกในเนื้อสมอง เป็นต้น 


อาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง


ปวดศีรษะ-เสี่ยง-เส้นเลือดสมองโป่งพอง thai-herbs.thdata.co | ปวดศีรษะ-เสี่ยง-เส้นเลือดสมองโป่งพอง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


  • อาการเส้นเลือดสมองโป่งพองที่พบได้บ่อยที่สุดคือ 

  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มักเป็นทันทีทันใด 

  • คลื่นไส้อาเจียน 

  • หมดสติ หรือเสียชีวิต 

  • คอแข็ง หรือปวดร้าวบริเวณใบหน้า จากการถูกกดทับเส้นประสาท

  • มีอาการชัก จากการอุดตันของหลอดเลือด 


การวินิจฉัยอาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง

การวินิจฉัยโรคแพทย์ จะส่งตรวจ

  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

  • การตรวจหลอดเลือดในสมอง ซึ่งจะมี 3 ทางเลือก เพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือดได้แก่

  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสง (CTA) 

  • ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการฉีดสารทึบแสง (MRA) 

  • การฉีดสารทึบแสงเข้าทางเส้นเลือด

  • การเจาะหลังใช้เมื่อต้องการพิสูจน์ภาวะเลือดออกมาช่องใต้เยื่อหุ้มสมองอะแร็คนอยด์ กรณีที่มองไม่เห็นใน CT Scan แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วยโดยการผ่าตัด และรังสีร่วมรักษาโดยอุดหลอดเลือด ในบางกรณีต้องใช้การรักษาทั้ง 2 แบบร่วมกัน 


วิธีป้องกันอาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง

  • เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการโตหรือแตกของเส้นเลือดโป่งพอง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั้งร่างกาย 

  • โรคเส้นเลือดสมองโป่งพองเป็นภัยเงียบที่ไม่อาจทราบได้ล่วงหน้า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือถ้ามีอาการผิดปกติ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่สุด อย่ารอช้าควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที


อ้างอิง: กรมการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง