Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



"เจ็บคอ" แบบไหน ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ


การกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บคอทั้งที่ไม่จำเป็น เป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า คนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มักมีอาการเจ็บคอจากไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) ในการรักษา เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลต่อการรักษาแล้วยังอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาด้วย


"เจ็บคอ" แบบไหน ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ

เจ็บคอ-แบบไหน-ต้องกินยาปฏิชีวนะ thai-herbs.thdata.co | เจ็บคอ-แบบไหน-ต้องกินยาปฏิชีวนะ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


เจ็บคอจากการติดเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ

มีอาการดังนี้

  • คอแดง

  • ทอนซิลบวมแดง

พร้อมอาการร่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่

  • มีไข้ต่ำๆ

  • ไอ

  • น้ำมูกไหล

  • เสียงแหบ

  • อ่อนเพลีย

อาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส สามารถพบได้บ่อยกว่า จากการเจ็บคอเพราะเป็นไข้หวัดธรรมดา ควรพักผ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอ สามารถกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อบรรเทาอาการระคายคอ ถ้าไอหรือมีน้ำมูกมาก อาจกินยาแก้ไอหรือยาแก้แพ้ โดยทั่วไปมักหายเองได้ภายใน 7-14 วัน


เจ็บคอจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ

มีอาการดังนี้

  • คอแดง

  • มีจุดหนองที่ต่อมทอนซิล

  • ทอนซิลบวมแดง


พร้อมอาการร่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่

  • มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส

  • ไม่มีอาการไอ

  • ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรหน้า บวมโตขึ้นหรือกดเจ็บ

อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย พบได้ไม่บ่อยเท่าเจ็บคอจากเชื้อไวรัส ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อประเมินความจำเป็นของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ


ทั้งนี้ ยาต้านจุลชีพ ได้แก่ ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาต้านเชื้อรา ยาต้านปรสิต 


พวกเราทุกคนสามารถลดเชื้อดื้อยาได้ โดยหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดเชื้อดื้อยา

  • ซื้อยาต้านจุลชีพกินเอง เช่น ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ 

  • ซื้อยาต้านจุลชีพตามคนอื่น

  • รับประทานยาต้านจุลชีพไม่ครบขนาดหรือระยะเวลาการรักษา

  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของการรับประทานยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องและเหมาะสม

  • อมยาอมที่ผสมยาฆ่าเชื้อ

  • เอายาต้านจุลชีพชนิดรับประทานมาโรยแผล

  • ใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์

ดังนั้นหากสงสัยภาวะติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อประเมินความจำเป็นของการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ



อ้างอิง: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง