Select your language TH EN
อื่นๆ ความรู้ทั่วไป  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



“คีโตเจนิค” กับข้อจำกัดที่ควรระวัง


“คีโตเจนิค” เป็นเทรนด์ลดน้ำหนักจากการจำกัดอาหารที่กินที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ในเมืองไทยก็มีคนที่ศึกษาวิธีการกินคีโตเจนิคอย่างจริงจนกลายเป็นกลุ่มกินคีโตที่นับวันจะยิ่งเพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะเป็นวิธีกินเพื่อลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การกินคีโตเจนิคก็มีข้อจำกัดที่ควรระวังอยู่บ้างเช่นกัน


รศ.พญ. ธนินี สหกิจรุ่งเรือง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายถึงข้อจำกัดที่ควรระวังของอาหารคีโตเอาไว้ ดังนี้


ข้อจำกัดที่ควรระวังของอาหารคีโตเจนิค


คีโตเจนิค-กับข้อจำกัดที่ควรระวัง thai-herbs.thdata.co | คีโตเจนิค-กับข้อจำกัดที่ควรระวัง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


  • ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรกที่เริ่มต้นกินคีโตเจนิค อาจพบผลข้างเคียงจากการขาดกลูโคสที่ใช้เป็นพลังงานตามปกติ เช่น

    • ร่างกายอาจอ่อนล้า อ่อนเพลีย หมดแรงง่าย

    • อาจรู้สึกวิงเวียน ปวดศีรษะ หน้ามืด

    • ความดันโลหิตลดลง

  • มวลกล้ามเนื้ออาจลดลง ซึ่งเป็นผลจากปริมาณอินซูลินที่ลดลง

  • บางรายอาจพบมวลกระดูกลดลงจากการได้รับแคลเซียม และวิตามินดีลดลง ด้วยข้อจำกัดของอาหารที่กิน

  • บางรายอาจพบอาการท้องผูกจากการได้รับกากใยอาหารจากผัก และผลไม้ไม่เพียงพอ

  • อาจพบอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือที่เรียกว่า “หวัดคีโต” ได้

  • มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง วิตามินซี และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตได้ จากความไม่สมดุลของสารอาหารในร่างกาย

  • ผู้มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ที่จำเป็นต้องได้รับไขมันอิ่มตัว และไม่อิ่มตัวชนิดต่าง ๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล


ข้อควรระมัดระวังเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่สนใจกินคีโตเจนิค


คีโตเจนิค-กับข้อจำกัดที่ควรระวัง thai-herbs.thdata.co | คีโตเจนิค-กับข้อจำกัดที่ควรระวัง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


อาหารคีโตอาจเป็นประโยชน์กับบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และเบาหวานชนิดที่ 2 แต่งานวิจัยเกี่ยวกับอาหารคีโตส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น ยังขาดการศึกษาติดตามในระยะยาวถึงผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ หรือทีมผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการ ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา และตรวจติดตามสุขภาพในระยะยาว เพื่อป้องกันอันตราย หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้


อ้างอิง: รศ.พญ. ธนินี สหกิจรุ่งเรือง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง