Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



กัญชา

กัญชา เป็นพืชในวงศ์ Cannabidaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อยคือ Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis rudealis สำหรับสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศเทศไทยจะเป็นสายพันธุ์ Cannabis sativa ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น

ลักษณะการใช้กัญชาในอดีตมี 2 ลักษณะตามชื่อเรียกคือ การใช้ผงแห้งของใบและดอกมามวนเป็นบุหรี่สูบ ซึ่งชาวเม็กซิกันเรียกว่ามาริฮวานา (Marijuana) และการใช้ยางจากต้นมาเผาไฟและสูดดมตามภาษาอาหรับ ที่เรียกว่าแฮฌอีฌ (Hashish)


การเสพกัญชา: ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบ ๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียว ต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบ นอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ "น้ำมันกัญชา" (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ซี่งได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลาย ๆ ครั้ง จึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ "ยางกัญชา" (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้ยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประมาณ 4-8 เท่า


อาการของผู้เสพใช้กัญชาเป็นยาเสพติด: 

ในระยะแรกของการใช้กัญชาเป็นยาเสพติด ผู้เสพจะมีอาการร่าเริง พูดมากและหัวเราะมาก หัวใจเต้นเร็ว และตื่นเต้นง่าย และต่อมาผู้เสพจะมีลักษณะคล้ายมึนเมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะมีฤทธิ์กดประสาท อาการของผู้เสพ เช่น หายใจถี่ เห็นภาพลวงตาหรือภาพหลอน หู่แว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง และนอกจากนี้ ผู้เสพบางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ความจำเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง หรือบางรายอาจไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีอาการทางจิต


กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา:

-หลังจากราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2562 ระบุว่า กัญชงเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา มีปริมาณสาร THC ในใบและช่อดอกไม่เกิน 1% ต่อน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ยังกำหนดนิยามของเมล็ดพันธุ์กัญชงว่ามีปริมาณสาร THC ในใบและช่อดอกไม่เกิน 1% ต่อน้ำหนักแห้ง ประกาศนี้เป็นจุดประสงค์เพื่อแยกกัญชาและกัญชงออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับการอนุญาตใช้กัญชาต่อไปในอนาคต และมุ่งส่งเสริมการปลูกกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจเป็นหลัก ผู้ที่ต้องการปลูกกัญชง สามารถค้นรายละเอียดได้

-หลังจากราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  (ฉบับที่ 3) 2563 ที่ออกเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 

ข้อ 1 ให้ยกเลิก

(1)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2561

ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2561

(2)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข้อ 2 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม

(1)กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

(ก)เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก

(ข)ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย

(ค)สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก

(ง)กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล(tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก

(2)กัญชง (hemp) พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชง เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

(ก)เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก

(ข)ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย

(ค)สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol , THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก

(ง) เมล็ดกัญชง (hemp seed), น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง(hemp seed extract)

(จ)กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล(tetrahydrocannabinol , THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก

(3)พืชกระท่อม พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa(Korth.) Havil.และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกระท่อม เช่น แอลคาลอยด์

(4)พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferumL. และ Papaver bracteatum Lindl. หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้ฝิ่นหรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น

(5)เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis (Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้สาร psilocybin หรือ psilocin

การนำเข้าวัตถุหรือสารตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) และ (2) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ให้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ของกัญชาและกัญชง

ข้อ 3 กรณียาเสพติดให้โทษตามข้อ 2 ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องมือแพทย์ และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแพทย์นั้น ให้ยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

-กัญชายังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ในกรณีคนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตทำการปลูกหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กิโลกรัม จะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่มีไว้ครอบครองเกิน 10 กิโลกรัม ให้ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องโทษจำคุก 1-15 ปี ปรับ 100,000-1,000,000 บาท



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง