Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



วิตามินบี 9 (Vitamin B9, Folate)


กรดโฟลิก (โฟเลต, โฟลาซิน) หรือ วิตามินบี 9 หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม หรือ วิตามินบีซี (Bc) จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้างกรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้ในกระบวนการใช้น้ำตาลและกรดอะมิโน โดยกรดโฟลิกนั้นถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเกินไป


แหล่งอาหาร 


วิตามินบี9-VitaminB9-Folate thai-herbs.thdata.co | วิตามินบี9-VitaminB9-Folate สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


แหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์ เป็นต้น


โทษของวิตามินบี 9

การขาดวิตามินบี 9

อาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง] การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี


การได้รับวิตามินบี 9 เกินขนาด

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ไม่แสดงออกมา 


โดยศัตรูของกรดโฟลิก ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร (โดยเฉพาะการต้ม) แสงแดด ความร้อน ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโรคที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก ได้แก่ โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติกหรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ


ประโยชน์ของวิตามินบี 9

  • ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย 

  • ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้ 

  • ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง ทำงานออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด 

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ 

  • ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ 

  • ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด 

  • ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร 

  • ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับพาบาและ วิตามินบี 5 

  • ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ 

  • ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้


คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี 6

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง 

  • กรดโฟลิกในรูปแบบอาหารเสริมมีวางจำหน่ายตั้งแต่ปริมาณ 400 – 800 ไมโครกรัม ส่วน 1,000 มิลลิกรัม ต้องซื้อโดยใช้ใบสั่งของแพทย์เท่านั้น 

  • โดยทั่วไปกรดโฟลิกจะมีผสมอยู่ในรูปแบบของวิตามินบีรวม ประมาณ 100 ไมโครกรัมไปจนถึง 400 ไมโครกรัม 

  • คุณควรเลือกซื้ออาหารเสริมที่มีทั้งโฟเลตและวิตามินบี 12 อยู่ด้วยกัน โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 400 – 5,000 ไมโครกรัมต่อวัน 

  • ผู้หญิงควรรับประทานกรดโฟลิกและวิตามินบี 6 ให้เพียงพอ กรดโฟลิกเพียง 400 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 เพียง 2-10 มิลลิกรัม ก็สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึงร้อยละ 42 

  • ผู้ที่รับประทานกรดโฟลิก 1,000 – 5,000 ไมโครกรัมทุก ๆ วัน จะช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้ 

  • สำหรับผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรได้รับกรดโฟลิกเสริม 

  • สำหรับผู้ที่รับประทานวิตามินซีมากกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควรรับประทานกรดโฟลิกเสริมด้วย 

  • สำหรับผู้ที่รับประทานยากันชักไดแลนติน ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซัลโฟนาไมด์ แอสไพริน ฟีโนบาร์บิทอล ควรได้รับกรดโฟลิกเสริม 

  • สำหรับผู้ที่ป่วยหรือร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคใด ๆ อยู่ อาหารเสริมที่รับประทานควรจะมีกรดโฟลิกอยู่ด้วย เพราะจะช่วยเสริมแอนติบอดีในร่างกาย 

  • การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมากอาจมีผลกระทบต่อยาต้านมะเร็งบางชนิด 

  • การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมากอาจทำให้คนไข้โรคลมชักที่รับประทานยาฟีโนโทอินอยู่เกิดอาการชักได้


อ้างอิง:  เว็บไซต์เมดไทย (Medthai) เมดไทย 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง