Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



สมุนไพรที่ผ่านงานวิจัยว่ามีผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย แต่ที่คนส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าก็มักจะนึกถึงเพียงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป จึงคิดว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดหวัง หรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย 

วันนี้เราจึงขอแนะนำอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถเป็นตัวช่วยหรือส่งเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาของคุณ นั่นก็คือ สมุนไพร ที่รสชาติอร่อย สามารนำมาทำเมนูได้หลากหลาย ทำให้คุณได้เพลินเพลินการการทำอาหารและรสชาติที่แสนอร่อย


กล้วยหอม

มีสารทริปโตแฟน (Tryptophan) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะทำให้ผ่อนคลาย มีความสุข อีกทั้งกล้วยหอมยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เป็นแหล่งรวมวิตามินบีที่สูงมาก ซึ่งวิตามินบีนี้จะช่วยในการทำงานของระบบประสาท และทำให้การทำงานของสมองสมดุลได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมอง ช่วยให้สมองทำงานได้เต็มที่อีกด้วย


ขมิ้นชัน 

การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยซึมเศร้าเปรียบเทียบการใช้ขมิ้นชัน 500 มก. หลังอาหารเช้าและเย็น และยาต้านซึมเศร้า (Fluoxetine20mg) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การตอบสนองผลการรักษา Fluoxetine 64.7% ขมิ้นชัน 62.5% และเมื่อใช้ร่วมกันทั้ง Fluoxetine และขมิ้นชัน ให้ผล 77.8% 


บัวบก 

ถูกใช้เป็นยามาแต่โบราณ ทั้งในศาสตร์อายุรเวท และการแพทย์แผนจีน บัวบกสามารถบรรเทาอาการโรควิตกกังวลได้ จากการศึกษาการใช้บัวบก 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวล อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 33 คน พบว่าเริ่มเห็นผลการรักษาที่ 1 เดือน และเห็นผลชัดเจนขึ้นที่ 2 เดือน

การรับประทานรูปแบบอื่นๆ: สามารถคั้นน้ำจากใบบัวบกสดที่ล้างสะอาด รับประทานแบบเข้มข้น วันละ 1-2 ช้อนชา ใบแห้ง ใช้ครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 150 ซีซี รอจนอุ่นหรือประมาณ 10-15 นาที แล้วจิบดื่ม ได้วันละ 2-3 เวลา แคปซูล รับประทานวันละ 2-3 แคปซูล บำรุงสมองคลายเครียดรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน

ข้อควรระวัง: บัวบกเป็นยาเย็น ไม่ควรกินทีละเยอะๆ ติดต่อกันทุกวัน ถ้ากินสดทุกวัน ควรกินประมาณ 3-6 ใบ คนที่อ่อนเพลียหรือร่างกายอ่อนแอมากไม่ควรกิน ถ้ามีอาการเวียนหัว ใจสั่น ให้หยุดทันที คนที่ม้ามเย็นพร่อง มีอาการท้องอืดแน่นเป็นประจําไม่ควรกิน หญิงที่ให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงเพราะมีการศึกษาพบว่าการรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานๆ อาจยับยั้งการตั้งครรภ์ได้” ภญ.อาสาฬา กล่าว


ฟักทอง 

ผลวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า พบว่าฟักทองช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ โดยทำการสังเกตพฤติกรรมถูกบังคับให้ว่ายน้ำในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะมีพฤติกรรมลอยตัวนิ่งเสมือนว่าอยากตาย แต่การให้ฟักทองอบและสารเบต้าแคโรทีน มีผลทำให้ระยะเวลาลอยตัวนิ่งลดลง และยังมีผลเพิ่มระดับเซโรโทนิน (serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine: NE) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งจะลดลงเนื่องจากภาวะซึมเศร้าให้กลับสู่ระดับปกติ นอกจากนี้ทั้งฟักทองและเบต้าแคโรทีน ยังช่วยลดสารก่อการอักเสบในสมองได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง