Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



สมุนไพรทางออกสำหรับโรควิตกกังวล

ความวิตกกังวล เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์เพราะช่วยให้เราตื่นตัวและพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่วๆไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

วันนี้เราจึงขอแนะนำอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถเป็นตัวช่วยหรือส่งเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดของคุณ นั่นก็คือ สมุนไพร ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ล้วนมีผลงานวิจัยออกมารองรับ และคุณสามารถศึกษาด้วยตัวของคุณเองได้เลย


ดอกคาโมมายล์

จากการทดลองทางคลินิกในปี พ.ศ. 2559 พบว่าดอกคาโมมายด์มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสำหรับการใช้เพื่อรักษาอาการวิตกกังวลทั่วไปในระยะยาว ซึ่งวิธีการใช้ดอกคาโมมายด์ในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ที่หลายคนมักเลือกใช้คือสารสกัด อาหารเสริมรูปแบบเม็ด ครีมบำรุงผิว หรือดื่มเป็นชา

จากงานวิจัยที่ให้ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 93 คน รับสารสกัดดอกคาโมมายด์ 1,500 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้แบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองเป็น 2 กลุ่มโดยให้รับดอกคาโมมายด์ต่อเนื่องอีก 26 สัปดาห์ อีกกลุ่มรับเป็นยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับดอกคาโมมายด์ต่อนั้นมีโอกาสในการเกิดอาการวิตกกังวลน้อยกว่าการเปลี่ยนไปใช้ยาหลอก ถึงแม้อาการวิตกกังวลกำเริบอาการของโรคก็จะรุนแรงน้อยลง แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่มีอาการแพ้ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่ ก็อาจจะมีปฏิกิริยาในการแพ้ดอกคาโมมายด์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะใช้ควรลองใช้ในปริมาณที่น้อยก่อน เพื่อดูอาการ หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้ทันที


ลาเวนเดอร์ (Lavender)

ลาเวนเดอร์เป็นดอกไม้ในตระกูลมิ้นต์ มีสรรพคุณช่วยระงับประสาทและบรรเทาความวิตกกังวล ซึ่งดอกลาเวนเดอร์สามารถใช้ได้หลายรูปแบบทั้ง ใช้ใบในการทำชา ใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ เพิ่มน้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์นั้นมีสารเคมีที่เรียกว่า เทอร์พีน (Terpene) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้สมองรู้สึกสงบ ลดความวิตกกังวลในระยะสั้นได้


พวงทองต้น (Galphimia glauca)

พวงทองต้นเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก คนส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อเป็นยากล่อมประสาท ลดความวิตกกังวล ผลจากการทดลองทางคลินิกในปีพ.ศ. 2555 ที่ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของพวงทองต้นในการรักษาโรควิตกกังวลทั่วไป โดยผู้ที่เข้ารับการทดลองจะได้รับพวงทองต้นเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ พบว่ามีอาการวิตกกังวลลดลง


ดอกกะทกรก (Passionflower)

ดอกกะทกรกเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมารักษาอาการนอนไม่หลับ อาการประหม่า และโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder; ADHD) นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกกะทกรกคู่กับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้ดอกกะทกรกในการประกอบอาหาร หากต้องต้องการใช้ดอกกะทกรกในทางยาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้งาน


ต้นคาวา คาวา (Kava kava)

ต้นคาวา คาวา เป็นพืชตระกูลพริกไทย ที่ออกฤทธิ์ทั้งในสมองและกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่แล้วใช้ผสมน้ำดื่มเพื่อลดความเครียดและช่วยให้อารมณ์คงที่ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ต้นคาวา คาวา เป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ ลดความความวิตกกังวลอีกด้วย


กระเพรา

กระเพราเป็นสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ นอกจากใช้ในการประกอบอาหารแล้ว กระเพราะยังใช้เพื่อบรรเทาความเครียดและช่วยให้ผ่อนคลายที่ดีอีกด้วย นอกจากนี้กระเพรายังเป็นพืชที่มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยส่งเสริมให้หัวใจมีสุขภาพที่ดีขึ้น จากการศึกษาในปี 2018 ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาลัยการแพทย์เนปาลพบว่า การใช้กระเพราปริมาณ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งรูปแบบในการใช้งานกระเพราะนั้นมีหลากหลายไม่ว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใช้ชงเป็นชา ใช้แบบผง หรือแคปซูล


สะระแหน่ (Lemon Balm)

สะระแหน่เป็นพืชตระกูลมิ้นต์ ที่ได้รับการศึกษาแล้วว่ามีฤทธิ์ช่วยลดความวิตกกังวล บางครั้งอาจจะใช้ร่วมกับสมุนไพรที่ช่วยลดความวิตกกังวลอื่น ๆ อย่างเช่น ดอกคาโมมายล์ ลาเวนเดอร์ จากการศึกษาในปี 2554 ในผู้ใหญ่ 20 คน ที่มีความวิตกกังวลและนอนไม่หลับ โดยให้กลุ่มคนเหล่านี้รับสารสกัดสะระแหน่ 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลานาน 15 วันพบว่าสะระแหน่มีส่วนช่วยในการลดความวิตกกังวลร้อยละ 18 และช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ร้อยละ 42 ซึ่งวิธีที่ใช้นั้นหลากหลายตั้งแต่ผสมน้ำดื่มเป็นชา ปรุงอาหาร หรือใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยก็สามารถทำได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง