Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



วิธีรักษา "ส้นเท้าด้าน-ส้นเท้าแตก" ด้วยตนเอง

ส้นเท้าหนา ด้าน แตก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้วิธีแก้ปัญหานี้ได้ด้วยตัวเอง


สาเหตุของส้นเท้าหนา ส้นเท้าแตก

พญ. สุราศี อิ่มใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก ระบุว่า ส้นเท้าหนา ส้นเท้าแตก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • อากาศที่แห้งหรือหนาวเย็น 

  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อย 

  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นที่ร้อนจนเกินไป 

  • แช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลานานหรือบ่อยเกินไป 

  • ใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง 

  • ไม่ทาครีมบำรุงที่ทำให้เท้ามีความชุ่มชื้น 

  • การขัดเท้า 

  • การใส่รองเท้าที่ไม่ถนอมเท้าหรือเปิดผิวเท้ามากเกินไป 

  • มีภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก 

  • ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น


อันตรายจากส้นเท้าหนา ส้นเท้าแตก

หากมีอาการบวมแดงและเจ็บปวดบริเวณส้นเท้าแตกเป็นอย่างมาก อาจเสี่ยงเป็นแผล และหากดูแลแผลไม่ดี อาจเสี่ยงมีหนอง หากอาการไม่บรรเทาแม้พยายามรักษาด้วยวิธีต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ควรไปพบแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางที่รักษาเท้า เพื่อตรวจหาการติดเชื้อและรีบรักษาได้อย่างทันท่วงที


สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้มีภาวะอ้วน หากปล่อยไว้จนเป็นแผลลึกและไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้ ควรรีบพบแพทย์เช่นกัน


วิธีรักษาด้วยตนเอง

ส้นเท้าด้าน-ส้นเท้าแตก-แก้ด้วยตนเอง thai-herbs.thdata.co | ส้นเท้าด้าน-ส้นเท้าแตก-แก้ด้วยตนเอง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

  1. ใช้ครีมบำรุง ยา หรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว สำหรับส้นเท้าแตก

  2. เลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมที่ช่วยให้ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่น

  3. ไดเมทิโคน (Dimethicone) จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้งและเพิ่มความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำให้แก่ผิว ลดการเกิดหนังที่หนาและด้านจากภาวะผิวแห้งที่จะทำให้เกิดผิวส้นเท้าแตกตามมา

  4. ครีมที่มีส่วนผสมของ น้ำมัน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และป้องกันผิวแห้งแตก โดยสามารถใช้ทาได้วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อทาหลังอาบน้ำ

  5. ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) เป็นเจลเหลวที่ใช้ทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ฟื้นฟูผิวบริเวณที่เป็นส้นเท้าแตก ทาก่อนนอนแล้วสวมถุงเท้าทับ ให้ผิวบริเวณส้นเท้าที่แตกได้ดูดซับความชุ่มชื้นจากเจลไปตลอดคืนในระหว่างที่นอน

  6. ดื่มน้ำให้มากเพียงพอใจแต่ละวัน ผู้ชายดื่มน้ำวันละ 3-3.5 ลิตร ผู้หญิงดื่มน้ำวันละ 2-2.5 ลิตร การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นกับผิวโดยรวม รวมถึงส้นเท้าได้

  7. เลือกใช้สบู่ที่ช่วยถนอมผิว มีสารที่ให้การบำรุงผิว (เช่น มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ วิตามินอี ฯลฯ) ไม่ก่ออาการแพ้ ไม่ระคายเคืองผิว และไม่ทำให้ผิวแห้ง ไม่ใช้สบู่ที่มีสารเคมีเข้มข้นหรือที่มีส่วนผสมทำให้ผิวแห้ง

  8. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด หรือร้อนจัด ไม่แช่เท้าในน้ำเป็นเวลานาน และไม่อาบน้ำนานจนเกินไป

  9. เลือกสวมรองเท้าที่มีพื้นรองเท้านุ่ม หากใครมีน้ำหนักตัวมาก อาจลองเลือกเป็นพื้นยางหรือพื้นที่มีวัสดุช่วยผ่อนน้ำหนักและแรงกดที่เท้า หลีกเลี่ยงรองเท้าแตะหรือรองเท้าพื้นแข็ง

  10. ไม่สวมรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป

  11. สำรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ อย่าปล่อยให้แห้ง แตก ด้าน จนเป็นแผล หากเป็นแผลควรรีบรักษา

  12. เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ส้นเท้าด้าน-ส้นเท้าแตก-แก้ด้วยตนเอง thai-herbs.thdata.co | ส้นเท้าด้าน-ส้นเท้าแตก-แก้ด้วยตนเอง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


อ้างอิง: โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง