Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



การชะลอการเกิดอัลไซเมอร์


อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เริ่มด้วยขี้ลืม  หากละเลยอาการเริ่มต้น คิดว่าเป็นเพียงความขี้ลืมปกติ  อาการอาจแย่ลงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้


ผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคอัลไซเมอร์จะมีความเสี่ยงสูง แต่หากดูแลสุขภาพอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ชีวิตแบบไม่ใส่ใจสุขภาพ


ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ สามารถช่วยเหลือตัวเองด้วยการใช้ยา ซึ่งผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงควบคุมอาการของโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย


จากการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ ประจำปี 2562  ที่ลอสแองเจลิส ระบุว่าการดำเนินชีวิตอย่างรักสุขภาพ  จะส่งผลดีต่อสมอง ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ได้ โดยการปฏิบัติดังนี้


  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง

  • ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • มีกิจกรรมการกระตุ้นความคิด


งานวิจัยเกี่ยวกับการชะลอการเกิดอัลไซเมอร์

โดยมีสองงานวิจัยในการประชุมชี้ว่า  ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างใส่ใจสุขภาพหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ได้


รายงานหนึ่งระบุว่า ผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคอัลไซเมอร์  จะมีความเสี่ยงสูง แต่หากดูแลสุขภาพอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ชีวิตแบบไม่ใส่ใจสุขภาพ


สำหรับอีกรายงานได้ยืนยันว่า การพักอาศัยในบริเวณที่มีมลภาวะสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์สูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงสูงวัยที่ใช้สมองอยู่เสมอ มีศักยภาพการทำงานสูง (วัดจากคะแนนการทำงานของสมอง ระยะเวลาที่เรียนหนังสือ หน้าที่การงาน และกิจกรรมทางกายภาพ) มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเพียง 21%  ต่างจากผู้ที่ไม่ค่อยได้บริหารสมอง จะมีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นถึง 113%


อ้างอิง: โรงพยาบาลสมิติเวช



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง